ในการขึ้นครองราชบัลลังก์ของกษัตริย์แห่งสยาม การกำจัดพระเจ้าแผ่นดินองค์นั้นๆเสียแล้วขึ้นนั่งเมืองแทน เป็นเรื่องธรรมดาที่ดำเนินมาเนิ่นนานจนมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งนอกจากจะมีต้นเหตุมาจากกษัตริย์ไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม กดขี่ข่มเหงประชาราษฎรให้ได้รับความเดือดร้อนเป็นเนืองนิตย์แล้ว ยังมีต้นเหตุอันเนื่องมาจากความมักใหญ่ใฝ่สูงและความอาฆาตแค้น หรือที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า โลภะ โทสะ โมหะ รวมอยู่ด้วย จึงทำให้กษัตริย์ถูกปลงพระชนม์มาแล้วทั้งในระหว่างเครือญาติและต่างวงศ์ถึง ๑๓ พระองค์ในสมัยอยุธยาและ ๑ พระองค์ในสมัยกรุงธนบุรี รวมเป็น ๑๔ พระองค์
ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลที่ สวรรคตเพราะถูกพระแสงปืนเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นพระองค์ที่ ๑๕ นั้น จะเป็นโลภะ โทสะ โมหะ และใครเป็นผู้ทำให้พระแสงปืนลั่นจะโดยเจตนาหรืออุปัทวเหตุ ในวันนี้ยังไม่มีคำตอบ นอกจากเสียงซุบซิบ (ดู ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต โดยสุพจน์ ด่านตระกูล) แม้ศาลจะพิพากษาลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปแล้วถึง ๓ คนคือคุณเฉลียว ปทุมรส คุณชิต สิงหเสนี คุณบุศย์ ปัทมศริน และทำให้ ๒ คนต้องมัวหมอง คือ ท่านปรีดี พนมยงค์ และเรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวชช์
แต่ก็เป็นที่เปิดเผยกันทั่วไปแล้วว่า ทั้ง ๕ คนนั้นเป็นเหยื่อทางการเมืองที่สกปรกของบางกลุ่มการเมืองปฏิกิริยาที่ล้าหลัง จึงเป็นภาระหน้าที่ทางประวัติศาสตร์ในอนาคตที่จะให้คำตอบว่ากรณีสวรรคตของในหลวงอานันทฯ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
คงจะไม่นานเกินรอ
ถึงแม้ว่า หลังจากได้รับข้อมูลใหม่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ได้เคยพยายามหาหนทางที่จะนำกรณีนี้ขึ้นศาลเพื่อพิจารณาใหม่ให้ความเป็นทำแก่ผู้บริสุทธิ์ทั้ง ๕ คน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะถูกขัดขวางด้วยรัฐประหารที่ปฏิกิริยาของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (เมื่อ ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐)ที่ได้รับการสนับสนุนจากจักรวรรดินิยมอเมริกาและซากเดนศักดินาก็ตาม แต่ก็ไม่มีอำนาจใดที่จะลบล้างข้อเท็จจริงออกจากหน้าประวัติศาสตร์ได้ชั่วนิรันดร์ ดังเช่นหลายๆ เรื่องที่ผ่านมาในหน้าประวัติศาสตร์ที่ได้ถูกเปิดเผยความจริงออกมาในวันนี้
การใช้พระราชอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองประเทศแต่ผู้เดียวของกษัตริย์ที่สืบต่อมาจากสุโขทัยจนถึงรัตนโกสินทร์ นับเป็นเวลาหลายร้อยปี ได้มาสิ้นสุดลงในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ โดยระบอบใหม่ที่เรียกว่า “ประชาธิปไตย” คือ อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎรทั้งหลาย มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ จึงเป็นวันที่สำคัญยิ่งของราษฎรไทยและประวัติศาสตร์ชาติไทยยุคใหม่ เพื่อให้สมกับความสำคัญยิ่ง รัฐบาลภายใต้ระบอบใหม่ในเวลาต่อมาจึงได้ประกาศให้วันที่ ๒๔ มิถุนายน เป็นวันชาติ แบบเดียวกับนานาอารยประเทศที่ต่างก็มีวันสำคัญของชาติหรือวันชาติ
แต่ต่อมาก็ได้ถูกยุบเลิกไปโดยระบอบเผด็จการทหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๓ โดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ความว่า เรื่องให้ยกเลิกวันชาติ ซึ่งเคยถือว่าวันที่ ๒๔ มิถุนายน เป็นวันชาติเสีย ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติต่อไป
นับเป็นความพยายามของซากเดนศักดินาที่จะลบล้างการเปลี่ยนแปลงเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ออกจากหน้าประวัติศาสตร์ โดยผ่านบทบาทของหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งขณะนั้นเป็นปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ที่มีสมญานามว่า “อ้ายม้ามแตก” เป็นผู้ลงนาม จึงทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศเดียวที่ไม่มีวันชาติ ต่างจากนานาอารยประเทศที่เขามีกัน.
