การอภิวัฒน์ในสยาม แรงบันดาลใจของขบวนการกู้เอกราชลาว
เจ้าเพ็ดชะลาดผู้ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนชั้นสูงที่เกิดจากนโยบายของออกุส ปาวีที่หวังจะปลูกฝังความคิดให้พวกลูกหลานคนชั้นสูงในอินโดจีนให้มีความจงรักภักดีกับฝรั่งเศส,ได้ทำงานให้สหพันธ์ฝรั่งเศสปกครองอาณานิคมอินโดจีนมาเป็นเวลาหลายปี จนในวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๕ ผู้สำเร็จราชการอินโดจีนจึงได้แต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาว
ในเดือนมิถุนายน ๒๔๗๕ ได้มีการอภิวัฒน์ประชาธิปไตยในแนวคิดแบบเดียวกับการอภิวัฒน์สังคมของฝรั่งเศส โดยคณะราษฎรอันมีหลวงประดิษฐ์ มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)และผองเพื่อนนักเรียนไทยในฝรั่งเศสเป็นกลุ่มแกนนำ การอภิวัฒน์สังคมไทยดังกล่าวเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้ผู้รักชาติในดินแดนอินโดจีนมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์สังคมให้มีอิสรภาพ มีความเสมอภาค และมีภราดรภาพ รวมทั้งมีความเป็นเอกราชจากการปกครองของเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส
ในช่วงนี้ แนวความคิดชาตินิยมและการเป็นประเทศเอกราช มีความเป็นประชาธิปไตยได้ก่อตัวขึ้นทั้งในหลวงพระบาง เวียงจันทน์ ท่าแขก และสะหวันนะเขด โดยมีเจ้าเพ็ดชะลาดเป็นผู้นำ แนวคิดดังกล่าวขยายตัวออกไปยังคนรุ่นใหม่อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าแขวงต่างๆ ที่ทำงานร่วมกับเจ้าเพ็ดชะลาด และในหมู่นักเรียนโรงเรียนออกุส ปาวี ที่มีปฏิกิริยาคัดค้านอำนาจปกครองของฝรั่งเศส
การใช้อำนาจทางทหารเข้าปกครองดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศสได้นำไปสู่การต่อต้านของประชาชนลาวในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ การใช้อำนาจทางทหารมิได้มีเพียงในดินแดนอินโดจีนเท่านั้น หากแต่ฝรั่งเศสยังใช้แสนยานุภาพทางทหารของตนกดดันบีบคั้นไทยในรูปแบบของ “นโยบายการทูตเรือปืน” เพื่อเรียกร้องเอาดินแดนจากไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ปี พ.ศ.๒๔๘๓ เกิดกรณีพิพาทระหว่างฝรั่งเศส-ไทย ส่งผลให้การเดินเรือในลำน้ำโขงต้องหยุดชะงักลง เจ้าเพ็ดชะลาดได้ควบคุมดูแลการสร้างถนนหมายเลข ๑๓ โดยเอานักโทษในคุกเมืองเวียงจันทน์ไปทำทาง ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในช่วงระยะนี้อยู่ในภาวะตึงเครียด เนื่องจากฝรั่งเศสเพ็งเล็งไทยด้วยความไม่พอใจว่า ให้การสนับสนุนช่วยเหลือขบวนการกู้เอกราชภายใต้การนำของเจ้าเพ็ดชะลาด อีกทั้งยังมีปัญหาพิพาทเรื่องพรมแดนฝั่งซ้าย-ฝั่งขวาแม่น้ำโขง จนเกิดกรณีขัดแย้งกันอย่างรุนแรง และนำไปสู่การปะทะสู้รบในช่วงระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๓-๒๔๘๔
เหตุการณ์ครั้งนั้น ฝรั่งเศสได้ใช้เรือลาดตระเวนลามอปิเกต์บุกเข้ายิงเรือหลวงธนบุรีที่เกาะช้าง และกองทัพอากาศไทยได้ปฏิบัติการตอบโต้ด้วยการส่งเครื่องบินเข้าไปโจมตีฐานที่ตั้งทางทหารภาคพื้นดินของฝรั่งเศสที่เมืองไพลิน อีกทั้งยังได้ส่งเครื่องบินเข้าไปประจำการที่สนามบินดงพระราม จังหวัดปราจีนบุรี และมีเป้าหมายที่จะยึดปอยเปต สวายจิก มงคลบุรี และพระตะบอง
จากกรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส ทางญี่ปุ่นได้เสนอตัวเข้ามาไกล่เกลี่ยจนสามารถยุติการสู้รบได้ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ หลังยุติกรณีพิพาท เจ้าเพ็ดชะลาดได้นั่งเครื่องบินไปกับผู้สำเร็จราชการฝรั่งเศสประจำอินโดจีนและผู้สำเร็จราชการประจำหัวเมืองลาว เพื่อเข้าเฝ้าเจ้ามหาชีวิต กราบบังคมทูลของความเห็นชอบในอันที่จะยกเมืองปากลาย เมืองไชยบุลี และเมืองหงสาให้ไทย เจ้ามหาชีวิตไม่ขัดข้องแต่ประการใด ฝรั่งเศสและไทยได้ไปตกลงเซ็นสัญญากันที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๔
หลังจากฝรั่งเศสและไทยได้ลงนามในสัญญาดังกล่าวแล้ว เจ้าเพ็ดชะลาดได้เชิญเจ้าชีวิตพร้อมด้วยผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาวไปเยี่ยมคำนับผู้สำเร็จราชการอินโดจีนที่ฮานอย เพื่อทำสนธิสัญญาให้ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสลงนามยกแขวงเวียงจันทน์ เชียงขวาง หัวพัน หัวของ และพงสาลีรวมเข้าเป็นอาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง
สนธิสัญญาฉบับนี้ ผู้สำเร็จราชการอินโดจีน ได้ส่งให้จอมพลเปแตง ประมุขรัฐบาลฝรั่งเศสที่เมืองวีซี (Vichy) ให้ความเห็นชอบแล้วส่งกลับมา จากนั้นส่งต่อไปให้อาเดรียน เรก ผู้สำเร็จราชการฝรั่งเศสประจำหัวเมืองลาว เป็นผู้ลงนามแทนรัฐบาลฝรั่งเศส โดยมีเจ้าสว่างวัฒนา รัชทายาท เป็นผู้ลงนามแทนเจ้าชีวิตสีสว่างวง ที่เวียงจันทน์ ในวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๔
ขณะที่กระแสแนวคิดชาตินิยมได้แพร่หลายอยู่ในอินโดจีน ขบวนการกู้เอกราชได้ก่อตัวขึ้นและขยายตัวออกไปตามเมืองต่างๆ นั้น สถานการณ์โลกได้อยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ ๒ และในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ กองทัพญี่ปุ่นได้เคลื่อนกำลังทหารจากกองทัพที่ ๑๕ ผ่านชายแดนกัมพูชามายังกรุงเทพฯ โดยก่อนหน้านี้ในเช้าวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ญี่ปุ่นส่งกำลังทหารขึ้นบกในจังหวัดริมทะเลต่างๆ ของไทยในหลายจุดด้วยกัน คือ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร บ้านดอน นครศรีธรรมราช สงขลาและปัตตานี
ในช่วงนั้นบรรดาผู้รักชาติชาวลาวส่วนใหญ่รวมตัวกันอยู่ภายใต้ร่มธงของ “คณะกู้อิสระพาบ” (ก.อ.พ.) ที่เจ้าเพ็ดชะลาดได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๘๔ องค์กรแห่งนี้มีบทบาทอย่างสำคัญในการรณรงค์เคลื่อนไหวทั้งในกรุงเวียงจันทน์ หลวงพระบาง ท่าแขก และสะหวันนะเขด เพื่อเผยแพร่แนวคิดการต่อสู้กู้เอกราชและสถาปนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามแนวทางการอภิวัฒน์ของฝรั่งเศสที่มุ่งเน้นในหลักแห่งอิสรภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ
วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ เจ้าเพ็ดชะลาดได้เสด็จการเวียงจันทน์โดยรถยนต์ไปยังหลวงพระบาง แล้วไปอยู่ที่วังเชียงแก้ว ริมแม่น้ำโขง ชานเมืองหลวงพระบาง จากนั้นได้ตั้งเสนาบดีประจำกระทรวงในสังกัดหอสนามหลวง(เทียบได้กับคณะรัฐมนตรี)หลายกระทรวง ในเวลานั้นกองทัพญี่ปุ่นเริ่มแสดงแสนยานุภาพทางทหารให้ปรากฏในดินแดนของประเทศต่างๆ แถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อชักจูงให้เข้ามาร่วมตามแนวนโยบาย “การร่วมวงไพบูลย์มหาเอเชียบูรพา” ภายใต้คำขวัญ “เอเชียเพื่อชาวเอเชีย” อำนาจทางทหารของฝรั่งเศสก็ลดน้อยลงเป็นลำดับ
ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ เจ้าเพ็ดชะลาดได้ตามเสด็จเจ้าสีสว่างวงไปรับเอาแขวงเวียงจันทน์จากฝรั่งเศส ต่อมาไปยังแขวงเชียงขวางเพื่อรับมอบเมืองพวนจากฝรั่งเศส แล้วชักธงล้านช้างร่มขาวของลาวขึ้นคู่เคียงธงชาติฝรั่งเศสที่หน้าอาคารผู้สำเร็จราชการฝรั่งเศสประจำหัวเมืองลาว
ช่วงเวลานั้น กระแสแนวความคิดชาตินิยมได้แผ่ขยายออกไปทั่วทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอาณานิคมต่างๆ ทั้งในทวีปเอเซียและแอฟริกา กรณีของลาว ขบวนการชาตินิยมได้ก่อตัวเป็นปึกแผ่นพร้อมกับขยายแนวคิดที่จะปลดปล่อยประเทศไปสู่อิสรภาพ พ้นจากการเป็นประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศส จุดมุ่งหมายที่เปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจของประชาชนลาวทั้งประเทศ ก็คือ การมีเอกราช อิสรภาพ และอธิปไตยโดยสมบูรณ์ภายใต้อุดมการณ์ร่วมกันของทุกๆฝ่าย ดังที่เรียกขานกันในประเทศลาวว่า “ลัทธิฮักชาติ”
เจ้าเพ็ดชะลาดผู้นำ “คณะกู้อิสระพาบ” ตระหนักดีว่า ในการดำเนินความพยายามเพื่อประกาศเอกราชของลาว ประการแรกสุดต้องสร้างความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติให้ได้ ภายใต้บริบทของสังคมลาวในยุคนั้นที่เรียกว่า “ลัทธิฮักชาติ” และเพื่อให้บรรลุผลในด้านปฏิบัติต้องมีการผสานความร่วมมือของกลุ่มผู้รักชาติต่างๆ อย่างแข็งขัน ทั้งในเวียงจันทน์ หลวงพระบาง เชียงขวาง และเมืองอื่นๆ ในภาคใต้
เจ้าเพ็ดชะลาดผู้ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนชั้นสูงที่เกิดจากนโยบายของออกุส ปาวีที่หวังจะปลูกฝังความคิดให้พวกลูกหลานคนชั้นสูงในอินโดจีนให้มีความจงรักภักดีกับฝรั่งเศส,ได้ทำงานให้สหพันธ์ฝรั่งเศสปกครองอาณานิคมอินโดจีนมาเป็นเวลาหลายปี จนในวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๕ ผู้สำเร็จราชการอินโดจีนจึงได้แต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาว
ในเดือนมิถุนายน ๒๔๗๕ ได้มีการอภิวัฒน์ประชาธิปไตยในแนวคิดแบบเดียวกับการอภิวัฒน์สังคมของฝรั่งเศส โดยคณะราษฎรอันมีหลวงประดิษฐ์ มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)และผองเพื่อนนักเรียนไทยในฝรั่งเศสเป็นกลุ่มแกนนำ การอภิวัฒน์สังคมไทยดังกล่าวเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้ผู้รักชาติในดินแดนอินโดจีนมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์สังคมให้มีอิสรภาพ มีความเสมอภาค และมีภราดรภาพ รวมทั้งมีความเป็นเอกราชจากการปกครองของเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส
ในช่วงนี้ แนวความคิดชาตินิยมและการเป็นประเทศเอกราช มีความเป็นประชาธิปไตยได้ก่อตัวขึ้นทั้งในหลวงพระบาง เวียงจันทน์ ท่าแขก และสะหวันนะเขด โดยมีเจ้าเพ็ดชะลาดเป็นผู้นำ แนวคิดดังกล่าวขยายตัวออกไปยังคนรุ่นใหม่อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าแขวงต่างๆ ที่ทำงานร่วมกับเจ้าเพ็ดชะลาด และในหมู่นักเรียนโรงเรียนออกุส ปาวี ที่มีปฏิกิริยาคัดค้านอำนาจปกครองของฝรั่งเศส
การใช้อำนาจทางทหารเข้าปกครองดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศสได้นำไปสู่การต่อต้านของประชาชนลาวในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ การใช้อำนาจทางทหารมิได้มีเพียงในดินแดนอินโดจีนเท่านั้น หากแต่ฝรั่งเศสยังใช้แสนยานุภาพทางทหารของตนกดดันบีบคั้นไทยในรูปแบบของ “นโยบายการทูตเรือปืน” เพื่อเรียกร้องเอาดินแดนจากไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ปี พ.ศ.๒๔๘๓ เกิดกรณีพิพาทระหว่างฝรั่งเศส-ไทย ส่งผลให้การเดินเรือในลำน้ำโขงต้องหยุดชะงักลง เจ้าเพ็ดชะลาดได้ควบคุมดูแลการสร้างถนนหมายเลข ๑๓ โดยเอานักโทษในคุกเมืองเวียงจันทน์ไปทำทาง ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในช่วงระยะนี้อยู่ในภาวะตึงเครียด เนื่องจากฝรั่งเศสเพ็งเล็งไทยด้วยความไม่พอใจว่า ให้การสนับสนุนช่วยเหลือขบวนการกู้เอกราชภายใต้การนำของเจ้าเพ็ดชะลาด อีกทั้งยังมีปัญหาพิพาทเรื่องพรมแดนฝั่งซ้าย-ฝั่งขวาแม่น้ำโขง จนเกิดกรณีขัดแย้งกันอย่างรุนแรง และนำไปสู่การปะทะสู้รบในช่วงระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๓-๒๔๘๔
เหตุการณ์ครั้งนั้น ฝรั่งเศสได้ใช้เรือลาดตระเวนลามอปิเกต์บุกเข้ายิงเรือหลวงธนบุรีที่เกาะช้าง และกองทัพอากาศไทยได้ปฏิบัติการตอบโต้ด้วยการส่งเครื่องบินเข้าไปโจมตีฐานที่ตั้งทางทหารภาคพื้นดินของฝรั่งเศสที่เมืองไพลิน อีกทั้งยังได้ส่งเครื่องบินเข้าไปประจำการที่สนามบินดงพระราม จังหวัดปราจีนบุรี และมีเป้าหมายที่จะยึดปอยเปต สวายจิก มงคลบุรี และพระตะบอง
จากกรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส ทางญี่ปุ่นได้เสนอตัวเข้ามาไกล่เกลี่ยจนสามารถยุติการสู้รบได้ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ หลังยุติกรณีพิพาท เจ้าเพ็ดชะลาดได้นั่งเครื่องบินไปกับผู้สำเร็จราชการฝรั่งเศสประจำอินโดจีนและผู้สำเร็จราชการประจำหัวเมืองลาว เพื่อเข้าเฝ้าเจ้ามหาชีวิต กราบบังคมทูลของความเห็นชอบในอันที่จะยกเมืองปากลาย เมืองไชยบุลี และเมืองหงสาให้ไทย เจ้ามหาชีวิตไม่ขัดข้องแต่ประการใด ฝรั่งเศสและไทยได้ไปตกลงเซ็นสัญญากันที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๔
หลังจากฝรั่งเศสและไทยได้ลงนามในสัญญาดังกล่าวแล้ว เจ้าเพ็ดชะลาดได้เชิญเจ้าชีวิตพร้อมด้วยผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาวไปเยี่ยมคำนับผู้สำเร็จราชการอินโดจีนที่ฮานอย เพื่อทำสนธิสัญญาให้ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสลงนามยกแขวงเวียงจันทน์ เชียงขวาง หัวพัน หัวของ และพงสาลีรวมเข้าเป็นอาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง
สนธิสัญญาฉบับนี้ ผู้สำเร็จราชการอินโดจีน ได้ส่งให้จอมพลเปแตง ประมุขรัฐบาลฝรั่งเศสที่เมืองวีซี (Vichy) ให้ความเห็นชอบแล้วส่งกลับมา จากนั้นส่งต่อไปให้อาเดรียน เรก ผู้สำเร็จราชการฝรั่งเศสประจำหัวเมืองลาว เป็นผู้ลงนามแทนรัฐบาลฝรั่งเศส โดยมีเจ้าสว่างวัฒนา รัชทายาท เป็นผู้ลงนามแทนเจ้าชีวิตสีสว่างวง ที่เวียงจันทน์ ในวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๔
ขณะที่กระแสแนวคิดชาตินิยมได้แพร่หลายอยู่ในอินโดจีน ขบวนการกู้เอกราชได้ก่อตัวขึ้นและขยายตัวออกไปตามเมืองต่างๆ นั้น สถานการณ์โลกได้อยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ ๒ และในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ กองทัพญี่ปุ่นได้เคลื่อนกำลังทหารจากกองทัพที่ ๑๕ ผ่านชายแดนกัมพูชามายังกรุงเทพฯ โดยก่อนหน้านี้ในเช้าวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ญี่ปุ่นส่งกำลังทหารขึ้นบกในจังหวัดริมทะเลต่างๆ ของไทยในหลายจุดด้วยกัน คือ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร บ้านดอน นครศรีธรรมราช สงขลาและปัตตานี
ในช่วงนั้นบรรดาผู้รักชาติชาวลาวส่วนใหญ่รวมตัวกันอยู่ภายใต้ร่มธงของ “คณะกู้อิสระพาบ” (ก.อ.พ.) ที่เจ้าเพ็ดชะลาดได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๘๔ องค์กรแห่งนี้มีบทบาทอย่างสำคัญในการรณรงค์เคลื่อนไหวทั้งในกรุงเวียงจันทน์ หลวงพระบาง ท่าแขก และสะหวันนะเขด เพื่อเผยแพร่แนวคิดการต่อสู้กู้เอกราชและสถาปนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามแนวทางการอภิวัฒน์ของฝรั่งเศสที่มุ่งเน้นในหลักแห่งอิสรภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ
วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ เจ้าเพ็ดชะลาดได้เสด็จการเวียงจันทน์โดยรถยนต์ไปยังหลวงพระบาง แล้วไปอยู่ที่วังเชียงแก้ว ริมแม่น้ำโขง ชานเมืองหลวงพระบาง จากนั้นได้ตั้งเสนาบดีประจำกระทรวงในสังกัดหอสนามหลวง(เทียบได้กับคณะรัฐมนตรี)หลายกระทรวง ในเวลานั้นกองทัพญี่ปุ่นเริ่มแสดงแสนยานุภาพทางทหารให้ปรากฏในดินแดนของประเทศต่างๆ แถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อชักจูงให้เข้ามาร่วมตามแนวนโยบาย “การร่วมวงไพบูลย์มหาเอเชียบูรพา” ภายใต้คำขวัญ “เอเชียเพื่อชาวเอเชีย” อำนาจทางทหารของฝรั่งเศสก็ลดน้อยลงเป็นลำดับ
ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ เจ้าเพ็ดชะลาดได้ตามเสด็จเจ้าสีสว่างวงไปรับเอาแขวงเวียงจันทน์จากฝรั่งเศส ต่อมาไปยังแขวงเชียงขวางเพื่อรับมอบเมืองพวนจากฝรั่งเศส แล้วชักธงล้านช้างร่มขาวของลาวขึ้นคู่เคียงธงชาติฝรั่งเศสที่หน้าอาคารผู้สำเร็จราชการฝรั่งเศสประจำหัวเมืองลาว
ช่วงเวลานั้น กระแสแนวความคิดชาตินิยมได้แผ่ขยายออกไปทั่วทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอาณานิคมต่างๆ ทั้งในทวีปเอเซียและแอฟริกา กรณีของลาว ขบวนการชาตินิยมได้ก่อตัวเป็นปึกแผ่นพร้อมกับขยายแนวคิดที่จะปลดปล่อยประเทศไปสู่อิสรภาพ พ้นจากการเป็นประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศส จุดมุ่งหมายที่เปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจของประชาชนลาวทั้งประเทศ ก็คือ การมีเอกราช อิสรภาพ และอธิปไตยโดยสมบูรณ์ภายใต้อุดมการณ์ร่วมกันของทุกๆฝ่าย ดังที่เรียกขานกันในประเทศลาวว่า “ลัทธิฮักชาติ”
เจ้าเพ็ดชะลาดผู้นำ “คณะกู้อิสระพาบ” ตระหนักดีว่า ในการดำเนินความพยายามเพื่อประกาศเอกราชของลาว ประการแรกสุดต้องสร้างความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติให้ได้ ภายใต้บริบทของสังคมลาวในยุคนั้นที่เรียกว่า “ลัทธิฮักชาติ” และเพื่อให้บรรลุผลในด้านปฏิบัติต้องมีการผสานความร่วมมือของกลุ่มผู้รักชาติต่างๆ อย่างแข็งขัน ทั้งในเวียงจันทน์ หลวงพระบาง เชียงขวาง และเมืองอื่นๆ ในภาคใต้
No comments:
Post a Comment