ท่านปรีดี พนมยงค์กับขบวนการกู้เอกราชในลาว ตอน ญี่ปุ่นยึดครองลาว
ในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๘๘ กองทัพญี่ปุ่นได้ทะยอยเสริมกำลังทหารจากกองทัพภาคใต้ ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลเทรุอิชิ เข้ามาเพิ่มในอินโดจีน กำลังที่ส่งเข้ามานี้เป็นกำลังในสังกัดกองทัพที่ ๓๘ อันประกอบด้วยกองพลที่ ๒ กองพลที่ ๒๑ กองพลที่ ๒๒ และกองบินที่ ๕ โดยแยกเป็นกองกำลังทหารราบ ๓ กองพล และกองกำลังทางอากาศ ๑ กองบิน เพื่อขับไล่กองทหารฝรั่งเศสออกไปจากดินแดนภาคเหนือของลาว และยึดครองพื้นที่ในภาคเหนือของอินโดจีน
กำลังทหารญี่ปุ่นที่ยกพลขึ้นบกได้เดินทางเข้าไปยึดมลายูและสิงคโปร์ กำลังทหารภายใต้การนำของนายพลยามาชิตะ สามารถยึดมลายูและสิงคโปร์ไว้ได้ในที่สุด ส่วนกำลังทหารที่ยึดครองอินโดจีนได้รับคำสั่งให้เคลื่อนพลไปยึดครองสิบสองจุไท หน่วยที่ถูกไปนี้หากเปรียบเทียบกับหน่วยโมริ(หน่วยปฏิบัติการแบบกองโจร)ที่ปฏิบัติการในพม่า หน่วยนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่ามาก
ช่วงเดือนมกราคม กองทหารญี่ปุ่นได้ตั้งฐานบัญชาการขึ้นที่สะหวันะเขด กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรโดยนายพล ลอร์ดหลุยส์ เมาท์แบทเตน ผู้บัญชาการกองกำลังเอเชียตะวันออก ได้สั่งการให้เครื่องบิน บี-๒๙ ซึ่งเรียกว่า “ป้อมบินยักษ์” (Super-Fortress) เนื่องจากมีขนาดใหญ่ รัศมีการบินไกล บินจากอินเดียไปทิ้งระเบิดถล่มฐานทหารญี่ปุ่นที่ไซ่ง่อนและอีกหลายจุดในอินโดจีน และในต้นเดือนกุมภาพันธ์มีการตั้งฐานบัญชาการที่เชียงขวาง ช่วงนี้หน่วยเคมเปไต (Kempetai) ได้จัดส่งคนเข้าไปในพื้นที่ต่างๆของลาวในฐานะของการเป็นนักสำรวจแร่ธาตุและตัวแทนการค้าของบริษัทชิโอวะ ประจำเมืองหลวงพระบางและเมืองท่าแขก โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือรวบรวมข้อมูลทางด้านการเมือง-การทหารในลาว เพื่อวางแผนเตรียมการที่จะยึดครอง
วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๘ กองทหารญี่ปุ่นส่งกำลังเข้าไปในกรุงเวียงจันทน์เพื่อเตรียมบุกเข้ายึด เจ้าเพ็ดชะลาด ซึ่งไปราชการที่เวียงจันทน์ ได้นั่งรถยนต์มาถึงเมืองกาสี จากนั้นขี่ม้าไปทางบ้านม้งผาขมและเมืองน่าน เมื่อมาถึงหลวงพระบางได้แจ้งให้เจ้าชีวิตสีสว่างวงทราบ ช่วงนี้กองบินที่ ๑๔ (๑๔ th USAAF) ของสหรัฐอเมริกาได้ปฏิบัติการโจมตีทิ้งระเบิดที่ตั้งทางทหารของญี่ปุ่น สะพาน ถนนในพื้นที่อินโดจีน รวมทั้งจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ในกรุงเทพฯ
คืนวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๘ กองทหารญี่ปุ่นจากกองพันที่ ๑ ในสังกัดกองพลที่ ๒๘ ภายใต้การบังคับบัญชาของซาโกะ มาซาโนริ ได้เคลื่อนพลเข้ายึดกรุงเวียงจันทน์ กองทหารฝรั่งเศสหนีไปทางหลวงพระบาง นายพลตุรแก นำชาวฝรั่งเศสจากเวียดนามและเวียงจันทน์เดินทางหลบหนีทหารญี่ปุ่นเข้ามาอยู่ในหลวงพระบาง ก่อนจะหนีต่อไปทางด้านน้ำอู ภายใต้การช่วยเหลือของ อ้วน ราทิกุล เพื่อเข้าไปยังดินแดนของประเทศจีน อีกส่วนหนึ่งหนีข้ามแม่น้ำโขงมายังหนองคาย
ในการหลบหนีมายังหลวงพระบาง ได้มีการระเบิดสะพานไม้และสะพานเหล็กทิ้งตั้งแต่บ้านหินเหิบในเวียงจันทน์ไปจนถึงหลักกิโลเมตรที่ ๕ เมืองหลวงพระบาง รวมทั้งสิ้น ๒๙ แห่ง เพื่อมิให้กองทหารญี่ปุ่นติดตาม โบนามีข้าหลวงฝรั่งเศสประจำเมืองหลวงพระบางขอให้ช่วยจัดเรือและม้าให้ ดังนั้นเจ้าเพ็ดชะลาดจึงให้เจ้าสุวันนะพาลม พระอนุชาซึ่งเป็นเจ้าแขวงหลวงพระบางในช่วงเวลานั้น จัดการให้ตามประสงค์
ส่วนนายดี โฟเรล หัวหน้าฝ่ายโยธา ได้ระเบิดค่ายทหารธาตุอุโบสถหลวง สะพานข้ามน้ำคานที่ท่าผาบัง อาคารส่งวิทยุ ท่านลงเรือ และเรือยนต์ที่ท่าเรือเมล์อีก ๒ ลำ จากนั้นจะไประเบิดสำนักงานข้าหลวงฝรั่งเศสและบังกาโลที่พัก ทว่าเจ้าเพ็ดชะลาดห้ามไว้ด้วยเกรงว่าจะลุกรามไหม้บ้านเรือนราษฎร วัดธาตุ นายดี โฟเรล จึงระเบิดฉางของการโยธาแทน แล้วขึ้นเครื่องบินหนีไปทางด้านทิศเหนือ
กองพันที่ ๘๓ ของญี่ปุ่นได้เข้ายึดเมืองสะหวันนะเขด เมืองท่าแขกและส่งกองพลที่ ๔ เข้ายึดปากเซ จากนั้นในวันที่ ๑๒ มีนาคมก็เข้ายึดเมืองเซโปนและเมืองสาละวัน
ในช่วงที่กองทัพญี่ปุ่นเตรียมเคลื่อนพลมายึดเมืองหลวงพระบาง ไทโช วาตานาเบ้ กงสุลญี่ปุ่นประจำกรุงไซ่ง่อน เดินทางมาเข้าพบเจ้าเพ็ดชะลาดที่หลวงพระบางแจ้งว่า มีจดหมายจากเจ้าสุพานุวงมาถึงเจ้าเพ็ดชะลาด ช่วงนั้นเจ้าสุพานุวงทำงานกองทางในเวียดนาม ใจความในจดหมายมีว่า “เจ้าสุพานุวงจะร่วมมือกับญี่ปุ่นประกาศเอกราช” พร้อมกันนี้ก็บอกว่า ญีปุ่นจะให้เอกราชแก่ลาว
วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๘ เวลาประมาณ ๑๔.๐๐ น.กองกำลังทหารญี่ปุ่นเคลื่อนกำลังมาถึงบ้านหลวง ห่างจากตัวเมืองหลวงพระบาง ๑ กิโลเมตร เจ้าเพ็ดชะลาดสั่งให้เสนาบดี ๒ ท่าน พร้อมด้วยเจ้าแขวงและเจ้าเมืองออกไปเชิญให้กองทหารญี่ปุ่นเข้ามาโดยไม่มีการใช้กำลังต่อต้าน วันรุ่งขึ้นเวลา ๐๘.๐๐ น. มีการชักธงชาติญี่ปุ่นขึ้นสู่เสาแทนธงชาติของฝรั่งเศส เคียงคู่ธงล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง ที่หน้าหอคำ
