Thursday, April 24, 2008

บทความที่๔๑๙.การครองโลกของสหรัฐอเมริกา(๑)

การครองโลกของสหรัฐอเมริกา

หลังการยอมจำนนของฝ่ายอักษะ คือ เยอรมันและอิตาลีในยุโรป ตามด้วยการยอมจำนนของญี่ปุ่นในเอเซีย สหรัฐอเมริกาได้ขยายบทบาทของตนเองออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้น บทบาทดังกล่าวมิใช่ปฏิบัติเพียงเฉพาะประเทศฝ่ายศัตรูที่พ่ายแพ้สงครามเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงพันธมิตรของประเทศเหล่านั้นด้วย พร้อมกันนี้สหรัฐอเมริกาได้ปรับเปลี่ยนนโยบายมามุ่งเน้นต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยถือว่า “พรรคคอมมิวนิสต์สากล” นั้นศัตรูอันดับหนึ่ง

วัตถุประสงค์หลักของสหรัฐอเมริกาคือ “การสร้างศตวรรษใหม่และการครอบโลก” ในเชิงปฏิบัติ สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปดำเนินการครอบงำประเทศต่างๆ ทั่วโลก มีผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเข้าไปผูกขาดและยึดกุมครอบครอง เป็นเจ้าของแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของโลกไว้จดหมดสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งน้ำมันซึ่งเป็นยุทธปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด อีกทั้งผูกโยงกับอุตสาหกรรมการผลิตและภาวะเศรษฐกิจอย่างแนบแน่น

พร้อมกันนี้ได้เข้าไปเสริมสร้าความแข็งแกร่งและเพิ่มแสนยานุภาพทางทหารรวมทั้งสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจให้แก่บรรดาประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อย่างจริงจัง หลังสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนตัวประธานาธิบดีจากแฟรงคลิน ดี.รูสเวลท์ มาเป็นเฮนรี่ เอช.ทรูแมน ได้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนนโยบายในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งสำคัญ

เอกสารรายงานของทางสหรัฐอเมริกา ในช่วงปลายปี พ.ศ.๒๔๘๙ ระบุว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ได้ทบทวนแนวนโยบายเกี่ยวกับจุดยืนในเรื่องชาตินิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์เสียใหม่ ช่วงสมัยประธานาธิบดีรูสเวลท์ได้ให้ความเห็นอกเห็นใจต่อขบวนการชาตินิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ต่อสู้เพื่อเอกราชจากการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่ประธานาธิบดีทรูแมนได้พิจารณาเห็นว่า สมาชิกในขบวนการชาตินิยมบางคนมีแนวคิดอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโฮจิมินห์ผู้ซึ่งในรายงานของหน่วย โอ เอส เอส ระบุว่าเป็น “สมาชิก” ของพรรคคอมมิวนิสต์สากล

ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ เอกสารคำรองขอรับการสนับสนุนช่วยเหลือของโฮจิมินห์ในการต่อสู้เพื่อเอกราชจากอาณานิคมฝรั่งเศส ที่ยื่นเสนอต่อรัฐบาลสหรัฐฯ ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๘๙ จึงมิได้รับการพิจารณาเลยแม้แต่ฉบับเดียว

สถานการณ์ของสหรัฐในช่วงเวลานั้นได้เริ่มแปรเปลี่ยนอย่างมากเรียกได้ว่าเป็นยุค “หมอผีครองเมือง” ก็ว่าได้ เนื่องจากประธานาธิบดี เฮ็นรี่ เอช.ทรูแมน มีแนวคิดต่อต้านคอมมิวนิสต์อ่างรุนแรง และมีการปลุกผีคอมมิวนิสต์อย่างขนาดใหญ่ ผู้นำสหภาพแรงงาน ผู้นำกรรมกร นักเขียน ศิลปิน ดาราภาพยนตร์ จำนวนไม่น้อยตกเป็นเหยื่อของขบวนการปลุกผีกดังกล่าว คต้องหนีไปหลบซ่อนต้วอยู่ในซอกเหลือของเมือหญ่ หรือในพื้นที่ชนทบทห่างไกล และมีบางคนที่จำต้องอพยพหนีภัยออกไปอยู่ในต่างประเทศ หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ ชาลี แชปลิน ที่หลบหนีไปใช้ชีวิตอยู่ในประเทศอังกฤษ และต่อมาได้รับบรรดศักดิ์เป็น “เซอร์ ชาร์ล แชปลิน”

หลังพรรคคอมมิวนิสต์จีนและกองทัพประชาชนจีน (กองทัพแดง)ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุง โจวเอินไหล และนายพล จูเต๋อ ได้รับชัยชนะเหนือรัฐบาลและกองทัพก๊กมินตั๋ง ได้จัดตั้งรัฐบาลขึ้นในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๒ สหรัฐฯมองว่า จีนจะขยายอำนาจอิทธิพลลงมาทางใต้ สถานการณ์ด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็นประเด็นปัญหาที่สหรัฐฯให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