เรียบเรียงจาก ประวัติรัฐธรรมนูญ- สุพจน์ ด่านตระกูล
ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลที่ สวรรคตเพราะถูกพระแสงปืนเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นพระองค์ที่ ๑๕ นั้น จะเป็นโลภะ โทสะ โมหะ และใครเป็นผู้ทำให้พระแสงปืนลั่นจะโดยเจตนาหรืออุปัทวเหตุ ในวันนี้ยังไม่มีคำตอบ นอกจากเสียงซุบซิบ (ดู ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต โดยสุพจน์ ด่านตระกูล) แม้ศาลจะพิพากษาลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปแล้วถึง ๓ คนคือคุณเฉลียว ปทุมรส คุณชิต สิงหเสนี คุณบุศย์ ปัทมศริน และทำให้ ๒ คนต้องมัวหมอง คือ ท่านปรีดี พนมยงค์ และเรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวชช์
แต่ก็เป็นที่เปิดเผยกันทั่วไปแล้วว่า ทั้ง ๕ คนนั้นเป็นเหยื่อทางการเมืองที่สกปรกของบางกลุ่มการเมืองปฏิกิริยาที่ล้าหลัง จึงเป็นภาระหน้าที่ทางประวัติศาสตร์ในอนาคตที่จะให้คำตอบว่ากรณีสวรรคตของในหลวงอานันทฯ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
คงจะไม่นานเกินรอ
ถึงแม้ว่า หลังจากได้รับข้อมูลใหม่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ได้เคยพยายามหาหนทางที่จะนำกรณีนี้ขึ้นศาลเพื่อพิจารณาใหม่ให้ความเป็นทำแก่ผู้บริสุทธิ์ทั้ง ๕ คน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะถูกขัดขวางด้วยรัฐประหารที่ปฏิกิริยาของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (เมื่อ ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐)ที่ได้รับการสนับสนุนจากจักรวรรดินิยมอเมริกาและซากเดนศักดินาก็ตาม แต่ก็ไม่มีอำนาจใดที่จะลบล้างข้อเท็จจริงออกจากหน้าประวัติศาสตร์ได้ชั่วนิรันดร์ ดังเช่นหลายๆ เรื่องที่ผ่านมาในหน้าประวัติศาสตร์ที่ได้ถูกเปิดเผยความจริงออกมาในวันนี้
การใช้พระราชอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองประเทศแต่ผู้เดียวของกษัตริย์ที่สืบต่อมาจากสุโขทัยจนถึงรัตนโกสินทร์ นับเป็นเวลาหลายร้อยปี ได้มาสิ้นสุดลงในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ โดยระบอบใหม่ที่เรียกว่า “ประชาธิปไตย” คือ อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎรทั้งหลาย มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ จึงเป็นวันที่สำคัญยิ่งของราษฎรไทยและประวัติศาสตร์ชาติไทยยุคใหม่ เพื่อให้สมกับความสำคัญยิ่ง รัฐบาลภายใต้ระบอบใหม่ในเวลาต่อมาจึงได้ประกาศให้วันที่ ๒๔ มิถุนายน เป็นวันชาติ แบบเดียวกับนานาอารยประเทศที่ต่างก็มีวันสำคัญของชาติหรือวันชาติ
แต่ต่อมาก็ได้ถูกยุบเลิกไปโดยระบอบเผด็จการทหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๓ โดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ความว่า เรื่องให้ยกเลิกวันชาติ ซึ่งเคยถือว่าวันที่ ๒๔ มิถุนายน เป็นวันชาติเสีย ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติต่อไป
นับเป็นความพยายามของซากเดนศักดินาที่จะลบล้างการเปลี่ยนแปลงเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ออกจากหน้าประวัติศาสตร์ โดยผ่านบทบาทของหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งขณะนั้นเป็นปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ที่มีสมญานามว่า “อ้ายม้ามแตก” เป็นผู้ลงนาม จึงทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศเดียวที่ไม่มีวันชาติ ต่างจากนานาอารยประเทศที่เขามีกัน.
เรียบเรียงจาก ประวัติรัฐธรรมนูญ- สุพจน์ ด่านตระกูล
No comments:
Post a Comment