ท่านปรีดี พนมยงค์กับขบวนการกู้เอกราชในลาว ตอน ขบวนการชาตินิยม
การลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นยุทธโยบายที่ถูกต้องและแหลมคมของโฮจิมินห์ เพราะได้ใช้โอกาสว่างเว้นจากการสู้รบมาปรับปรุงและเสริมความแข็งแกร่งให้แก่กองกำลังปฏิวัติเพื่อเตรียมปฏิบัติการโจมตีทหารฝรั่งเศสทั่วทั้งอินโดจีน
เหตุผลที่โฮจิมินห์ต้องจำยอมลงนามในข้อตกลงกับข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสเนื่องจากช่วงนั้นฝรั่งเศสไม่ยอมให้เอกราชแก่ลาว ยังคงใช้กำลังทหารเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำรงไว้ซึ่งอำนาจของประเทศเจ้าอาณานิคม โฮจิมินห์หวังว่า เมื่อเวียดนามเข้มแข็งดีแล้วจึงค่อยกลับเข้าไปสนับสนุนช่วยเหลือลาวในการกู้เอกราชจากฝรั่งเศสอีกครั้ง
สาระสำคัญของข้อตกลงระหว่างโฮจิมินห์กับข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสมีดังนี้
๑.รัฐบาลฝรั่งเศสรับรองว่า รัฐบาลเวียดนามเป็นรัฐบาลอิสระ มีรัฐบาลมีงบประมาณแผ่นดิน มีกองทัพ และมีรัฐสภาเป็นของตนเอง รัฐบาลนี้อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลเวียดนามและสมาคมฝรั่งเศส ส่วนการรวมเวียดนามทั้งสามภาคเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้นให้เป็นไปตามประชามติ
๒.รัฐบาลเวียดนามจะยอมรับรองรัฐบาลฝรั่งเศสในฐานะเป็นมิตรประเทศเมื่อจีนได้ถอนตัวออกไปแล้ว พร้อมกันนี้มีสัญญาอีกฉบับหนึ่งกำหนดหน้าที่ในการปฏิบัติของทั้งสองฝ่าย และ
๓. ข้อตกลงดังกล่าวให้มีผลบังคับใช้ในทันที เมื่อมีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันกันแล้วจะได้ออกคำสั่งทั่วไป ในช่วงนี้ให้กำลังทหารของทั้งสองฝ่ายอยู่ในที่ตั้ง ในการเจรจาครั้งต่อไปจะตกลงกันในเรื่องการทูตของเวียดนามกับนานาประเทศ ระบอบการปกครองและระบอบเศรษฐกิจ
หลังลงนามในข้อตกลงระหว่างโฮจิมินห์กับข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รัฐบาลเวียดนามได้แจ้งให้รัฐบาลลาว สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวเวียดนามจำนวนหลายพันคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเวียงจันทน์ และนำไปสู่การชุมนุมเดินขบวนคัดค้านการกระทำของรัฐบาลเวียดนามในวันที่ ๑๑มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ต่อมาคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลอิสระได้เรียกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าประชุมเป็นการด่วนในวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๘ เพื่อหารือกันกำหนดแนวทางการต่อสู้ต่อไป
ในการเดินขบวนของชาวเวียดนามในครั้งนั้น เจ้าสุวันนะพูมา รองนายกรัฐมนตรีได้ขึ้นกล่าวคำปราศรัย ประกาศเจตนารมณ์ของชาวลาวที่จะสนับสนุนรัฐบาลลาวอิสระต่อสู้กับฝรั่งเศสต่อไปจนถึงที่สุด จากนั้นนายจัน หัวหน้าชาวเวียดนามได้ประกาศมอบกองทหารเวียดนามทั้งหมดให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้บัญชาการทหารลาว เพื่อร่วมกันต่อสู้กับฝรั่งเศสต่อไป
พร้อมกันนี้ “คณะลาวอิสระ” ก็ได้ส่งคนออกชักชวนบุคคลสำคัญของประเทศที่อยู่ในกรุงเวียงจันทน์ ให้มาร่วมมือกันดำเนินการกอบกู้เอกราช และได้ตั้งสำนักงานลาวพันธมิตรขึ้นสำหรับเป็นศูนย์กลางทางด้านการเมือง และเป็นสำนักงานติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตร
ในวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกที่เมืองฮิโรชิมา ถัดจากนั้นอีกสองวันถัดมา ก็ได้ทิ้ระเบิดปรมาณูลูกที่สองที่เมืองนางาซากิ เป็นเหตุให้เมืองทั้งสองแห่งพินาศย่อยยับและมีผู้เสียชีวิตไปหลายแสนคน
ช่วงนั้นโฮจิมินห์ผู้นำคนสำคัญขององค์กรพันธมิตรเพื่อเอกราชของชาวเวียดนามหรือเรียกกันว่า “เวียดมินห์” ได้นำกองทหารเวียดมินห์ประมาณ ๕,๐๐๐ คนเข้าโจมตีกรุงฮานอยในวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๔๘๘ โดยที่ทหารญี่ปุ่นจำนวนกว่า ๓๐,๐๐๐ มิได้ทำการต่อต้านแต่อย่างใดส่วนทหารและพลเรือนฝรั่งเศส ที่ญี่ปุ่นควบคุมตัวไว้ ไดหลบหนีขึ้นไปอยู่ในประเทศจีน
ในวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๘๘ บราไซ ข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสได้สวมเครื่องแบบมาพบเจ้าเพ็ดชะลาด ซึ่งเวลานั้นมีตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลลาวหลวงพระบาง แจ้งความประสงค์ที่จะคงอำนาจในการปกครองลาวต่อไป ตามสัญญาปารีส พ.ศ.๒๔๔๑ เจ้าเพ็ดชะลาดไม่ยินยอม โดยให้เหตุผลว่า ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่นไม่สามารถป้องกันลาวไว้ได้ และลาวเป็นเอกราช ขณะนี้เจ้าชีวิตได้ประกาศเอกราชแล้ว อำนาจของฝรั่งเศสหมดไปแล้ว ฝรั่งเศศหมดข้อผูกพันใดๆ กับลาว หากจะกลับเข้ามามีอำนาจปกครอง ต้องมาทำสัญญากันใหม่
ทางด้านเวียดนาม ในวันที่ ๒ กันยายน ๒๔๘๘ มีการรวมตัวของประชาชนกว่า ๑ แสนคนที่กรุงฮานอย โฮจิมินห์ได้ประกาศว่า เวียดนามเป็นเอกราชพ้นจากการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และได้ประกาศก่อตั้งรัฐบาลเอกราชเวียดนาม มุ่งเน้นการสรรค์สร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่น สร้างความเป็นเอกภาพภายในประเทศเป็นสำคัญ
การประกาศเอกราชดังกล่าวถือเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของประชาชนเวียดนามทั้งมวล
เหตุผลที่โฮจิมินห์ต้องจำยอมลงนามในข้อตกลงกับข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสเนื่องจากช่วงนั้นฝรั่งเศสไม่ยอมให้เอกราชแก่ลาว ยังคงใช้กำลังทหารเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำรงไว้ซึ่งอำนาจของประเทศเจ้าอาณานิคม โฮจิมินห์หวังว่า เมื่อเวียดนามเข้มแข็งดีแล้วจึงค่อยกลับเข้าไปสนับสนุนช่วยเหลือลาวในการกู้เอกราชจากฝรั่งเศสอีกครั้ง
สาระสำคัญของข้อตกลงระหว่างโฮจิมินห์กับข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสมีดังนี้
๑.รัฐบาลฝรั่งเศสรับรองว่า รัฐบาลเวียดนามเป็นรัฐบาลอิสระ มีรัฐบาลมีงบประมาณแผ่นดิน มีกองทัพ และมีรัฐสภาเป็นของตนเอง รัฐบาลนี้อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลเวียดนามและสมาคมฝรั่งเศส ส่วนการรวมเวียดนามทั้งสามภาคเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้นให้เป็นไปตามประชามติ
๒.รัฐบาลเวียดนามจะยอมรับรองรัฐบาลฝรั่งเศสในฐานะเป็นมิตรประเทศเมื่อจีนได้ถอนตัวออกไปแล้ว พร้อมกันนี้มีสัญญาอีกฉบับหนึ่งกำหนดหน้าที่ในการปฏิบัติของทั้งสองฝ่าย และ
๓. ข้อตกลงดังกล่าวให้มีผลบังคับใช้ในทันที เมื่อมีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันกันแล้วจะได้ออกคำสั่งทั่วไป ในช่วงนี้ให้กำลังทหารของทั้งสองฝ่ายอยู่ในที่ตั้ง ในการเจรจาครั้งต่อไปจะตกลงกันในเรื่องการทูตของเวียดนามกับนานาประเทศ ระบอบการปกครองและระบอบเศรษฐกิจ