กระแสปฏิวัติโลกของรัสเซียและจีนทำให้สหรัฐฯกำหนดนโยบาย “การร่วมมือต่อสู้เพื่อปกป้องโลกเสรีจากภัยพิบัติของลัทธิคอมมิวนิสต์” และกำหนดยุทธศาสตร์ปิดล้อมจีน ในการปฏิบัตินโยบายตามยุทธศาสตร์ปิดล้อมจีนดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐฯและหน่วยข่าวกรองได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์สากล ด้วยการรวบรวมบรรดาชาติอิสระมารวมกันเป็นกลุ่มแล้วก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีอาโต้)ขึ้นมาปิดล้อมคอมมิวนิสต์

กรณีของลาว รัฐบาลสหรัฐฯทุ่มเงินช่วยเหลือรัฐบาลลาวฝ่ายขวาในลาว ผ่านทางสถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงเวียงจันทน์ หน่วยงานที่ปรึกษาทางทหารและองค์กรข่าวกรองกลางที่มีเจ้าหน้าที่ดำเนินงานอยูจำนวนหนึ่ง ภารกิจในช่วงนั้นคือการเข้าไปเสริมสร้าความแข็งแกร่งทางทหาร ติดอาวุธยุทธโปกรณ์อันทันสมัยและฝึกอบทการใช้อาวุธดังกล่าวให้แก่ทหารผ่ายขวา พร้อมกันนี้ยังได้ให้การสนับสนุนทางด้นการเงินและอาวุธยุทธโธปกรณ์แก่กองทัพก๊กมินตั่งในพม่า เพื่อทำหน้าที่เป็นแนวกันชนป้องบกันการแพร่ขยายลงมายังภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ของลัทธิคอมมิวนิสต์

ส่วนในกรณีของไทย รัฐบาลสหรัฐฯและหน่วยข่าวกรองกลางได้สนับสนุนนายทหารกองทัพบกทั้งในและนอกประจำการ ภายใต้การนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม และพลโท ผิน ชุนหะวัน อย่างลับๆ ให้กระทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ที่มีนายปรีดี พนมยงค์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๐

คณะนายทหารดังกล่าวประกอบด้วยนายทหารกองทัพบก ตำรวจ และกองทัพอากาศ ๓๖ นาย ได้แก่

๑. จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้นำการทำรัฐประหาร
๒. พลโท ผิน ชุณหวัณ
๓. พันเอก กาจ กาจสงคราม
๔.พันเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์
๕. พันเอก สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย
๖. พันเอก หลวงสถิตยุทธการ
๗.พันเอก น้อม เกตุนุติ
๘.พันเอก ศิลป รัตนวิบูลชัย
๙.พันเอก เผ่า ศรียานนท์
๑๐.พันเอก ไสว ไสวแสนยากร
๑๑.พันเอก ก้าน จำนงภูมิเวท
๑๒.พันเอก หลวงสวัสดิ์สรยุทธ
๑๓.พันโท ถนอม กิตติขจร
๑๔.พันโท ประภาส จารุเสถียร
๑๕.พันโท เล็ก สงวนชาติสรไกร
๑๖.พันโท ปรุง รังสิยานนท์
๑๗.พันโท บัญญัติ เทพหัสดินทร์
๑๘.พันโท สุรใจ พูนทรัพย์
๑๙.พันโท ชลอ จารุกลัส
๒๐.พันโท กฤษณ์ ปุณณกันต์
๒๑.พันโท ประเสริฐ รุจิรวงศ์
๒๒.พันโท เผชิญ นิมิบุตร
๒๓.พันโท เฉลิม วงศ์สวัสดิ์
๒๔.พันโท ละม้าย อุทยานนท์
๒๕.พันโท ตรี บุษยกนิษฐ์
๒๖.พันตรี จิตต์ สุทรานนท์
๒๗.พันตรี พงศ์ ปุณณกันต์
๒๘.ร้อยเอก ชาติชาย ชุณหวัณ
๒๙.ร้อยเอก ประจวบ สุนทรางกูร
๓๐.ร้อยเอก ทม จิตต์วิมล
๓๑.ร้อยเอก ขุนปรีชารณเสฏฐ์
๓๒.ร้อยเอก ณรงค์ สาลีรัฐวิภาค
๓๓.ร้อยเอก ทองคำ ยิ้มกำพู
๓๔.นาวาอากาศโท เฉลิม วัฒนากูล
๓๕.นาวาอากาศตรี นักรบ มีศรี
๓๖.ร้อยตำรวจเอก เกษียร ศรุตานนท์

No comments: