ในวันที่ ๒๔ มิถุนายนนั้นเอง ภายหลังที่หัวหน้าคณะราษฎรได้ประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ลานพระบรมรูปทรงม้าแล้ว ก็ได้เข้าไปตั้งกองบัญาการในพระที่นั่งอนันตสมาคมและเชิญธงไตรรงค์ขึ้นสู่ยอดโดมของพระที่นั่งฯ ขณะที่แต่งตั้งพระยาพหลฯ พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร โดยมีเจ้าคุณพระยาพหลฯ หัวหน้าคณะราษฎร เป็นหัวหน้า
คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ ณ วังไกลกังวล หัวหิน ขออัญเชิญกลับสู่พระนครเพื่อทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยต่อไปภายใต้รัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารก็ได้สั่งให้นายนาวาตรีหลวงศุภ ชลาสัย(บุง ศุภชลาศัย)ผู้ก่อการฯสายทหารเรือ นำเรือหลวงสุโขทัยไปยังหัวหิน เพื่อกราบบังคมทูลให้เสด็จพระราชดำเนินกลับโดยเรือรบลำนั้น
เมื่อหลวงศุภชลาศัยได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในตอนกลางวันของวันเสาร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๗๕ แล้วก็ได้ส่งโทรเลขแจ้งมายังผู้รักษาพระนครฯ ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พร้อมด้วยกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน จะเสด็จกลับจากหัวหินโดยทางรถไฟและไม่มีกองทหารติดตาม
ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม คณะราษฎรได้เชิญประชุมเสนาบดีและปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างๆ เมื่อเวลา ๑๖ น. ของวันศุกร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เมื่อการยึดอำนาจรัฐได้เป็นผลสำเร็จแล้ว พระยาพหลฯ หัวหน้าคณะราษฎรได้ขอให้หลวงประดิษฐ์ มนูธรรม เป็นผู้แถลงแทนคณะราษฎร การประชุมซึ่งใช้เวลา ๒ ชั่วโมง จนถึง ๑๘ น. มีรายงานที่บันทึกไว้ดังนี้ (รายงานการประชุมเสนาบดีและปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างๆ พร้อมกับคณะราษฎร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม วันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕)
“๑. พระยาพหลฯ กล่าวว่า การที่เชิญท่านเสนาบดีและปลัดฉลองมาวันนี้เพื่อปรึกษาถึงกิจการซ฿งจะต้องกระทำร่วมกัน และขอให้หลวงประดิษฐ์ มนูธรรมเป็นผู้แถลงแทนคณะราษฎร
๒.หลวงประดิษฐ์ฯ แถลงว่า บัดนี้การที่คณะราษฎรได้ยึอำนาจการปกครองไว้ได้ และได้เชิญพระบรมวงศานุวงศ์มาประทับ ณ ที่นี้แล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นประกันความปลอดภัยของคณะฯ คณะฯหาได้มุ่งร้ายที่จะทำการทารุณแต่ประการใดไม่ ระหว่างที่ท่านประทับอยู่คณะราษฎรได้แสดงความเคารพ สิ่งสำคัญที่คณะราษฎรประสงค์ก็เพื่อจะต้องการให้ประเทศได้มีธรรมนูญการปกครองจึงได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับพระนครเป็นกษัตริย์อยู่ใต้การปกครองสืบไป
๓. ธรรมนูญการปกครองนี้จะจัดทำขึ้นในเร็วๆ นี้ แต่ในเวลานี้เป็นการจำเป็นที่คณะทหารจะต้องมีอำนาจเหนือพลเรือน เหตุฉะนั้นจึงต้องมีคณะผู้รักษาการฝ่ายทหาร ส่วนธรรมนูญการปกครองนี้ คณะฯ ได้เตรียมร่างขึ้น และจะได้นำเสนอสภาผู้แทนราษฎรโดยเร็วที่สุดที่สามารถทำได้
สภาผู้แทนราษฎรนั้น ตามปกติควรจะได้รับเลือกตั้งตามความเห็นชอบของราษฎร แต่จะกระทำโดยเร็ววันยังมิทัน จึงได้คิดไว้ว่าในชั้นต้นจะมีบุคคลที่ได้ร่วมกิจการครั้งนี้เป็นสมาชิกชั่วคราวก่อน ซึ่งจะอยู่ในตำแหน่งในเวลาอันเร็วแต่รู้สึกอยู่ว่า พวกที่ร่วมกิจการครั้งนี้ แม้จะได้รับการศึกษามาบ้าง อย่างไรก็ดีคณะฯ ก็ยังเป็นเด็กหนุ่มอยู่เป็นส่วนมาก จึงปรึกษากันที่จะอัญเชิญผู้ใหญ่ในทางราชการและผู้ที่ประกอบอาชีพในทางอื่น ซึ่งเป็นผู้ที่เห็นแก่ชาติบ้านเมืองมาเป็นสมาชิกร่วมในสภาด้วยต่อไป
ในสมัยที่ ๒ คือเมื่อบ้านเมืองเรียบร้อยแล้วก็จะให้ราษฎรเลือกตั้งผู้แทนของตนมาเป็นสมาชิกในสภา และคณะราษฎรก็จะได้ตั้งผู้แทนเข้าเป็นจำนวนเท่ากัน ทั้งนี้เพื่อที่จะระวังให้นโยบายของราษฎรได้ดำเนินไปเพื่อราษฎร
และในสมัยที่ ๓ คือเมื่อราษฎรได้รักการศึกษา ซึ่งจะได้กำหนดตามหลักสูตรใหม่ มีจำนวนมากเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนพลเมืองทั้งประเทศและก็ไม่เกินกว่า ๑๐ ปี ราษฎรก็จะได้เลือกตั้งผู้แทนราษฎรของตนฝ่ายเดียวเท่านั้น ไม่ต้องมีผู้แทนคณะราษฎรกำกับ ความคิดนี้จะได้นำเสนอสภาเพื่อหารือกันต่อไป
เหตุฉะนั้น คณะราษฎรจึงขอให้ท่านเสนาบดีและปลัดทูลฉลองช่วยกันรักษาความสงบ และขอให้แจ้งไปยังพนักงานกรมกองต่างๆ ที่ขึ้นอยู่ ให้ปฏิบัติการไปตามเดิม สิ่งใดที่เป็นงานเคยปฏิบัติ ก็จะพิจารณาให้เสนาบดีและปลัดทูลฉลองกระทำไป สิ่งใดที่เคยเป็นปัญหานโยบายก็จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร
สิ่งสำคัญที่จะต้องทำโดยด่วน ก็คือ กิจการที่เกี่ยวแก่การต่างประเทศ ว่ารัฐบาลคราวใหม่นี้ไม่คิดที่จะล้างผลาญชีวิตและทรัพย์สมบัติของคนในบังคับต่างประเทศ สิ่งใดที่เคยกระทำมา ตลอดจนสัญญาทางพระราชไมตรีก็จะได้ดำเนินต่อไป
ขอให้ช่วยกันระวังอย่าให้มีการแทรกแซงของการต่างประเทศได้ ไม่ว่าในประเทศใดๆ ปัญหาในทางการต่างประเทศ คณะการเมืองต่างๆ ก็มีความเห็นลงรอยกัน ทุกประเทศอื่นย่อมไม่เกี่ยวข้องกับกิจการภายในของอีกประเทศหนึ่งตามกฎหมายระหว่างประเทศ ภายหลังสงครามนี้ที่ได้มีสันนิบาตชาติขึ้น การแทรกแซงไม่ใช่นโยบายของสันนิบาตชาติ แต่อย่างไรก็ดี การแทรกแซงของต่างประเทศนั้น ถ้าหากมีขึ้นย่อมกระทบถึงคนไทยทุกชั้น ไม่ว่าเจ้านายหรือราษฎรสามัญ จะถือว่ายุ่งแต่เฉพาะราษฎรไม่ได้
คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ ณ วังไกลกังวล หัวหิน ขออัญเชิญกลับสู่พระนครเพื่อทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยต่อไปภายใต้รัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารก็ได้สั่งให้นายนาวาตรีหลวงศุภ ชลาสัย(บุง ศุภชลาศัย)ผู้ก่อการฯสายทหารเรือ นำเรือหลวงสุโขทัยไปยังหัวหิน เพื่อกราบบังคมทูลให้เสด็จพระราชดำเนินกลับโดยเรือรบลำนั้น
เมื่อหลวงศุภชลาศัยได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในตอนกลางวันของวันเสาร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๗๕ แล้วก็ได้ส่งโทรเลขแจ้งมายังผู้รักษาพระนครฯ ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พร้อมด้วยกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน จะเสด็จกลับจากหัวหินโดยทางรถไฟและไม่มีกองทหารติดตาม
ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม คณะราษฎรได้เชิญประชุมเสนาบดีและปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างๆ เมื่อเวลา ๑๖ น. ของวันศุกร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เมื่อการยึดอำนาจรัฐได้เป็นผลสำเร็จแล้ว พระยาพหลฯ หัวหน้าคณะราษฎรได้ขอให้หลวงประดิษฐ์ มนูธรรม เป็นผู้แถลงแทนคณะราษฎร การประชุมซึ่งใช้เวลา ๒ ชั่วโมง จนถึง ๑๘ น. มีรายงานที่บันทึกไว้ดังนี้ (รายงานการประชุมเสนาบดีและปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างๆ พร้อมกับคณะราษฎร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม วันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕)
“๑. พระยาพหลฯ กล่าวว่า การที่เชิญท่านเสนาบดีและปลัดฉลองมาวันนี้เพื่อปรึกษาถึงกิจการซ฿งจะต้องกระทำร่วมกัน และขอให้หลวงประดิษฐ์ มนูธรรมเป็นผู้แถลงแทนคณะราษฎร
๒.หลวงประดิษฐ์ฯ แถลงว่า บัดนี้การที่คณะราษฎรได้ยึอำนาจการปกครองไว้ได้ และได้เชิญพระบรมวงศานุวงศ์มาประทับ ณ ที่นี้แล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นประกันความปลอดภัยของคณะฯ คณะฯหาได้มุ่งร้ายที่จะทำการทารุณแต่ประการใดไม่ ระหว่างที่ท่านประทับอยู่คณะราษฎรได้แสดงความเคารพ สิ่งสำคัญที่คณะราษฎรประสงค์ก็เพื่อจะต้องการให้ประเทศได้มีธรรมนูญการปกครองจึงได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับพระนครเป็นกษัตริย์อยู่ใต้การปกครองสืบไป
๓. ธรรมนูญการปกครองนี้จะจัดทำขึ้นในเร็วๆ นี้ แต่ในเวลานี้เป็นการจำเป็นที่คณะทหารจะต้องมีอำนาจเหนือพลเรือน เหตุฉะนั้นจึงต้องมีคณะผู้รักษาการฝ่ายทหาร ส่วนธรรมนูญการปกครองนี้ คณะฯ ได้เตรียมร่างขึ้น และจะได้นำเสนอสภาผู้แทนราษฎรโดยเร็วที่สุดที่สามารถทำได้
สภาผู้แทนราษฎรนั้น ตามปกติควรจะได้รับเลือกตั้งตามความเห็นชอบของราษฎร แต่จะกระทำโดยเร็ววันยังมิทัน จึงได้คิดไว้ว่าในชั้นต้นจะมีบุคคลที่ได้ร่วมกิจการครั้งนี้เป็นสมาชิกชั่วคราวก่อน ซึ่งจะอยู่ในตำแหน่งในเวลาอันเร็วแต่รู้สึกอยู่ว่า พวกที่ร่วมกิจการครั้งนี้ แม้จะได้รับการศึกษามาบ้าง อย่างไรก็ดีคณะฯ ก็ยังเป็นเด็กหนุ่มอยู่เป็นส่วนมาก จึงปรึกษากันที่จะอัญเชิญผู้ใหญ่ในทางราชการและผู้ที่ประกอบอาชีพในทางอื่น ซึ่งเป็นผู้ที่เห็นแก่ชาติบ้านเมืองมาเป็นสมาชิกร่วมในสภาด้วยต่อไป
ในสมัยที่ ๒ คือเมื่อบ้านเมืองเรียบร้อยแล้วก็จะให้ราษฎรเลือกตั้งผู้แทนของตนมาเป็นสมาชิกในสภา และคณะราษฎรก็จะได้ตั้งผู้แทนเข้าเป็นจำนวนเท่ากัน ทั้งนี้เพื่อที่จะระวังให้นโยบายของราษฎรได้ดำเนินไปเพื่อราษฎร
และในสมัยที่ ๓ คือเมื่อราษฎรได้รักการศึกษา ซึ่งจะได้กำหนดตามหลักสูตรใหม่ มีจำนวนมากเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนพลเมืองทั้งประเทศและก็ไม่เกินกว่า ๑๐ ปี ราษฎรก็จะได้เลือกตั้งผู้แทนราษฎรของตนฝ่ายเดียวเท่านั้น ไม่ต้องมีผู้แทนคณะราษฎรกำกับ ความคิดนี้จะได้นำเสนอสภาเพื่อหารือกันต่อไป
เหตุฉะนั้น คณะราษฎรจึงขอให้ท่านเสนาบดีและปลัดทูลฉลองช่วยกันรักษาความสงบ และขอให้แจ้งไปยังพนักงานกรมกองต่างๆ ที่ขึ้นอยู่ ให้ปฏิบัติการไปตามเดิม สิ่งใดที่เป็นงานเคยปฏิบัติ ก็จะพิจารณาให้เสนาบดีและปลัดทูลฉลองกระทำไป สิ่งใดที่เคยเป็นปัญหานโยบายก็จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร
สิ่งสำคัญที่จะต้องทำโดยด่วน ก็คือ กิจการที่เกี่ยวแก่การต่างประเทศ ว่ารัฐบาลคราวใหม่นี้ไม่คิดที่จะล้างผลาญชีวิตและทรัพย์สมบัติของคนในบังคับต่างประเทศ สิ่งใดที่เคยกระทำมา ตลอดจนสัญญาทางพระราชไมตรีก็จะได้ดำเนินต่อไป
ขอให้ช่วยกันระวังอย่าให้มีการแทรกแซงของการต่างประเทศได้ ไม่ว่าในประเทศใดๆ ปัญหาในทางการต่างประเทศ คณะการเมืองต่างๆ ก็มีความเห็นลงรอยกัน ทุกประเทศอื่นย่อมไม่เกี่ยวข้องกับกิจการภายในของอีกประเทศหนึ่งตามกฎหมายระหว่างประเทศ ภายหลังสงครามนี้ที่ได้มีสันนิบาตชาติขึ้น การแทรกแซงไม่ใช่นโยบายของสันนิบาตชาติ แต่อย่างไรก็ดี การแทรกแซงของต่างประเทศนั้น ถ้าหากมีขึ้นย่อมกระทบถึงคนไทยทุกชั้น ไม่ว่าเจ้านายหรือราษฎรสามัญ จะถือว่ายุ่งแต่เฉพาะราษฎรไม่ได้
No comments:
Post a Comment