หลังลงนามในข้อตกลงระหว่างโฮจิมินห์กับข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รัฐบาลเวียดนามได้แจ้งให้รัฐบาลลาว สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวเวียดนามจำนวนหลายพันคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเวียงจันทน์ และนำไปสู่การชุมนุมเดินขบวนคัดค้านการกระทำของรัฐบาลเวียดนามในวันที่ ๑๑มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ต่อมาคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลอิสระได้เรียกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าประชุมเป็นการด่วนในวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๘ เพื่อหารือกันกำหนดแนวทางการต่อสู้ต่อไป
ในการเดินขบวนของชาวเวียดนามในครั้งนั้น เจ้าสุวันนะพูมา รองนายกรัฐมนตรีได้ขึ้นกล่าวคำปราศรัย ประกาศเจตนารมณ์ของชาวลาวที่จะสนับสนุนรัฐบาลลาวอิสระต่อสู้กับฝรั่งเศสต่อไปจนถึงที่สุด จากนั้นนายจัน หัวหน้าชาวเวียดนามได้ประกาศมอบกองทหารเวียดนามทั้งหมดให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้บัญชาการทหารลาว เพื่อร่วมกันต่อสู้กับฝรั่งเศสต่อไป
พร้อมกันนี้ “คณะลาวอิสระ” ก็ได้ส่งคนออกชักชวนบุคคลสำคัญของประเทศที่อยู่ในกรุงเวียงจันทน์ ให้มาร่วมมือกันดำเนินการกอบกู้เอกราช และได้ตั้งสำนักงานลาวพันธมิตรขึ้นสำหรับเป็นศูนย์กลางทางด้านการเมือง และเป็นสำนักงานติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตร
ในวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกที่เมืองฮิโรชิมา ถัดจากนั้นอีกสองวันถัดมา ก็ได้ทิ้ระเบิดปรมาณูลูกที่สองที่เมืองนางาซากิ เป็นเหตุให้เมืองทั้งสองแห่งพินาศย่อยยับและมีผู้เสียชีวิตไปหลายแสนคน
ช่วงนั้นโฮจิมินห์ผู้นำคนสำคัญขององค์กรพันธมิตรเพื่อเอกราชของชาวเวียดนามหรือเรียกกันว่า “เวียดมินห์” ได้นำกองทหารเวียดมินห์ประมาณ ๕,๐๐๐ คนเข้าโจมตีกรุงฮานอยในวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๔๘๘ โดยที่ทหารญี่ปุ่นจำนวนกว่า ๓๐,๐๐๐ มิได้ทำการต่อต้านแต่อย่างใดส่วนทหารและพลเรือนฝรั่งเศส ที่ญี่ปุ่นควบคุมตัวไว้ ไดหลบหนีขึ้นไปอยู่ในประเทศจีน
ในวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๘๘ บราไซ ข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสได้สวมเครื่องแบบมาพบเจ้าเพ็ดชะลาด ซึ่งเวลานั้นมีตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลลาวหลวงพระบาง แจ้งความประสงค์ที่จะคงอำนาจในการปกครองลาวต่อไป ตามสัญญาปารีส พ.ศ.๒๔๔๑ เจ้าเพ็ดชะลาดไม่ยินยอม โดยให้เหตุผลว่า ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่นไม่สามารถป้องกันลาวไว้ได้ และลาวเป็นเอกราช ขณะนี้เจ้าชีวิตได้ประกาศเอกราชแล้ว อำนาจของฝรั่งเศสหมดไปแล้ว ฝรั่งเศศหมดข้อผูกพันใดๆ กับลาว หากจะกลับเข้ามามีอำนาจปกครอง ต้องมาทำสัญญากันใหม่
ทางด้านเวียดนาม ในวันที่ ๒ กันยายน ๒๔๘๘ มีการรวมตัวของประชาชนกว่า ๑ แสนคนที่กรุงฮานอย โฮจิมินห์ได้ประกาศว่า เวียดนามเป็นเอกราชพ้นจากการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และได้ประกาศก่อตั้งรัฐบาลเอกราชเวียดนาม มุ่งเน้นการสรรค์สร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่น สร้างความเป็นเอกภาพภายในประเทศเป็นสำคัญ
การประกาศเอกราชดังกล่าวถือเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของประชาชนเวียดนามทั้งมวล
No comments:
Post a Comment