สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์ ตอนที่ ๒ (จบ)
นอกเหนือจากอาวุธยุทโธปกรณ์ที่หน่วยบริการทางยุทธศาสตร์ของกองทัพสหรัฐอเมริกา (OSS)มอบให้ขบวนการเสรีไทย และนายปรีดี พนมยงค์ได้จัดส่วนหนึ่งส่งไปช่วยโฮจิมินห์ในการตั้งกองกำลังกู้ชาติจากการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสแล้ว หน่วยงาน โอ.เอส.เอส.ยังได้ให้ความช่วยเหลือด้านอาวุธยุทโธปกรณ์แก่ขบวนการพันธมิตรเพื่อเอกราชของเวียดนาม “ขบวนการเวียดมินห์” ในการต่อสู้ขับไล่ญี่ปุ่นให้ออกไปจากอินโดจีน เพื่อแลกเปลี่ยนกับการขอให้ขบวนการเวียดมินห์ช่วยเหลือนักบินชาวอเมริกัน ๓ นายที่ถูกทหารญี่ปุ่นคุมขังไว้ในเวียดนามหลังเครื่องบินถูกยิงตก
ในการนี้ ปอล อี.เฮลลิเวลล์ หัวหน้าสำนักงานของหน่วย โอ เอส เอส ภาคพื้นแปซิฟิค ประจำเมืองคุนหมิง ในมณฑลยูนนาน ได้ขอให้โฮจิมินห์รับเงื่อนไขว่าหลังจากที่ได้ขับไล่ญี่ปุ่นออกไปอินโดจีนแล้ว จะไม่ใช้อาวุธที่ได้รับความช่วยเหลือเหล่านี้ไปรบกับฝรั่งเศส ทั้งนี้เนื่องจากสหรัฐอเมริกาถือว่า ดินแดนอินโดจีนยังคงเป็นของฝรั่งเศส ทว่าโฮจิมินห์ไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว อย่างไรก็ตามโฮจิมินห์ได้ให้คำมั่นว่า ยินดีให้ความช่วยเหลือทหารอเมริกันที่เข้าไปปฏิบัติภารกิจในเวียดนามเหนืออย่างเต็มที่ และได้ส่งกำลังบุกเข้าไปช่วยนักบินทั้ง ๓ นายซึ่งถูกทหารญี่ปุ่นควบคุมตัวไว้ ออกมาจากที่คุมขังได้อย่างปลอดภัย
ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๘ กองกำลังติดอาวุธของโฮจิมินห์โจมตีที่ตั้งขนาดกองร้อยของทหารญี่ปุ่นที่ “ตันเตา” และในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน กองกำลังติดอาวุธของโฮจิมินห์ได้โจมตีที่ตั้งของกองทหารญี่ปุ่นที่ “ตำดาว” จากนั้นวันที่ ๑๗ สิงหาคม ปฏิบัติการ “Deer Team” ของ โอ เอส เอส คณะทหารอเมริกันนำโดย พ.ต.อาร์คีมีดิส แพตตี ก็ได้กระโดดร่มลงในดินแดนอินโดจีน และได้ติดต่อกับวัน ซุน ผู้บัญชการทหารของเวียดมินห์ ซึ่งก็คือ นายพล โว เหงียน เกี๊ยบ ที่ช่วงนั้นยังไม่เปิดเผยนามจริงต่อทหาร โอ เอส เอส
ต่อมามีคณะทหาร โอ เอส เอส อีกคณะหนึ่งนำโดย พ.ต.แอลลิสัน โธมัส พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์หลายชนิดซึ่งมากพอสำหรับทหาร ๓๐๐ กว่าคน ได้เข้าไปช่วยฝึกสอนการใช้อาวุธสมัยใหม่ให้แก่ทหารเวียดมินห์ประมาณ ๓๕๐ คน จากนั้นทหารเวียดมินห์ซึ่งมีทหาร โอ เอส เอส ร่วมด้วย ได้ปฏิบัติการโจมตีที่ตั้งของทหารญี่ปุ่นหลายแห่ง
นอกเหนือจากความช่วยเหลือของขบวนการเสรีไทยและ โอ เอส เอส ที่มีต่อขบวนการเวียดมินห์แล้ว เวียดมินห์ยังได้รับความช่วยเหลือด้านอาวุธยุทโธปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่ฝ่ายอังกฤษทิ้งร่มให้
