ภายใต้อาณานิคมฝรั่งเศส
นอกเหนือจากยุทธศาสตร์ที่ฝรั่งเศสนำมาใช้ในการปกครองเมืองขึ้น ด้วยการแบ่งแยกแล้วปกครองแล้ว ยุทธศาสตร์อีกประการหนึ่งคือ การสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับสถาบันกษัตริย์ของลาว โดยออกุส ปาวี ได้เสนอให้คงไว้ซึ่งสถานภาพของกษัตริย์เหมือนเดิม ให้การสนับสนุนระบอบการปกครองดั้งเดิมแบบสมบูรณาญาสิทธิราช และยินยอมให้เจ้าชีวิตมีสิทธิอำนาจในบางเรื่อง เว้นในเรื่องสำคัญต้องอยู่ภายใต้การอนุมัติเห็นชอบจากผู้ปกครองอาณานิคมฝรั่งเศสเสียก่อน หรือผ่านการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษาคนสำคัญ ซึ่งก็คือออกุส ปาวี นั่นเอง
ที่สำคัญ ฝรั่งเศสมีอำนาจเต็มในการจัดการด้านการเงิน-การคลัง การจัดเก็บภาษีในอินโดจีนทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดเก็บภาษีฝิ่นจากบรรดาชาวเขาในภาคเหนือ ซึ่งทำรายได้มหาศาลในแต่ละปี อันเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่มาในการลุกฮือขึ้นต่อต้านของชาวม้งภายใต้การนำของเจ้าฟ้าปาใจ
ส่วนหนึ่งของเงินภาษีที่จัดเก็บจากชาวบ้านเหล่านี้ ฝรั่งเศสได้นำมาจัดแบ่งเป็นงบประมาณสำหรับให้การสนับสนุนช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันกษัตริย์ในรูปของเงินงบประมาณใช้จ่ายรายปี
ด้วยวิธีการดังกล่าวนี้ สถาบันกษัตริย์ของราชอาณาจักรลาวจึงดำรงอยู่ภายใต้อาณัติของฝรั่งเศสอย่างแนบแน่น โดยที่เจ้าชีวิตไม่รู้สึกแปลกแยกหรือเกิดปัญหาขัดแย้งแต่อย่างใด ทั้งที่ฝรั่งเศสไม่ยินยอมให้เจ้ามหาชีวิตมีอำนาจตัดสินใจอย่างอิสระดังเช่นแต่ก่อน ไม่ว่าจะในทางการเมืองหรือในทางการทหาร
อำนาจการตัดสินใจและการบริหารราชการ การแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนตำแหน่ง ลงโทษให้ออกไปรับเบี้ยบำเหน็จบำนาญ หรือขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายมหาดไทย การคลัง การค้า เกษตรกรรม ยุติธรรมและศาสนา ล้วนต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติเห็นชอบของผู้สำเร็จราชการอินโดจีนอีกชั้นหนึ่งก่อนทั้งสิ้น
ในทางปฏิบัติ แม้ว่าผู้สำเร็จราชการอินโดจีนจะมีอำนาจครอบคลุมทั่วทุกองคาพยพของดินแดนอินโดจีน แต่กลับมิได้ใช้อำนาจดังกล่าวโดยตรง หากแต่ใช้วิธีลอยตัวอยู่ข้างบน แล้วแต่งตั้งคนไปปกครองและพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ในรูปของผู้สำเร็จราชการหัวเมืองเวียดนาม ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาว ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองกัมพูชา
เมื่อมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์จะเห็นว่า การที่อาณานิคมฝรั่งเศสมีอำนาจบริหาร-จัดการอย่างเบ็ดเสร็จในราชอาณาจักรลาว เป็นผลจากการที่ “เจ้าชีวิตสักกะรินทร์” ได้ลงนามในข้อตกลงเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ยินยอมให้ราชอาณาจักรหลวงพระบางมีฐานะเป็น “ดินแดนในอารักขาพิเศษ” (Special Protectorate) ของฝรั่งเศส
