การครองโลกของสหรัฐอเมริกา ตอนที่ ๒
ในการทำรัฐประหารของทหารครั้งนั้น มีการจัดกำลังทหารไปจับกุมบุคคลสำคัญของรัฐบาล ๓ สายด้วยกัน สายแรกคือทำเนียบท่าช้าง ซึ่งเป็นสถานที่พำนักของนายปรีดี พนมยงค์ พันโท ก้าน จำนงภูมิเวท ได้ออกคำสั่งให้ทหารยิงปืนประจำรถถังใส่ทำเนียบท่าช้าง และให้รถวิ่งเข้าทำลายประตู ทว่านายปรีดีฯได้หลบหนีออกไปก่อนแล้ว สายที่สองไปที่บ้านของพลเรือตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ที่ถนนราชวิถี ข้างสวนจิตรลดา แต่ว่าไม่พบตัว สายที่สามคือบ้านของพลเรือตรีสังวร สุวรรณชีพ อธิบดีกรมตำรวจ ทว่าได้หลบหนีไปอยู่ในอารักขาของทหารเรือที่บางนา
เหตุการณ์ในครั้งนั้น ดุษฎี พนมยงค์ ได้บันทึกไว้ว่า
“คณะรัฐประหารที่นำโดยพลโทผิน ชุณหวัณ ได้สั่งการให้พันโท ละม้าย อุทยานนท์ นำขบวนรถถังบุกมาที่ทำเนียบท่าช้างและยิงถล่มไปที่เป้าหมายคือห้องนอนของนายปรีดีฯ กระสุนปืนหลายนัดเจาะทะลวงตึก รอยกระสุนใหญ่ขนาดนกกระจอกมาทำรังในเวลาต่อมา แต่ไม่มีกระสุนนัดใดยิงถูกห้องนอนของนายปรีดีฯเลย.. ทำเนียบท่าช้างที่เราอาศัยอยู่มี ๓ ชั้น คุณพ่อและคุณแม่นอนอยู่ชั้น ๓ ด้านติดกับห้องพระ ส่วนลูกๆ นอนอยู่อีกด้านหนึ่ง คืนนั้นพอเขายิงปืนเข้ามา คุณแม่ก็มาอยู่ที่ห้องลูกๆ ดิฉันจำได้แม่นว่า คุณแม่ร้องตะโกนสวนออกไปว่า อย่ายิง อย่ายิง ที่นี่มีแต่ผู้หญิงกับเด็ก.. เป็นการทำสงครามโดยไม่มีการประกาศให้ทราบ และฝ่ายที่ถูกประหัตประหารคือผู้หญิงและเด็กๆ ที่มีแต่มือเปล่าปราศจากอาวุธ นี่เขาเล่นหวังชีวิตเลย เป็นการกระทำที่โหดเหี้ยมยิ่งกว่าสงครามที่มีการประกาศ...สายวันนั้น ร้อยเอก สมบูรณ์ ชุณหวัณ(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นชาติชาย)ได้นำกำลังทหารพร้อมรถถังบุกเข้าทำเนียบท่าช้างทางประตูหน้า และพยายามที่จะตรวจค้นบ้าน ครูฉลบฉลัยย์ พลางกูร ภรรยาของคุณจำกัด พลางกูร เสรีไทยที่ได้พลีชีพเพื่อชาติที่ประเทศจีน ซึ่งอยู่ในที่นั้นด้วย ได้เข้าไปเอะอะห้ามปรามอย่างกล้าหาญโดยไม่เกรงกลัวกระบอกปืนเลย...”(ดุษฎี พนมยงค์ ๒๕๔๑:๑๙-๒๑)
เพื่อสร้างความชอบธรรมในการทำรัฐประหาร ฝ่ายทหารได้ออกแถลงการณ์โจมมีรัฐบาลว่า ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้ และมีการทุจริตคอรัปชั่น จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้นำคณะรัฐประหารได้เปิดเจรจากับนายควง อภัยวงศ์ และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และเห็นควรให้นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากนั้นคณะรัฐประหารได้มีคำสั่งยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๙ ที่ประกาศใช้ในสมัยรัฐบาลปรีดี พนมยงค์ แล้วบังคับใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวที่เรียกว่า “รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม” ซึ่งพลโท หลวงกาจ กาจสงคราม ร่างขึ้นแทน
ก่อนหน้าที่จะลงมือกระทำรัฐประหาร ฝ่ายทหารได้วางแผนปฏิบัติการทางจิตวิทยา ปลุกเร้าทหารในสังกัดกองทัพบกทั้งในและนอกประจำการโดยยกกรณีการออกคำสั่งปลดทหารในกองทัพพายัพที่เข้าไปปฏิบัติภารกิจในรัฐฉานหรือ “สหรัฐไทเดิม” ช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ และให้ทหารเหล่านั้นเดินเท้ากลับจากเชียงตุงมาถึงกรุงเทพฯ
สำหรับคณะนายทหารประจำการของกองทัพบกที่เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจภาคสนามในเชียงตุง ในช่วงเวลานั้น พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ท.ถนอม กิติตขจร พ.ท.ประภาส จารุเสถียร พ.ท.กฤช ปุญญกันต์ พ.ต.พงษ์ ปุณณกันต์ พ.ท.บัญญัติ เทพหัสดินทร์ ณ อยุธยา พ.ต.ประมาณ อดิเรกสาร พ.ต.จิตต์ สุนทานนท์ พ.ต.ผาด ตุงคสมิต ร.อ.สมบูรณ์ ชุณหวัณ (ชาติชาย)และ ร.อ.อนันต์ พิบูลสงคราม ฯลฯ
เป็นหมายหลักของการโฆษณาชวนเชื่อดังกล่าว มุ่งโจมตีนายปรีดี พนมยงค์ โดยตรงว่าหมิ่นศักดิ์ศรีกองทัพบก และในช่วงต่อมานายปรีดี ได้มีจดหมายชี้แจงไปยัง่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ดังมีใจความตอนหนึ่งว่า
“รัฐบาลก่อนที่ผมเป็นนายกรัฐมนตรี มิได้ปล่อยให้ทหารที่เกณฑ์มาสำหรับทำสงครามอยู่เฉยๆ คือรัฐบาลก่อนนั้นได้ทำการปลดทหารที่เกณฑ์ไปทำสงครามนั้นแล้ว และขอได้โปรดสังเกตุด้วยว่า ระยะเวลา ๖ เดือนก่อนผมเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ก็เป็นเวลานานพอสำหรับรัฐบาลก่อนที่จะทำการปลดทหารเหล่านั้น”
รัฐบาลก่อนหน้านั้นคือรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ซึ่งลาออกเนื่องจากแพ้มติที่ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาวะคับขัน และต่อมาได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์ ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีแทนในวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙
หลังจากมีการทำรัฐประหารแล้ว การปฏิบัติการด้านจิตวิทยาของกองทัพบกยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง มีการกล่าวหาจากทหารในกองทัพบกและจากฝ่ายแนวคิดสายอนุรักษ์นิยมว่า “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” เป็นองค์กรสันนิบาติคอมมิวนิสต์ในเอเซียอาคเนย์ การพุ่งเป้าโจมตีใส่ร้ายป้ายสีดังกล่าว ยังผลให้ “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” ที่ก่อตั้งขึ้นโดยปรีดี พนมยงค์ โฮจิมินห์ และเจ้าอุปราชเพ็ดชะลาด มีอันต้องลดบทบาทและยุบเลิกไปโดยปริยาย
หลังจากนั้น มีการจับกุมบรรดาผู้นำขบวนการเสรีไทยสายอีสาน อันได้แก่นายเตียง ศิริขันธ์ นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาวเรือง นายทองอินทร์ ภูริทัต นายทองเปลว ชลภูมิ และคนอื่นๆในข้อหากระทำการแบ่งแยกดินแดนอีสานให้เป็นอิสระ
สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับสมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์ เมื่อนายปรีดี พนมยงค์ ย้ายจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมาพำนักในกรุงปารีสได้สองปี ได้เขียนหนังสือ MA VIE MOUVEMENTEE ET MES 21 AND D’ EXIL EN CHINE POPULAIRE พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงปารีสเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ และจำนงค์ ภาควรวุฒิ-พรทิพย์ โตใหญ่ ได้แปลเป็นภาษาไทยในชื่อ “ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า และ ๒๑ ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน” กล่าวถึงชีวประวัติช่วงที่ศึกษาอยู่ในฝรั่งเศสและที่มาแห่งการก่อตั้ง “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” ไว้ว่า
เหตุการณ์ในครั้งนั้น ดุษฎี พนมยงค์ ได้บันทึกไว้ว่า
“คณะรัฐประหารที่นำโดยพลโทผิน ชุณหวัณ ได้สั่งการให้พันโท ละม้าย อุทยานนท์ นำขบวนรถถังบุกมาที่ทำเนียบท่าช้างและยิงถล่มไปที่เป้าหมายคือห้องนอนของนายปรีดีฯ กระสุนปืนหลายนัดเจาะทะลวงตึก รอยกระสุนใหญ่ขนาดนกกระจอกมาทำรังในเวลาต่อมา แต่ไม่มีกระสุนนัดใดยิงถูกห้องนอนของนายปรีดีฯเลย.. ทำเนียบท่าช้างที่เราอาศัยอยู่มี ๓ ชั้น คุณพ่อและคุณแม่นอนอยู่ชั้น ๓ ด้านติดกับห้องพระ ส่วนลูกๆ นอนอยู่อีกด้านหนึ่ง คืนนั้นพอเขายิงปืนเข้ามา คุณแม่ก็มาอยู่ที่ห้องลูกๆ ดิฉันจำได้แม่นว่า คุณแม่ร้องตะโกนสวนออกไปว่า อย่ายิง อย่ายิง ที่นี่มีแต่ผู้หญิงกับเด็ก.. เป็นการทำสงครามโดยไม่มีการประกาศให้ทราบ และฝ่ายที่ถูกประหัตประหารคือผู้หญิงและเด็กๆ ที่มีแต่มือเปล่าปราศจากอาวุธ นี่เขาเล่นหวังชีวิตเลย เป็นการกระทำที่โหดเหี้ยมยิ่งกว่าสงครามที่มีการประกาศ...สายวันนั้น ร้อยเอก สมบูรณ์ ชุณหวัณ(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นชาติชาย)ได้นำกำลังทหารพร้อมรถถังบุกเข้าทำเนียบท่าช้างทางประตูหน้า และพยายามที่จะตรวจค้นบ้าน ครูฉลบฉลัยย์ พลางกูร ภรรยาของคุณจำกัด พลางกูร เสรีไทยที่ได้พลีชีพเพื่อชาติที่ประเทศจีน ซึ่งอยู่ในที่นั้นด้วย ได้เข้าไปเอะอะห้ามปรามอย่างกล้าหาญโดยไม่เกรงกลัวกระบอกปืนเลย...”(ดุษฎี พนมยงค์ ๒๕๔๑:๑๙-๒๑)
เพื่อสร้างความชอบธรรมในการทำรัฐประหาร ฝ่ายทหารได้ออกแถลงการณ์โจมมีรัฐบาลว่า ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้ และมีการทุจริตคอรัปชั่น จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้นำคณะรัฐประหารได้เปิดเจรจากับนายควง อภัยวงศ์ และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และเห็นควรให้นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากนั้นคณะรัฐประหารได้มีคำสั่งยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๙ ที่ประกาศใช้ในสมัยรัฐบาลปรีดี พนมยงค์ แล้วบังคับใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวที่เรียกว่า “รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม” ซึ่งพลโท หลวงกาจ กาจสงคราม ร่างขึ้นแทน
ก่อนหน้าที่จะลงมือกระทำรัฐประหาร ฝ่ายทหารได้วางแผนปฏิบัติการทางจิตวิทยา ปลุกเร้าทหารในสังกัดกองทัพบกทั้งในและนอกประจำการโดยยกกรณีการออกคำสั่งปลดทหารในกองทัพพายัพที่เข้าไปปฏิบัติภารกิจในรัฐฉานหรือ “สหรัฐไทเดิม” ช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ และให้ทหารเหล่านั้นเดินเท้ากลับจากเชียงตุงมาถึงกรุงเทพฯ
สำหรับคณะนายทหารประจำการของกองทัพบกที่เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจภาคสนามในเชียงตุง ในช่วงเวลานั้น พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ท.ถนอม กิติตขจร พ.ท.ประภาส จารุเสถียร พ.ท.กฤช ปุญญกันต์ พ.ต.พงษ์ ปุณณกันต์ พ.ท.บัญญัติ เทพหัสดินทร์ ณ อยุธยา พ.ต.ประมาณ อดิเรกสาร พ.ต.จิตต์ สุนทานนท์ พ.ต.ผาด ตุงคสมิต ร.อ.สมบูรณ์ ชุณหวัณ (ชาติชาย)และ ร.อ.อนันต์ พิบูลสงคราม ฯลฯ
เป็นหมายหลักของการโฆษณาชวนเชื่อดังกล่าว มุ่งโจมตีนายปรีดี พนมยงค์ โดยตรงว่าหมิ่นศักดิ์ศรีกองทัพบก และในช่วงต่อมานายปรีดี ได้มีจดหมายชี้แจงไปยัง่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ดังมีใจความตอนหนึ่งว่า
“รัฐบาลก่อนที่ผมเป็นนายกรัฐมนตรี มิได้ปล่อยให้ทหารที่เกณฑ์มาสำหรับทำสงครามอยู่เฉยๆ คือรัฐบาลก่อนนั้นได้ทำการปลดทหารที่เกณฑ์ไปทำสงครามนั้นแล้ว และขอได้โปรดสังเกตุด้วยว่า ระยะเวลา ๖ เดือนก่อนผมเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ก็เป็นเวลานานพอสำหรับรัฐบาลก่อนที่จะทำการปลดทหารเหล่านั้น”
รัฐบาลก่อนหน้านั้นคือรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ซึ่งลาออกเนื่องจากแพ้มติที่ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาวะคับขัน และต่อมาได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์ ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีแทนในวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙
หลังจากมีการทำรัฐประหารแล้ว การปฏิบัติการด้านจิตวิทยาของกองทัพบกยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง มีการกล่าวหาจากทหารในกองทัพบกและจากฝ่ายแนวคิดสายอนุรักษ์นิยมว่า “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” เป็นองค์กรสันนิบาติคอมมิวนิสต์ในเอเซียอาคเนย์ การพุ่งเป้าโจมตีใส่ร้ายป้ายสีดังกล่าว ยังผลให้ “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” ที่ก่อตั้งขึ้นโดยปรีดี พนมยงค์ โฮจิมินห์ และเจ้าอุปราชเพ็ดชะลาด มีอันต้องลดบทบาทและยุบเลิกไปโดยปริยาย
หลังจากนั้น มีการจับกุมบรรดาผู้นำขบวนการเสรีไทยสายอีสาน อันได้แก่นายเตียง ศิริขันธ์ นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาวเรือง นายทองอินทร์ ภูริทัต นายทองเปลว ชลภูมิ และคนอื่นๆในข้อหากระทำการแบ่งแยกดินแดนอีสานให้เป็นอิสระ
สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับสมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์ เมื่อนายปรีดี พนมยงค์ ย้ายจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมาพำนักในกรุงปารีสได้สองปี ได้เขียนหนังสือ MA VIE MOUVEMENTEE ET MES 21 AND D’ EXIL EN CHINE POPULAIRE พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงปารีสเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ และจำนงค์ ภาควรวุฒิ-พรทิพย์ โตใหญ่ ได้แปลเป็นภาษาไทยในชื่อ “ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า และ ๒๑ ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน” กล่าวถึงชีวประวัติช่วงที่ศึกษาอยู่ในฝรั่งเศสและที่มาแห่งการก่อตั้ง “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” ไว้ว่า
No comments:
Post a Comment