ต่อมาพันตรี Archimedes L.A.Patti ซึ่งเคยปฏิบัติการรบร่วมกับกองทหารเวียดมินห์ ภายใต้การบัญชาการของนายพล โว เหงียน เกี๊ยบ ได้เขียนหนังสือ “Why Veitnam? Prelude to America’s Albatross” จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียที่เบิร์คเล่ย์ ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ ระบุว่า โฮจิมินห์ได้ช่วย โอ เอส เอส วางเครือข่ายข่าวกรองของ โอ เอส เอส ทั่วเวียดนาม และในปี พ.ศ.๒๔๘๘ โฮจิมินห์และนายทหาร โอ เอส เอส ผุ้หนึ่งได้ร่วมกันร่างข้อตกลงร่วมมือกันระหว่างโฮจิมินห์และสหรัฐฯ จากนั้นยื่นเสนอไปยังรัฐบาลสหรัฐฯ
ทว่าทางการสหรัฐฯ เพิกเฉย ไม่มีคำตอบใดๆ โฮจิมินห์จึงหันไปขอรับความช่วยเหลือจากจีนคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุงแทน และในทางตรงกันข้าม สหรัฐฯ ได้หันไปให้ความช่วยเหลือกองทหารฝรั่งเศสในการสู้รบกับทหารเวียดมินห์
วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๔๘๘ กองทหารเวียดมินห์ ราว ๕,๐๐๐ คนได้เข้าโจมตีกรุงฮานอย โดยทหารญีปุ่นซึ่งมีกำลังราว ๓๐,๐๐๐ คน ไม่ได้ทำการต่อต้านทหารฝรั่งเศสที่ญี่ปุ่นควบคุมตัวไว้ รวมทั้งพลเรือนชาวฝรั่งเศสได้หลบหนีเข้าสู่ประเทศจีน
สำหรับขบวนการเขมรอิสระ ภายใต้การนำของ ดร.เซิน ง็อก ทันห์ ขบวนการเสรีไทยได้มอบหมายให้นายผล แสนสระดี ส.ส.ขอนแก่น เป็นผู้ดำเนินการจัดอาวุธของเสรีไทยอีกส่วนหนึ่งมอบให้ผ่านทางนายสอนและนายทัน อดีต ส.ส.พระตะบอง ส่วนขบวนการกู้เอกราชของอินโดนีเซียได้มอบหมายให้นายแช่ม พรหมยงค์ ขนอาวุธและข้าวสารไปช่วยเหลือซูการ์โนต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมฮอลันดา
ส่วนการสนับสนุนช่วยเหลือที่มีต่อขบวนการกู้ชาติของลาวอิสระ ภายใต้การนำของเจ้าเพ็ดชะลาดและเจ้าสุพานุวงนั้น นายปรีดี พนมยงค์ ได้มอบหมายให้อยู่ในความรับผิดของกลุ่มผู้นำเสรีไทยสายอีสาน อันได้แก่ นายเตียง ศิริขันธ์ นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาวเรือง นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายทิม ภูริพัฒน์ และนายฟอง สิทธิธรรม
ในการนี้ ปอล อี.เฮลลิเวลล์ หัวหน้าสำนักงานของหน่วย โอ เอส เอส ภาคพื้นแปซิฟิค ประจำเมืองคุนหมิง ในมณฑลยูนนาน ได้ขอให้โฮจิมินห์รับเงื่อนไขว่าหลังจากที่ได้ขับไล่ญี่ปุ่นออกไปอินโดจีนแล้ว จะไม่ใช้อาวุธที่ได้รับความช่วยเหลือเหล่านี้ไปรบกับฝรั่งเศส ทั้งนี้เนื่องจากสหรัฐอเมริกาถือว่า ดินแดนอินโดจีนยังคงเป็นของฝรั่งเศส ทว่าโฮจิมินห์ไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว อย่างไรก็ตามโฮจิมินห์ได้ให้คำมั่นว่า ยินดีให้ความช่วยเหลือทหารอเมริกันที่เข้าไปปฏิบัติภารกิจในเวียดนามเหนืออย่างเต็มที่ และได้ส่งกำลังบุกเข้าไปช่วยนักบินทั้ง ๓ นายซึ่งถูกทหารญี่ปุ่นควบคุมตัวไว้ ออกมาจากที่คุมขังได้อย่างปลอดภัย
ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๘ กองกำลังติดอาวุธของโฮจิมินห์โจมตีที่ตั้งขนาดกองร้อยของทหารญี่ปุ่นที่ “ตันเตา” และในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน กองกำลังติดอาวุธของโฮจิมินห์ได้โจมตีที่ตั้งของกองทหารญี่ปุ่นที่ “ตำดาว” จากนั้นวันที่ ๑๗ สิงหาคม ปฏิบัติการ “Deer Team” ของ โอ เอส เอส คณะทหารอเมริกันนำโดย พ.ต.อาร์คีมีดิส แพตตี ก็ได้กระโดดร่มลงในดินแดนอินโดจีน และได้ติดต่อกับวัน ซุน ผู้บัญชการทหารของเวียดมินห์ ซึ่งก็คือ นายพล โว เหงียน เกี๊ยบ ที่ช่วงนั้นยังไม่เปิดเผยนามจริงต่อทหาร โอ เอส เอส
ต่อมามีคณะทหาร โอ เอส เอส อีกคณะหนึ่งนำโดย พ.ต.แอลลิสัน โธมัส พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์หลายชนิดซึ่งมากพอสำหรับทหาร ๓๐๐ กว่าคน ได้เข้าไปช่วยฝึกสอนการใช้อาวุธสมัยใหม่ให้แก่ทหารเวียดมินห์ประมาณ ๓๕๐ คน จากนั้นทหารเวียดมินห์ซึ่งมีทหาร โอ เอส เอส ร่วมด้วย ได้ปฏิบัติการโจมตีที่ตั้งของทหารญี่ปุ่นหลายแห่ง
นอกเหนือจากความช่วยเหลือของขบวนการเสรีไทยและ โอ เอส เอส ที่มีต่อขบวนการเวียดมินห์แล้ว เวียดมินห์ยังได้รับความช่วยเหลือด้านอาวุธยุทโธปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่ฝ่ายอังกฤษทิ้งร่มให้
ต่อมาพันตรี Archimedes L.A.Patti ซึ่งเคยปฏิบัติการรบร่วมกับกองทหารเวียดมินห์ ภายใต้การบัญชาการของนายพล โว เหงียน เกี๊ยบ ได้เขียนหนังสือ “Why Veitnam? Prelude to America’s Albatross” จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียที่เบิร์คเล่ย์ ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ ระบุว่า โฮจิมินห์ได้ช่วย โอ เอส เอส วางเครือข่ายข่าวกรองของ โอ เอส เอส ทั่วเวียดนาม และในปี พ.ศ.๒๔๘๘ โฮจิมินห์และนายทหาร โอ เอส เอส ผุ้หนึ่งได้ร่วมกันร่างข้อตกลงร่วมมือกันระหว่างโฮจิมินห์และสหรัฐฯ จากนั้นยื่นเสนอไปยังรัฐบาลสหรัฐฯ
ทว่าทางการสหรัฐฯ เพิกเฉย ไม่มีคำตอบใดๆ โฮจิมินห์จึงหันไปขอรับความช่วยเหลือจากจีนคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุงแทน และในทางตรงกันข้าม สหรัฐฯ ได้หันไปให้ความช่วยเหลือกองทหารฝรั่งเศสในการสู้รบกับทหารเวียดมินห์
วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๔๘๘ กองทหารเวียดมินห์ ราว ๕,๐๐๐ คนได้เข้าโจมตีกรุงฮานอย โดยทหารญีปุ่นซึ่งมีกำลังราว ๓๐,๐๐๐ คน ไม่ได้ทำการต่อต้านทหารฝรั่งเศสที่ญี่ปุ่นควบคุมตัวไว้ รวมทั้งพลเรือนชาวฝรั่งเศสได้หลบหนีเข้าสู่ประเทศจีน
สำหรับขบวนการเขมรอิสระ ภายใต้การนำของ ดร.เซิน ง็อก ทันห์ ขบวนการเสรีไทยได้มอบหมายให้นายผล แสนสระดี ส.ส.ขอนแก่น เป็นผู้ดำเนินการจัดอาวุธของเสรีไทยอีกส่วนหนึ่งมอบให้ผ่านทางนายสอนและนายทัน อดีต ส.ส.พระตะบอง ส่วนขบวนการกู้เอกราชของอินโดนีเซียได้มอบหมายให้นายแช่ม พรหมยงค์ ขนอาวุธและข้าวสารไปช่วยเหลือซูการ์โนต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมฮอลันดา
ส่วนการสนับสนุนช่วยเหลือที่มีต่อขบวนการกู้ชาติของลาวอิสระ ภายใต้การนำของเจ้าเพ็ดชะลาดและเจ้าสุพานุวงนั้น นายปรีดี พนมยงค์ ได้มอบหมายให้อยู่ในความรับผิดของกลุ่มผู้นำเสรีไทยสายอีสาน อันได้แก่ นายเตียง ศิริขันธ์ นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาวเรือง นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายทิม ภูริพัฒน์ และนายฟอง สิทธิธรรม
No comments:
Post a Comment