Wednesday, April 16, 2008

บทความที่๔๐๒.อภิวัฒน์สยาม ตอนที่๕

อภิวัฒน์สยาม ตอนที่ ๕

ท่านปรีดี พนมยงค์ ได้อธิบายเรื่องการลงพระปรมาภิไธยในธรรมนูญการปกครอง ฉบับดังกล่าวเอาไว้ดังนี้

“การปกครองแผ่นดินสยามตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช์นั้นไมมีบทกฎหมายกำหนดอำนาจการปกครองแผ่นดิน เพราะพระมหากษตริย์ทรงอยู่เหนือกฎหมายมีพระราชอำนาจเด็ดขาดในการปกครองแผ่นดินตามพระราชอัธยาศัย

เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ คณะราษฎรได้ยึดอำนาจรัฐเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย

วันที่ ๒๖ มิถุนายน คณะราฎรได้ส่งคณะผู้แทนเข้าเฝ้าขอพระราชทาน "ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินตามที่คณะราษฎรได้ร่างถวาย" พระมหากษัตริย์ทรงรับไว้พิจารณา
ต่อมาในวันที่ ๒๗ เดือนนั้น ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้ายังทรงมีพระราชอำนาจสมบูรณ์ทำการแทนปวงชนชาวสยามได้นั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯลงพระปรมาภิไธยพระราช

ทานธรรมนูญการปกครองแผ่นดินฉบับที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น โดยทรงเติมคำว่า "ชั่วคราว" ไว้ต่อท้ายคำว่า "ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน" ทั้งนี้มีพระราชกระแสรับสั่งแก่คณะราษฎรว่าให้ใช้ธรรมนูญนั้นไปชั่วคราวก่อน แล้วให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรตั้งอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวารขึ้นใช้ต่อไป

ข้อสังเกตุ

(๑) ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินชั่วคราวฉบับ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ตราขึ้นโดยถูกต้องทั้งทางนิตินัยและพฤตินัยตามหลักนิติศาสตร์ทุกประการ

(๒) ธรรมนูญฯ ฉบับ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ได้สถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ในระยะหัวต่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ปกครองสยามเป็นเวลาหลายพันปี กับระบอบประชาธิปไตยที่เพิ่งเริ่มขึ้น

กฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวนี้เป็นกฎหมายฉบับท้ายสุดแห่งการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่ต้องมี "ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ"

ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินฉบับแรกของสยามเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ มีสาระสำคัญที่ดังนี้

มาตรา ๑ อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย

มาตรา ๒ ให้มีบุคคลและคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎร คือ
๑ กษัตริย์
๒ สภาผู้แทนราษฎร
๓ คณะกรรมการราษฎร
๔ ศาล

มาตรา ๓ กษัตริย์เนประมุขสูงสุดของประเทศ พระราชบัญญัติ คำวินิจฉัยของศาลก็ดี การอื่นๆก็ดี จะต้องกระทำในนามกษัตริย์

มาตรา ๔ ผู้เป็นกษัตริย์ของประเทศ คือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การสืบมรดกให้เป็นไปตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.๒๔๖๗ และด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร

มาตรา ๗ การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้มิฉะนั้นเป็นโมฆะ

มาตรา ๘ สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจออกพระราชบัญญัติทั้งหลาย พระราชบัญญัตินั้นเมื่อกษัตริย์ได้ประกาศให้ใช้แล้ว ให้เป็นอันใช้บังคับได้

มาตรา ๙ สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจดูแลควบคุมกิจการของประเทศและมีอำนาจประชุมกันถอดถอนกรรมการราษฎร หรือพนักงานรัฐบาลผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้

มาตรา ๑๐ คณะราษฎร โดยคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจแทนจัดตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้นเป็นจำนวน ๗๐ นายเป็นสมาชิกสภา เมื่อราษฎรทั่วพระราชอาณาจักรได้สอบไล่วิชาประถมศึกษาได้เป็นจำนวนเกินกว่าครึ่ง และอย่างช้าไม่เกิน ๑๐ ปี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นผู้ที่ราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นเองทั้งสิ้น

มาตรา ๒๘ คณะกรรมการราษฎรมีอำนาจและหน้าทที่ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาผู้แทนราษฎร

มาตรา ๓๑ ให้เสนาบดีกระทรวงต่างๆเป็นผู้รับผิดชอบต่อคณะกรรมการราษฎรให้กิจการทั้งปวง

มาตรา ๓๒ คณะกรรมการราษฎรประกอบด้วยประธานกรรมการราษฎร ๑ นายและกรรมการราษฎร ๑๔ นาย รวมเป็น ๑๕ นาย

มาตรา ๓๓ ให้สภาผู้แทนราษฎรเลือกสมาชิกสภาฯ ผู้หนึ่งเป็นประธานกรรมการราษฎร และให้ผู้เป็นประธานนั้นเลือกสมาชิกสภาฯอีก ๑๔ นายเป็นกรรมการราษฎร โดยความเห็นชอบของสภาฯ

No comments: