ท่านปรีดี พนมยงค์กับขบวนกู้เอกราชในลาว ตอน ขบวนการชาตินิยม (จบ)
นอกเหนือจากการดำเนินความพยายามเรียกร้องเอกราชอย่างสันติ โดยยื่นเอกสารขอการรับรองความเป็นเอกราชของลาวต่อผู้แทนฝ่ายสัมพันธมิตร คือ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และไทยแล้ว ยังมีการจัดตั้งกองทหารขึ้นมากองหนึ่ง โดยรวบรวมอาวุธของทหารญี่ปุ่นทิ้งไว้หลังประกาศยอมจำนนและเดินทางกลับประเทศ กองทหารนี้มีพันตรี สิง รัตนะสมัย เป็นผู้บังคับบัญชา
ต่อมามีการเปลี่ยนตัวเอกอัคราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย จากนายเอ็ด.เอ็ฟ.แสตนตัน มาเป็นนายโดโนแวน เจ้าเพ็ดชะลาดได้ส่งเจ้าสุพานุวงเดินทางเข้ามาติดต่อขอให้เป็นคนกลางเจรจากับฝรั่งเศสอีกครั้ง โดยมีพันเอก เวอร์จิเนีย ทอมสัน ทูตทหารอเมริกันเป็นผู้ช่วยเหลือ ต่อมาพันเอก เวอร์จิเนีย ทอมสัน ถูกปลอดและมีการแต่งตั้งพันเอก ลอว์มารับหน้าที่แทน
เจ้าอุปราชเพ็ดชะบาด พยายามดำเนินการเรียกร้องเอกราชด้วยวิธีเจรจาอย่างสันติวิธี ทว่าความพยายามดังกล่าวไม่เป็นผล แม้จะพยายามอยู่หลายครั้งแต่ก็ไม่มีความคืบหน้าใดๆ ความพยายามที่ล้มเหลวอยู่ครั้งแล้วครั้งเล่านี้ ทางฝ่ายลาวได้สรุปว่า เป็นผลจากสหรับอเมริกาเกรงใจฝรั่งเศสที่ร่วมรบด้วยกันในนามฝ่ายสัมพันธมิตร
ภายหลัง “คณะลาวอิสระ” สิ้นหวังจากการให้สหรัฐอเมริกาเป็นคนกลางในการเจรจาขอเอกราชจากฝรั่งเศส ก็ได้เปิดประชุมวางแนวทางการประกาศเอกาชและจัดตั้งรัฐบาลขึ้นบริหารประเทศ ที่ประชุมมีความเห็นต้องกันว่า ในการประกาศเอกราชนั้นต้องมีกฎหมายรัฐธรรมนูญสำหรับใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้น หลังมีการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อย “คณะลาวอิสระ” ได้เข้าพบเจ้าเพ็ดชะลาด เสนอแผนการและข้อตกลงของคณะ พร้อมเสนอให้เจ้าเพ็ดชะลาดประกาศยุบรัฐบาลอาณาจักรหลวงพระบางเสีย แล้วจัดตั้งรัฐบาลใหม่ให้เป็นรัฐบาลของประชาชนลาวทั้งประเทศ เป็นรัฐบาลที่มีอิสระ ไม่อยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมอารักขาของชาติใดๆ
เจ้าเพ็ดชะลาดเห็นพ้องด้วย แต่ขอให้ดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน คือในขั้นต้นให้ประกาศรวมดินแดนที่ฝรั่งเศสแบ่งออกเป็นสองเขตปกครอง คือเขตเหนือที่มีหลวงพระบางเนเมืองหลวง และเขตใต้ที่มีเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงให้มารวมกันเป็นอาณาจักรเดียวที่มีเอกภาพ พร้อมถามความเห็นไปยังเจ้าแขวงในภาคใต้ทั้งสี่แขวง คือ สะหวันนะเขด สาละวัน คำม่วน และจำปาสักว่าเห็นพ้องด้วยหรือไม่ พร้อมกันนี้ให้โทรเลขไปปรึกษาหารือกับเจ้าชีวิตสีสว่างวง
จากประสบการณ์ทำงานให้อณานิคมฝรั่งเศสมายาวนาน เจ้าเพ็ดชะลาดตระหนักดีถึงกลวิธีแบ่งแยกแล้วปกครองที่อาณานิคมฝรั่งเศสนำมาใช้ในการปกครองลาว จึงดำเนินการรวบรวมดินแดนลาวที่ถูกฝรั่งเศสแบ่งแยกเข้าด้วยกันให้เป็นเอกภาพ ทั้งนี้โดยถือว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการแสดงถึงความรักชาติเป็นความชอบธรรมที่ผู้มีตำแหน่งเป็นเจ้ามหาอุปราชและนายกรัฐมนตรีสามารถกระทำได้ เจ้าชีวิตจะถือว่าเป็นขบถหรือขัดต่อพระบรมราชโองการไม่ได้
ช่วงนั้นแนวคิดชาตินิยมในลาวได้แพร่ออกไปอย่างกว้างขวางทั่วทั้งประเทศ ศูนย์กลางอำนาจของ “คณะลาวอิสระ” มีฐานอยู่ทั้งที่หลวงพระบาง เวียงจันทน์ สะหวันนะเขด และท่าแขก ความมุ่งมั่นในการรวบรวมราชอาณาจักรลาวให้เป็นหนึ่งเดีวกันและการประกาศเอกราชไม่อยู่ภายใต้อาณํติของชาติอื่นของเจ้าเพ็ดชะลาด ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลราชอาณาจักรหลวงพระบาง ภายใต้การร่วมมืออย่างแข็งแรงแข็งขันของ “คณะลาวอิสระ” ก่อให้เกิดความขัดเคือง และนำไปสู่การขัดแย้งอย่างรุนแรงกับชีวิตสว่างวง ทั้งในด้านความคิดและแนวทัศนะทางการเมือง
ความพยายามประการแรกของเจ้าเพ็ดชะลาดในการที่จะประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสก็คือ การรวมชาติให้เป็นเอกภาพ และได้มอบหมายให้โง่น ชะนะนิกอน ไปขอความคิดเห็นจากเจ้าแขวงภาคใต้ เมื่อได้รับคำตอบครบแล้ว ในวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๘ เจ้าเพ็ดชะลาดจึงได้ออกประกาศในนามของตำแหน่งมหาอุปราชและนายกรัฐมนตรี ผนวกดินแดนแขวงภาคใต้ให้เป็นหนึ่งเดียวกับราชอาณาจักรหลวงพระบาง จากนั้นโทรเลขแจ้งให้เจ้าชีวิตสีสว่างวงทราบ
ก่อนหน้านั้น เจ้าเพ็ดชะลาดได้ประชุมสอบถามความเห็ฯในเรื่องการรวมชาติจากเจ้าแขวงทางภาคใต้มาแล้วหลายท่าน อาทิ พญาคำม้าว วิไลเจ้าแขวงเวียงจันทน์,พญาโพทิทัตเจ้าแขวงสะหวันนะเขด,พญาคำบัว มากคำผิวเจ้าแขวงอัตตะปือ และอ่อน วงวงส์เจ้าเมืองปากเซแขวงจำปาสัก ซึ่งทุกคนล้วนต่างมีความเห็นร่วมกันเป็ฯเอกฉันท์ในอันที่จะรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน
ต่อมาเจ้าเพ็ดชะลาดได้ให้โง่น ชะนะนิกอน เดินทางไปติดต่อเจ้าแขวงภาคใต้ทั้งสี่แขวง เพื่อโหวตเสียงประชาชนของแขวงเหล่านั้นว่ายินดีจะเข้ามาร่วมอยู่ในอาณาจักรหลวงพระบางหรือไม่ หรือจะอยู่กับฝรั่งเศสตามเดิม ผลการโหวตเสียงแสดงว่า ประชาชนลาวมีความต้องการที่จะรวมราชอาณาจักรลาวให้เป็นเอกภาพเป็นหนึ่งเดียว
ในการดำเนินการกู้เอกราชจากฝรั่งเศสในช่วงแรกนี้ มิได้มีจุดมุ่งหมายจะทำลายล้างฝรั่งเศสในลาวให้พ่ายแพ้ราบคาบแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการให้ฝรั่งเศสคือเอกราชแก่ลาวโดยสันติ
ต่อมามีการเปลี่ยนตัวเอกอัคราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย จากนายเอ็ด.เอ็ฟ.แสตนตัน มาเป็นนายโดโนแวน เจ้าเพ็ดชะลาดได้ส่งเจ้าสุพานุวงเดินทางเข้ามาติดต่อขอให้เป็นคนกลางเจรจากับฝรั่งเศสอีกครั้ง โดยมีพันเอก เวอร์จิเนีย ทอมสัน ทูตทหารอเมริกันเป็นผู้ช่วยเหลือ ต่อมาพันเอก เวอร์จิเนีย ทอมสัน ถูกปลอดและมีการแต่งตั้งพันเอก ลอว์มารับหน้าที่แทน
เจ้าอุปราชเพ็ดชะบาด พยายามดำเนินการเรียกร้องเอกราชด้วยวิธีเจรจาอย่างสันติวิธี ทว่าความพยายามดังกล่าวไม่เป็นผล แม้จะพยายามอยู่หลายครั้งแต่ก็ไม่มีความคืบหน้าใดๆ ความพยายามที่ล้มเหลวอยู่ครั้งแล้วครั้งเล่านี้ ทางฝ่ายลาวได้สรุปว่า เป็นผลจากสหรับอเมริกาเกรงใจฝรั่งเศสที่ร่วมรบด้วยกันในนามฝ่ายสัมพันธมิตร
ภายหลัง “คณะลาวอิสระ” สิ้นหวังจากการให้สหรัฐอเมริกาเป็นคนกลางในการเจรจาขอเอกราชจากฝรั่งเศส ก็ได้เปิดประชุมวางแนวทางการประกาศเอกาชและจัดตั้งรัฐบาลขึ้นบริหารประเทศ ที่ประชุมมีความเห็นต้องกันว่า ในการประกาศเอกราชนั้นต้องมีกฎหมายรัฐธรรมนูญสำหรับใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้น หลังมีการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อย “คณะลาวอิสระ” ได้เข้าพบเจ้าเพ็ดชะลาด เสนอแผนการและข้อตกลงของคณะ พร้อมเสนอให้เจ้าเพ็ดชะลาดประกาศยุบรัฐบาลอาณาจักรหลวงพระบางเสีย แล้วจัดตั้งรัฐบาลใหม่ให้เป็นรัฐบาลของประชาชนลาวทั้งประเทศ เป็นรัฐบาลที่มีอิสระ ไม่อยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมอารักขาของชาติใดๆ
เจ้าเพ็ดชะลาดเห็นพ้องด้วย แต่ขอให้ดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน คือในขั้นต้นให้ประกาศรวมดินแดนที่ฝรั่งเศสแบ่งออกเป็นสองเขตปกครอง คือเขตเหนือที่มีหลวงพระบางเนเมืองหลวง และเขตใต้ที่มีเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงให้มารวมกันเป็นอาณาจักรเดียวที่มีเอกภาพ พร้อมถามความเห็นไปยังเจ้าแขวงในภาคใต้ทั้งสี่แขวง คือ สะหวันนะเขด สาละวัน คำม่วน และจำปาสักว่าเห็นพ้องด้วยหรือไม่ พร้อมกันนี้ให้โทรเลขไปปรึกษาหารือกับเจ้าชีวิตสีสว่างวง
จากประสบการณ์ทำงานให้อณานิคมฝรั่งเศสมายาวนาน เจ้าเพ็ดชะลาดตระหนักดีถึงกลวิธีแบ่งแยกแล้วปกครองที่อาณานิคมฝรั่งเศสนำมาใช้ในการปกครองลาว จึงดำเนินการรวบรวมดินแดนลาวที่ถูกฝรั่งเศสแบ่งแยกเข้าด้วยกันให้เป็นเอกภาพ ทั้งนี้โดยถือว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการแสดงถึงความรักชาติเป็นความชอบธรรมที่ผู้มีตำแหน่งเป็นเจ้ามหาอุปราชและนายกรัฐมนตรีสามารถกระทำได้ เจ้าชีวิตจะถือว่าเป็นขบถหรือขัดต่อพระบรมราชโองการไม่ได้
ช่วงนั้นแนวคิดชาตินิยมในลาวได้แพร่ออกไปอย่างกว้างขวางทั่วทั้งประเทศ ศูนย์กลางอำนาจของ “คณะลาวอิสระ” มีฐานอยู่ทั้งที่หลวงพระบาง เวียงจันทน์ สะหวันนะเขด และท่าแขก ความมุ่งมั่นในการรวบรวมราชอาณาจักรลาวให้เป็นหนึ่งเดีวกันและการประกาศเอกราชไม่อยู่ภายใต้อาณํติของชาติอื่นของเจ้าเพ็ดชะลาด ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลราชอาณาจักรหลวงพระบาง ภายใต้การร่วมมืออย่างแข็งแรงแข็งขันของ “คณะลาวอิสระ” ก่อให้เกิดความขัดเคือง และนำไปสู่การขัดแย้งอย่างรุนแรงกับชีวิตสว่างวง ทั้งในด้านความคิดและแนวทัศนะทางการเมือง
ความพยายามประการแรกของเจ้าเพ็ดชะลาดในการที่จะประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสก็คือ การรวมชาติให้เป็นเอกภาพ และได้มอบหมายให้โง่น ชะนะนิกอน ไปขอความคิดเห็นจากเจ้าแขวงภาคใต้ เมื่อได้รับคำตอบครบแล้ว ในวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๘ เจ้าเพ็ดชะลาดจึงได้ออกประกาศในนามของตำแหน่งมหาอุปราชและนายกรัฐมนตรี ผนวกดินแดนแขวงภาคใต้ให้เป็นหนึ่งเดียวกับราชอาณาจักรหลวงพระบาง จากนั้นโทรเลขแจ้งให้เจ้าชีวิตสีสว่างวงทราบ
ก่อนหน้านั้น เจ้าเพ็ดชะลาดได้ประชุมสอบถามความเห็ฯในเรื่องการรวมชาติจากเจ้าแขวงทางภาคใต้มาแล้วหลายท่าน อาทิ พญาคำม้าว วิไลเจ้าแขวงเวียงจันทน์,พญาโพทิทัตเจ้าแขวงสะหวันนะเขด,พญาคำบัว มากคำผิวเจ้าแขวงอัตตะปือ และอ่อน วงวงส์เจ้าเมืองปากเซแขวงจำปาสัก ซึ่งทุกคนล้วนต่างมีความเห็นร่วมกันเป็ฯเอกฉันท์ในอันที่จะรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน
ต่อมาเจ้าเพ็ดชะลาดได้ให้โง่น ชะนะนิกอน เดินทางไปติดต่อเจ้าแขวงภาคใต้ทั้งสี่แขวง เพื่อโหวตเสียงประชาชนของแขวงเหล่านั้นว่ายินดีจะเข้ามาร่วมอยู่ในอาณาจักรหลวงพระบางหรือไม่ หรือจะอยู่กับฝรั่งเศสตามเดิม ผลการโหวตเสียงแสดงว่า ประชาชนลาวมีความต้องการที่จะรวมราชอาณาจักรลาวให้เป็นเอกภาพเป็นหนึ่งเดียว
ในการดำเนินการกู้เอกราชจากฝรั่งเศสในช่วงแรกนี้ มิได้มีจุดมุ่งหมายจะทำลายล้างฝรั่งเศสในลาวให้พ่ายแพ้ราบคาบแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการให้ฝรั่งเศสคือเอกราชแก่ลาวโดยสันติ
No comments:
Post a Comment