การที่เจ้าเพ็ดชะลาดมิได้มุ่งที่จะฝากความหวังในการกู้ชาติไว้ที่กองทหารญี่ปุ่นแต่อย่างใด การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกองทหารญี่ปุ่นเป็นการพลิกสถานการณ์ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนลาวให้มากที่สุด โดยยืมมือกองทหารญี่ปุ่นที่เคลื่อนพลเข้ามายังเวียงจันทน์และหลวงพระบาง กดดันขับไล่กองทัพฝรั่งเศสให้ออกไปพ้นจากประเทศ
เจ้าเพ็ดชะลาดตะหนักดีว่า การเคลื่อนพลของกองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดเมืองหลวงพระบาง เมื่อที่ประทับของเจ้ามหาชีวิต รวมทั้งเวียงจันทน์และเมืองอื่นๆ เป็นการแสดงแสนยานุภาพทางทหารเพื่อขับไล่กองทหารฝรั่งเศสออกไปจากดินแดนลาว อีกทั้งญี่ปุ่นได้แผ่แสนยานุภาพทางทหารเข้ามาครอบครองดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อมุ่งแสวงหาความร่วมมือกับฝ่ายตนในการ “ร่วมวงไพบูลย์มหาเอเชียบูรพา” และร่วมกับมิตรประเทศทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร
ในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๘๘ กองทัพญี่ปุ่นได้ทะยอยเสริมกำลังทหารจากกองทัพภาคใต้ ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลเทรุอิชิ เข้ามาเพิ่มในอินโดจีน กำลังที่ส่งเข้ามานี้เป็นกำลังในสังกัดกองทัพที่ ๓๘ อันประกอบด้วยกองพลที่ ๒ กองพลที่ ๒๑ กองพลที่ ๒๒ และกองบินที่ ๕ โดยแยกเป็นกองกำลังทหารราบ ๓ กองพล และกองกำลังทางอากาศ ๑ กองบิน เพื่อขับไล่กองทหารฝรั่งเศสออกไปจากดินแดนภาคเหนือของลาว และยึดครองพื้นที่ในภาคเหนือของอินโดจีน
กำลังทหารญี่ปุ่นที่ยกพลขึ้นบกได้เดินทางเข้าไปยึดมลายูและสิงคโปร์ กำลังทหารภายใต้การนำของนายพลยามาชิตะ สามารถยึดมลายูและสิงคโปร์ไว้ได้ในที่สุด ส่วนกำลังทหารที่ยึดครองอินโดจีนได้รับคำสั่งให้เคลื่อนพลไปยึดครองสิบสองจุไท หน่วยที่ถูกไปนี้หากเปรียบเทียบกับหน่วยโมริ(หน่วยปฏิบัติการแบบกองโจร)ที่ปฏิบัติการในพม่า หน่วยนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่ามาก
ช่วงเดือนมกราคม กองทหารญี่ปุ่นได้ตั้งฐานบัญชาการขึ้นที่สะหวันะเขด กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรโดยนายพล ลอร์ดหลุยส์ เมาท์แบทเตน ผู้บัญชาการกองกำลังเอเชียตะวันออก ได้สั่งการให้เครื่องบิน บี-๒๙ ซึ่งเรียกว่า “ป้อมบินยักษ์” (Super-Fortress) เนื่องจากมีขนาดใหญ่ รัศมีการบินไกล บินจากอินเดียไปทิ้งระเบิดถล่มฐานทหารญี่ปุ่นที่ไซ่ง่อนและอีกหลายจุดในอินโดจีน และในต้นเดือนกุมภาพันธ์มีการตั้งฐานบัญชาการที่เชียงขวาง ช่วงนี้หน่วยเคมเปไต (Kempetai) ได้จัดส่งคนเข้าไปในพื้นที่ต่างๆของลาวในฐานะของการเป็นนักสำรวจแร่ธาตุและตัวแทนการค้าของบริษัทชิโอวะ ประจำเมืองหลวงพระบางและเมืองท่าแขก โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือรวบรวมข้อมูลทางด้านการเมือง-การทหารในลาว เพื่อวางแผนเตรียมการที่จะยึดครอง
วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๘ กองทหารญี่ปุ่นส่งกำลังเข้าไปในกรุงเวียงจันทน์เพื่อเตรียมบุกเข้ายึด เจ้าเพ็ดชะลาด ซึ่งไปราชการที่เวียงจันทน์ ได้นั่งรถยนต์มาถึงเมืองกาสี จากนั้นขี่ม้าไปทางบ้านม้งผาขมและเมืองน่าน เมื่อมาถึงหลวงพระบางได้แจ้งให้เจ้าชีวิตสีสว่างวงทราบ ช่วงนี้กองบินที่ ๑๔ (๑๔ th USAAF) ของสหรัฐอเมริกาได้ปฏิบัติการโจมตีทิ้งระเบิดที่ตั้งทางทหารของญี่ปุ่น สะพาน ถนนในพื้นที่อินโดจีน รวมทั้งจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ในกรุงเทพฯ
คืนวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๘ กองทหารญี่ปุ่นจากกองพันที่ ๑ ในสังกัดกองพลที่ ๒๘ ภายใต้การบังคับบัญชาของซาโกะ มาซาโนริ ได้เคลื่อนพลเข้ายึดกรุงเวียงจันทน์ กองทหารฝรั่งเศสหนีไปทางหลวงพระบาง นายพลตุรแก นำชาวฝรั่งเศสจากเวียดนามและเวียงจันทน์เดินทางหลบหนีทหารญี่ปุ่นเข้ามาอยู่ในหลวงพระบาง ก่อนจะหนีต่อไปทางด้านน้ำอู ภายใต้การช่วยเหลือของ อ้วน ราทิกุล เพื่อเข้าไปยังดินแดนของประเทศจีน อีกส่วนหนึ่งหนีข้ามแม่น้ำโขงมายังหนองคาย
ในการหลบหนีมายังหลวงพระบาง ได้มีการระเบิดสะพานไม้และสะพานเหล็กทิ้งตั้งแต่บ้านหินเหิบในเวียงจันทน์ไปจนถึงหลักกิโลเมตรที่ ๕ เมืองหลวงพระบาง รวมทั้งสิ้น ๒๙ แห่ง เพื่อมิให้กองทหารญี่ปุ่นติดตาม โบนามีข้าหลวงฝรั่งเศสประจำเมืองหลวงพระบางขอให้ช่วยจัดเรือและม้าให้ ดังนั้นเจ้าเพ็ดชะลาดจึงให้เจ้าสุวันนะพาลม พระอนุชาซึ่งเป็นเจ้าแขวงหลวงพระบางในช่วงเวลานั้น จัดการให้ตามประสงค์
ส่วนนายดี โฟเรล หัวหน้าฝ่ายโยธา ได้ระเบิดค่ายทหารธาตุอุโบสถหลวง สะพานข้ามน้ำคานที่ท่าผาบัง อาคารส่งวิทยุ ท่านลงเรือ และเรือยนต์ที่ท่าเรือเมล์อีก ๒ ลำ จากนั้นจะไประเบิดสำนักงานข้าหลวงฝรั่งเศสและบังกาโลที่พัก ทว่าเจ้าเพ็ดชะลาดห้ามไว้ด้วยเกรงว่าจะลุกรามไหม้บ้านเรือนราษฎร วัดธาตุ นายดี โฟเรล จึงระเบิดฉางของการโยธาแทน แล้วขึ้นเครื่องบินหนีไปทางด้านทิศเหนือ
กองพันที่ ๘๓ ของญี่ปุ่นได้เข้ายึดเมืองสะหวันนะเขด เมืองท่าแขกและส่งกองพลที่ ๔ เข้ายึดปากเซ จากนั้นในวันที่ ๑๒ มีนาคมก็เข้ายึดเมืองเซโปนและเมืองสาละวัน
ในช่วงที่กองทัพญี่ปุ่นเตรียมเคลื่อนพลมายึดเมืองหลวงพระบาง ไทโช วาตานาเบ้ กงสุลญี่ปุ่นประจำกรุงไซ่ง่อน เดินทางมาเข้าพบเจ้าเพ็ดชะลาดที่หลวงพระบางแจ้งว่า มีจดหมายจากเจ้าสุพานุวงมาถึงเจ้าเพ็ดชะลาด ช่วงนั้นเจ้าสุพานุวงทำงานกองทางในเวียดนาม ใจความในจดหมายมีว่า “เจ้าสุพานุวงจะร่วมมือกับญี่ปุ่นประกาศเอกราช” พร้อมกันนี้ก็บอกว่า ญีปุ่นจะให้เอกราชแก่ลาว
วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๘ เวลาประมาณ ๑๔.๐๐ น.กองกำลังทหารญี่ปุ่นเคลื่อนกำลังมาถึงบ้านหลวง ห่างจากตัวเมืองหลวงพระบาง ๑ กิโลเมตร เจ้าเพ็ดชะลาดสั่งให้เสนาบดี ๒ ท่าน พร้อมด้วยเจ้าแขวงและเจ้าเมืองออกไปเชิญให้กองทหารญี่ปุ่นเข้ามาโดยไม่มีการใช้กำลังต่อต้าน วันรุ่งขึ้นเวลา ๐๘.๐๐ น. มีการชักธงชาติญี่ปุ่นขึ้นสู่เสาแทนธงชาติของฝรั่งเศส เคียงคู่ธงล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง ที่หน้าหอคำ
การที่เจ้าเพ็ดชะลาดมิได้มุ่งที่จะฝากความหวังในการกู้ชาติไว้ที่กองทหารญี่ปุ่นแต่อย่างใด การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกองทหารญี่ปุ่นเป็นการพลิกสถานการณ์ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนลาวให้มากที่สุด โดยยืมมือกองทหารญี่ปุ่นที่เคลื่อนพลเข้ามายังเวียงจันทน์และหลวงพระบาง กดดันขับไล่กองทัพฝรั่งเศสให้ออกไปพ้นจากประเทศ
เจ้าเพ็ดชะลาดตะหนักดีว่า การเคลื่อนพลของกองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดเมืองหลวงพระบาง เมื่อที่ประทับของเจ้ามหาชีวิต รวมทั้งเวียงจันทน์และเมืองอื่นๆ เป็นการแสดงแสนยานุภาพทางทหารเพื่อขับไล่กองทหารฝรั่งเศสออกไปจากดินแดนลาว อีกทั้งญี่ปุ่นได้แผ่แสนยานุภาพทางทหารเข้ามาครอบครองดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อมุ่งแสวงหาความร่วมมือกับฝ่ายตนในการ “ร่วมวงไพบูลย์มหาเอเชียบูรพา” และร่วมกับมิตรประเทศทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร
สำหรับเป้าหมายการยึดครองของกองทัพญี่ปุ่นมิใช่มีเพียงแค่จีน พม่า สิงคโปร์ หรือมาเลเซียที่เป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงเวียดนาม ลาว กัมพูชา ซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ฟิลิปปินส์อาณานิคมของสหรัฐอเมริกา และอินโดนีเซียอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่ญี่ปุ่นใช้ยุทธวิธีขุดบ่อล่อปลา โหมโฆษณาชวนเชื่อในเรื่องการปลดปล่อยประเทศให้เป็นเอกราช โดยประกาศว่า จะสนับสนุนช่วยเหลือให้ประเทศอาณานิคมในอินโดจีนที่เข้าร่วมวงไพบูลย์มหาเอเชียบูรพาได้รับเอกราช มีอธิปไตย และมีอิสรภาพอย่างแท้จริง โดยมุ่งเน้นชูคำขวัญ “เอเชียเพื่อคนเอเชีย”
No comments:
Post a Comment