สำหรับกลวิธีอันแยบยลของฝรั่งเศสที่ใช้ในการดำเนินความพยายามเพื่อมุ่งครอบงำอาณานิคมอินโดจีนไว้ใต้อาณัติของตนให้เนิ่นนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือ การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่เป็นเชื้อพระวงศ์ขึ้นมาสืบทอดอำนาจของผู้นำรุ่นเก่า
กลวิธีดังกล่าวนี้ ออกุส ปาวี เป็นผู้คิดค้นขึ้น เพื่อมุ่งให้ฝรั่งเศสสามารถครอบงำทางความคิด และหล่อหลอมความคิดคนลาว กัมพูชา และเวียดนาม ให้อยู่ในกรอบแห่งอำนาจการปกครองของตนอย่างยาวนาน โดยให้อภิสิทธิ์แก่ลูกหลานเชื้อพระวงศ์ และผู้ใกล้ชิดสนิทสนมกับเชื้อพระวงศ์ หรือบรรดาลูกหลานของผู้ทำงานรับใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เดินทางไปศึกษาที่โรงเรียนของฝรั่งเศสในเวียดนามอันได้แก่ โรงเรียน ชาชเสอลูล โลบา (College Chasseloup Laubat)ในไซ่ง่อนหรือเมือง โฮจิมินห์ในปัจจุบัน ที่เจ้าเพ็ดชะลาดเคยไปศึกษา หรือโรงเรียนอัลแบรต์ สาโร (Lycee Albert Sattaut) ในฮานอย ที่เจ้าสุพานุวงเคยศึกษา ก่อนจะเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส
ส่วนลูกหลานของประชาชนคนธรรมดา ไร้ซึ่งยศฐาบรรดาศักดิ์ใดๆ หากสนใจใฝ่ศึกษา พ่อแม่ก็สามารถพาไปฝากฝังให้บวชเรียนเป็นสามเณรในวัดวาอารามที่มีอยู่มากมายในเมืองหลวงพระบาง อันเป็นรูปแบบการศึกษาตามประเพณีดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ
กรณีตัวอย่างของนักเรียนเชื้อพระวงศ์ลาวที่สะท้อนถึงกลวิธีของปาวีและอาณานิคมฝรั่งเศสได้อย่างชัดเจนก็คือ “เจ้าเพ็ดชะลาด” ผู้ซึ่งหลังเรียนจบจากโรงเรียนอาณานิคมและวิทยาลัยมงเตย์ ก็ได้เดินทางกลับมาทำงานให้อาณานิคมอินโดจีนฝรั่งเศสช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยประจำอยู่ในสำนักงานผู้สำเร็จราชการฝรั่งเศสประจำลาว ก่อนจะหันมาเป็นผู้นำขบวนการลาวอิสระหรือขบวนการกู้อิสรภาพ
ส่วนเจ้าสุพานุวง หลังเรียนจบจากโรงเรียนประถมศึกษาหลวงพระบาง หรือโรงเรียนฝรั่งเศส-ลาว (Ecole Eranco-Laotaine) ก็ได้เดินทางพร้อมด้วยบรรดาลูกหลานเชื้อพระวงศ์อีกสิบกว่าคน ไปเรียนต่อชั้นอุดมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนอัลแบรต์ สาโร (Lycee Ablert Sarraut)ในกรุงฮานอย เจ้าสุพานุวงจบทั้งสายวิทยาศาสตร์และสายศิลปศาสตร์ด้วยคะแนนผลการเรียนดีเยี่ยม จากนั้นไปศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศสที่โรงเรียนแซงหลุยส์ (Saint Louis) และมหาวิทยาลัยสร้างทางแห่งชาติ (Ecole Nationale des Pont et Chausses) สาขาวิศวกรรมพลเรือน
ฝรั่งเศสมุ่งใช้กลวิธีระบบอุปถัมภ์ ด้วยการให้ผู้ตรวจราชการหัวเมืองฝรั่งเศสคัดเลือกบรรดาคนหนุ่มผู้เป็นลูกหลานเชื้อพระวงศ์ของลาวและลูกหลานเหล่าขุนนางเจ้าหน้าที่ ซึ่งทำงานรับใช้สถาบันกษัตริย์ในหลวงพระบาง เดินทางไปศึกษาต่อยังกัมพูชา เวียดนาม และฝรั่งเศส เพื่อนำความรู้กลับไปรับใช้ฝรั่งเศสปกครองอาณานิคมอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอน
กลวิธีดังกล่าวนี้ ออกุส ปาวี ได้เริ่มดำเนินการอย่างจริงจังในปี พ.ศ.๒๔๔๒ โดยปาวีได้คัดเลือกนักเรียนชุดแรกจากกัมพูชา ๑๐ คน ส่งไปศึกษาที่โรงเรียนอาณานิคม ช่วงต่อมาได้คัดเลือกนักเรียนจากเวียดนามและลาวอีกจำนวนหนึ่งส่งไปเข้าเรียนในโรงเรียนดังกล่าว พร้อมกันนี้ปาวีก็ได้เล็งผลเลิศว่า ในอนาคตหลังจากคนกลุ่มนี้สำเร็จการศึกษา ก็จะกลับมาทำงานในฝ่ายบริหารของสำนักงานผู้สำเร็จราชการอาณานิคมในอินโดจีน ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาว ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองเวียดนาม และผู้สำเร็จราชการหัวเมืองกัมพูชา เพื่อช่วยทำหน้าที่ปกครองดูแลเมืองขึ้นและรักษาผลประโยชน์ของฝรั่งเศสต่อไป
สำหรับโรงเรียนอาณานิคมนั้น กระทรวงอาณานิคมของรัฐบาลฝรั่งเศสได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อฝึกฝนอบรมบุคลากรที่เตรียมตัวสมัครเป็นข้าราชการฝ่ายปกครองหัวเมืองขึ้นหรือเมืองอาณานิคมฝรั่งเศสเป็นการเฉพาะ โดยแบ่งออกเป็น ๒ แผนกคือ แผนกสำหรับผู้ที่จะไปอยู่ในอาณานิคมอินโดจีนและแผนกสำหรับผู้ที่จะไปอยู่ในอาณานิคมแอฟริกา
ต่อมารัฐบาลฝรั่งเศสได้อนุมัติให้โรงเรียนอาณานิคมได้เปิดแผนกใหม่ขึ้นเป็นกรณีพิเศษตามคำขอของออกุส ปาวี คือ แผนกสำหรับชาวอินโดจีนเพื่อรองรับลูกหลานเชื้อพระวงศ์หรือชนชั้นสูงของประเทศในอินโดจีนเป็นการเฉพาะ อาทิ จากเวียดนาม เขมร ลาวและไทจากเมืองไล่ ในดินแดนสิบสองจุไท (หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไท เช่น ไทขาว ไทดำ ไทแดง)
การเปิดแผนกดังกล่าวนี้ นอกเหนือจากให้การศึกษาด้านวิชาหลักการปกครองดินแดนอาณานิคมแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อหล่อหลอมความคิดและสร้างทัศนคติให้ลูกหลานเชื้อพระวงศ์และชนชั้นสูงของประเทศในอินโดจีนมีความจงรักภักดีต่ออาณานิคมฝรั่งเศส
ที่สำคัญ ฝรั่งเศสมีอำนาจเต็มในการจัดการด้านการเงิน-การคลัง การจัดเก็บภาษีในอินโดจีนทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดเก็บภาษีฝิ่นจากบรรดาชาวเขาในภาคเหนือ ซึ่งทำรายได้มหาศาลในแต่ละปี อันเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่มาในการลุกฮือขึ้นต่อต้านของชาวม้งภายใต้การนำของเจ้าฟ้าปาใจ
ส่วนหนึ่งของเงินภาษีที่จัดเก็บจากชาวบ้านเหล่านี้ ฝรั่งเศสได้นำมาจัดแบ่งเป็นงบประมาณสำหรับให้การสนับสนุนช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันกษัตริย์ในรูปของเงินงบประมาณใช้จ่ายรายปี
ด้วยวิธีการดังกล่าวนี้ สถาบันกษัตริย์ของราชอาณาจักรลาวจึงดำรงอยู่ภายใต้อาณัติของฝรั่งเศสอย่างแนบแน่น โดยที่เจ้าชีวิตไม่รู้สึกแปลกแยกหรือเกิดปัญหาขัดแย้งแต่อย่างใด ทั้งที่ฝรั่งเศสไม่ยินยอมให้เจ้ามหาชีวิตมีอำนาจตัดสินใจอย่างอิสระดังเช่นแต่ก่อน ไม่ว่าจะในทางการเมืองหรือในทางการทหาร
อำนาจการตัดสินใจและการบริหารราชการ การแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนตำแหน่ง ลงโทษให้ออกไปรับเบี้ยบำเหน็จบำนาญ หรือขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายมหาดไทย การคลัง การค้า เกษตรกรรม ยุติธรรมและศาสนา ล้วนต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติเห็นชอบของผู้สำเร็จราชการอินโดจีนอีกชั้นหนึ่งก่อนทั้งสิ้น
ในทางปฏิบัติ แม้ว่าผู้สำเร็จราชการอินโดจีนจะมีอำนาจครอบคลุมทั่วทุกองคาพยพของดินแดนอินโดจีน แต่กลับมิได้ใช้อำนาจดังกล่าวโดยตรง หากแต่ใช้วิธีลอยตัวอยู่ข้างบน แล้วแต่งตั้งคนไปปกครองและพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ในรูปของผู้สำเร็จราชการหัวเมืองเวียดนาม ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาว ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองกัมพูชา
เมื่อมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์จะเห็นว่า การที่อาณานิคมฝรั่งเศสมีอำนาจบริหาร-จัดการอย่างเบ็ดเสร็จในราชอาณาจักรลาว เป็นผลจากการที่ “เจ้าชีวิตสักกะรินทร์” ได้ลงนามในข้อตกลงเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ยินยอมให้ราชอาณาจักรหลวงพระบางมีฐานะเป็น “ดินแดนในอารักขาพิเศษ” (Special Protectorate) ของฝรั่งเศส
สำหรับกลวิธีอันแยบยลของฝรั่งเศสที่ใช้ในการดำเนินความพยายามเพื่อมุ่งครอบงำอาณานิคมอินโดจีนไว้ใต้อาณัติของตนให้เนิ่นนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือ การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่เป็นเชื้อพระวงศ์ขึ้นมาสืบทอดอำนาจของผู้นำรุ่นเก่า
กลวิธีดังกล่าวนี้ ออกุส ปาวี เป็นผู้คิดค้นขึ้น เพื่อมุ่งให้ฝรั่งเศสสามารถครอบงำทางความคิด และหล่อหลอมความคิดคนลาว กัมพูชา และเวียดนาม ให้อยู่ในกรอบแห่งอำนาจการปกครองของตนอย่างยาวนาน โดยให้อภิสิทธิ์แก่ลูกหลานเชื้อพระวงศ์ และผู้ใกล้ชิดสนิทสนมกับเชื้อพระวงศ์ หรือบรรดาลูกหลานของผู้ทำงานรับใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เดินทางไปศึกษาที่โรงเรียนของฝรั่งเศสในเวียดนามอันได้แก่ โรงเรียน ชาชเสอลูล โลบา (College Chasseloup Laubat)ในไซ่ง่อนหรือเมือง โฮจิมินห์ในปัจจุบัน ที่เจ้าเพ็ดชะลาดเคยไปศึกษา หรือโรงเรียนอัลแบรต์ สาโร (Lycee Albert Sattaut) ในฮานอย ที่เจ้าสุพานุวงเคยศึกษา ก่อนจะเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส
ส่วนลูกหลานของประชาชนคนธรรมดา ไร้ซึ่งยศฐาบรรดาศักดิ์ใดๆ หากสนใจใฝ่ศึกษา พ่อแม่ก็สามารถพาไปฝากฝังให้บวชเรียนเป็นสามเณรในวัดวาอารามที่มีอยู่มากมายในเมืองหลวงพระบาง อันเป็นรูปแบบการศึกษาตามประเพณีดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ
กรณีตัวอย่างของนักเรียนเชื้อพระวงศ์ลาวที่สะท้อนถึงกลวิธีของปาวีและอาณานิคมฝรั่งเศสได้อย่างชัดเจนก็คือ “เจ้าเพ็ดชะลาด” ผู้ซึ่งหลังเรียนจบจากโรงเรียนอาณานิคมและวิทยาลัยมงเตย์ ก็ได้เดินทางกลับมาทำงานให้อาณานิคมอินโดจีนฝรั่งเศสช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยประจำอยู่ในสำนักงานผู้สำเร็จราชการฝรั่งเศสประจำลาว ก่อนจะหันมาเป็นผู้นำขบวนการลาวอิสระหรือขบวนการกู้อิสรภาพ
ส่วนเจ้าสุพานุวง หลังเรียนจบจากโรงเรียนประถมศึกษาหลวงพระบาง หรือโรงเรียนฝรั่งเศส-ลาว (Ecole Eranco-Laotaine) ก็ได้เดินทางพร้อมด้วยบรรดาลูกหลานเชื้อพระวงศ์อีกสิบกว่าคน ไปเรียนต่อชั้นอุดมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนอัลแบรต์ สาโร (Lycee Ablert Sarraut)ในกรุงฮานอย เจ้าสุพานุวงจบทั้งสายวิทยาศาสตร์และสายศิลปศาสตร์ด้วยคะแนนผลการเรียนดีเยี่ยม จากนั้นไปศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศสที่โรงเรียนแซงหลุยส์ (Saint Louis) และมหาวิทยาลัยสร้างทางแห่งชาติ (Ecole Nationale des Pont et Chausses) สาขาวิศวกรรมพลเรือน
ฝรั่งเศสมุ่งใช้กลวิธีระบบอุปถัมภ์ ด้วยการให้ผู้ตรวจราชการหัวเมืองฝรั่งเศสคัดเลือกบรรดาคนหนุ่มผู้เป็นลูกหลานเชื้อพระวงศ์ของลาวและลูกหลานเหล่าขุนนางเจ้าหน้าที่ ซึ่งทำงานรับใช้สถาบันกษัตริย์ในหลวงพระบาง เดินทางไปศึกษาต่อยังกัมพูชา เวียดนาม และฝรั่งเศส เพื่อนำความรู้กลับไปรับใช้ฝรั่งเศสปกครองอาณานิคมอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอน
กลวิธีดังกล่าวนี้ ออกุส ปาวี ได้เริ่มดำเนินการอย่างจริงจังในปี พ.ศ.๒๔๔๒ โดยปาวีได้คัดเลือกนักเรียนชุดแรกจากกัมพูชา ๑๐ คน ส่งไปศึกษาที่โรงเรียนอาณานิคม ช่วงต่อมาได้คัดเลือกนักเรียนจากเวียดนามและลาวอีกจำนวนหนึ่งส่งไปเข้าเรียนในโรงเรียนดังกล่าว พร้อมกันนี้ปาวีก็ได้เล็งผลเลิศว่า ในอนาคตหลังจากคนกลุ่มนี้สำเร็จการศึกษา ก็จะกลับมาทำงานในฝ่ายบริหารของสำนักงานผู้สำเร็จราชการอาณานิคมในอินโดจีน ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาว ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองเวียดนาม และผู้สำเร็จราชการหัวเมืองกัมพูชา เพื่อช่วยทำหน้าที่ปกครองดูแลเมืองขึ้นและรักษาผลประโยชน์ของฝรั่งเศสต่อไป
สำหรับโรงเรียนอาณานิคมนั้น กระทรวงอาณานิคมของรัฐบาลฝรั่งเศสได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อฝึกฝนอบรมบุคลากรที่เตรียมตัวสมัครเป็นข้าราชการฝ่ายปกครองหัวเมืองขึ้นหรือเมืองอาณานิคมฝรั่งเศสเป็นการเฉพาะ โดยแบ่งออกเป็น ๒ แผนกคือ แผนกสำหรับผู้ที่จะไปอยู่ในอาณานิคมอินโดจีนและแผนกสำหรับผู้ที่จะไปอยู่ในอาณานิคมแอฟริกา
ต่อมารัฐบาลฝรั่งเศสได้อนุมัติให้โรงเรียนอาณานิคมได้เปิดแผนกใหม่ขึ้นเป็นกรณีพิเศษตามคำขอของออกุส ปาวี คือ แผนกสำหรับชาวอินโดจีนเพื่อรองรับลูกหลานเชื้อพระวงศ์หรือชนชั้นสูงของประเทศในอินโดจีนเป็นการเฉพาะ อาทิ จากเวียดนาม เขมร ลาวและไทจากเมืองไล่ ในดินแดนสิบสองจุไท (หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไท เช่น ไทขาว ไทดำ ไทแดง)
การเปิดแผนกดังกล่าวนี้ นอกเหนือจากให้การศึกษาด้านวิชาหลักการปกครองดินแดนอาณานิคมแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อหล่อหลอมความคิดและสร้างทัศนคติให้ลูกหลานเชื้อพระวงศ์และชนชั้นสูงของประเทศในอินโดจีนมีความจงรักภักดีต่ออาณานิคมฝรั่งเศส
เมื่อพิจารณาถึงกลวิธีที่ฝรั่งเศสนำมาใช้ในการปกครองเมืองขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ออกุส ปาวีนำมาใช้ในการปกครองดินแดนอาณานิคมลาว นอกเหนือจากการใช้ระบบอุปถัมภ์และการสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจแล้ว กลวิธีสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการปิดกั้นโอกาสและปิดหูปิดตาคนลาวไม่ให้ได้รับการศึกษาเท่าที่ควร เว้นแต่ลูกท่านหลานเธอเชื้อพระวงศ์ดังที่ว่ามีความจงรักภักดีต่ออาณานิคมฝรั่งเศสเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาชั้นสูงในต่างประเทศ
No comments:
Post a Comment