ตุลาแดงรำลึก
เรียบเรียงจากหนังสือประวัติรัฐธรรมนูญ ของคุณสุพจน์ ด่านตระกูล
เรียบเรียงจากหนังสือประวัติรัฐธรรมนูญ ของคุณสุพจน์ ด่านตระกูล
-๔-
หลังจากขบวนการ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ ประสบกับความล้มเหลวในการปราบขบถคณะรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ กลับถูกฝ่ายขบถปราบปรามพ่ายแพ้ไป แต่ความรักชาติรักประชาธิปไตยและความพยายามที่จะกู้สถานการณ์ประชาธิปไตยกลับคืนมายังคงมีอยู่ จึงในวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๔ ขบวนการรักชาติรักประชาธิปไตยภายใต้นามว่า “คณะกู้ชาติ” นำโดยทหารเรือกลุ่มหนึ่งเข้าจับตัวนายกรัฐมนตรีจอมพล ป.พิบูลสงคราม ขณะมาเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดลอกสันดอนที่ชื่อว่า “แมนฮัตตัน” จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำพิธีรับมอบกันที่ท่าราชวรดิษฐ์ อันเป็นพื้นที่ของทหารเรือ เพื่อบังคับให้ลาออก แต่ก็ประสบความล้มเหลวเช่นเดียวกับขบวนการ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒
หลังจากที่มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงในระยะหนึ่ง คณะขบถรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ภายใต้รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นหุ่นเชิด จึงคงสืบอำนาจรัฐต่อภายใต้รัฐธรรมนูญ ๒๓ มีนาคม ๒๔๙๒
โดยที่รัฐธรรมนูญฉบับ ๒๓ มีนาคม ๒๔๙๒ ที่สืบพันธุ์จากรัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม ๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ของคณะรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ นำโดย พลโทผิน ชุณหะวัณ (ยศขณะนั้น)และคณะที่ปฏิกิริยาและเผด็จการ เป็นรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาเป็นอำมาตยาธิปไตย ที่อาศัยพระบารมีสถาบันกษัตริย์เป็นธงนำในรูปแบบของประชาธิปไตยแบบไทย-ไทย และยิ่งกว่านั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังรับเอาอำมาตยสภาที่แต่งตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญใต้ตุ่มเข้ามาไว้ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้สืบต่อไป
โดยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีภายใต้รัฐธรรมนูญอำมาตยาธิปไตยฉบับนี้ แทนนายควง อภัยวงศ์ ที่ถูกคณะรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ บังคับให้ลาออกไป (๘ เมษายน ๒๔๙๑) ก็เป็นไปได้ระยะหนึ่งในขณะที่ผลประโยชน์ยังไม่ขัดกันอย่างรุนแรง แต่ในที่สุดก็ถึงจุดแตกหัก ดังคำพูดที่ว่า “ผลประโยชน์ขัดกันก็บรรลัย”
คณะรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ โดยการสมยอมกับรัฐบาลใช้นามคณะว่า “คณะบริหารประเทศชั่วคราว” ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศทางวิทยุกระจายเสียง (ไม่ต้องใช้รถถังและเคลื่อนย้ายกำลังทหาร) ในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๓ มีนาคม ๒๔๙๒ และให้นำรัฐธรรมนูญฉบับ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ (รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติม)กลับเข้ามาใช้..
รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ๘ มีนาคม ๒๔๙๕ ก็เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ คือมีพระราชปรารภเป็นเบื้องต้น และก็เป็นพระราชปรารภที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ที่คณะรัฐประหารสร้างขึ้นมา โดยกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “..จำเดิมแต่สมเด็จพระบรมปิตุลาธิราชพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ณ วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ สถาปนาการปกครองประชาธิปไตยขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย..”
ความจริงการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยคือวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ตามสัญญาประชาคมที่พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยให้ไว้กับราษฎรไทยในธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในมาตรา ๑ ของธรรมนูญฉบับนั้นว่า
“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” ซึ่งก็หมายถึงระบอบประชาธิปไตยนั้นเอง แต่การยินยอมของพระองค์ครั้งนั้นเนื่องมาจากแต่การยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินของคณะราษฎรเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ โดยจับพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์ไว้เป็นตัวประกัน พระปกเกล้าฯจึงจำยอมลงพระปรมาภิไธย มอบอำนาจที่พระองค์มีอยู่ตามระบอบเผด็จการสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กลับคืนให้ราษฎรเจ้าของอำนาจที่แท้จริง ที่เป็นผู้ไถหว่านและเก็บเกี่ยว ซึ่งยังความเสื่อมพระเกียรติให้กับสถาบันกษัตริย์จึงได้มีความพยายามที่จะลบเหตุการณ์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ออกจากหน้าประวัติศาสตร์ด้วยวิธีนานาประการ
แต่ความก็จริงก็คือความจริง ความเท็จก็คือความเท็จ ไม่มีใครสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แม้จะสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ก็เป็นการชั่วคราวเท่านั้น ขอให้เชื่อเถอะ สักวันหนึ่งในอนาคต วันที่ ๒๔ มิถุนายน จะต้องกลับมาเป็นวันชาติอย่างแน่นอน
ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คงมีสภาเพียงสภาเดียว คือสภาผู้แทนราษฎรซึ่งประกอบด้วยสมาชิก ๒ ประเภท จำนวนเท่ากันคือ ประเภทที่ ๑ มาจากการเลือกตั้งของราษฎร และประเภทที่ ๒ มาจากการแต่งตั้ง
ต่อมาได้ปรากฏว่ามีความแตกแยกเกิดขึ้นในคณะรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งกันในผลประโยชน์และอำนาจ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างซอยราชครูกับบ้านสี่เสา
ซอยราชครู หมายถึง จอมพล ผิน ชุณหะวัณ ที่มี พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์(ลูกเขย)เป็นเสาเอก กับเขยอื่นๆ
บ้านสี่เสา (เทเวศน์)หมายถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
การปกครองบ้านเมืองในเวลานั้นอยู่ในอุ้งมือของสองกลุ่มนี้ โดยได้รับการสนับสนุนทางด้านอาวุธยุทธภัณฑ์จากสหรัฐอเมริกา มหามิตรมาด้วยกัน หน่วยแจสแม็กให้การสนับสนุนกองทัพบกที่มี สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการ บริษัทซีซัพพลาย ซึ่งเป็นบริษัทขายอาวุธที่อยู่ภายใต้ ซีไอเอ ให้การสนับสนุนกรมตำรวจที่มีกำลังเสมอด้วยกองทัพ โดยเฉพาะกองกำลังสำหรับยึดอำนาจในเมือง เช่น ตำรวจรถถัง เป็นต้น
หลังจากขบวนการ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ ประสบกับความล้มเหลวในการปราบขบถคณะรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ กลับถูกฝ่ายขบถปราบปรามพ่ายแพ้ไป แต่ความรักชาติรักประชาธิปไตยและความพยายามที่จะกู้สถานการณ์ประชาธิปไตยกลับคืนมายังคงมีอยู่ จึงในวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๔ ขบวนการรักชาติรักประชาธิปไตยภายใต้นามว่า “คณะกู้ชาติ” นำโดยทหารเรือกลุ่มหนึ่งเข้าจับตัวนายกรัฐมนตรีจอมพล ป.พิบูลสงคราม ขณะมาเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดลอกสันดอนที่ชื่อว่า “แมนฮัตตัน” จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำพิธีรับมอบกันที่ท่าราชวรดิษฐ์ อันเป็นพื้นที่ของทหารเรือ เพื่อบังคับให้ลาออก แต่ก็ประสบความล้มเหลวเช่นเดียวกับขบวนการ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒
หลังจากที่มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงในระยะหนึ่ง คณะขบถรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ภายใต้รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นหุ่นเชิด จึงคงสืบอำนาจรัฐต่อภายใต้รัฐธรรมนูญ ๒๓ มีนาคม ๒๔๙๒
โดยที่รัฐธรรมนูญฉบับ ๒๓ มีนาคม ๒๔๙๒ ที่สืบพันธุ์จากรัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม ๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ของคณะรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ นำโดย พลโทผิน ชุณหะวัณ (ยศขณะนั้น)และคณะที่ปฏิกิริยาและเผด็จการ เป็นรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาเป็นอำมาตยาธิปไตย ที่อาศัยพระบารมีสถาบันกษัตริย์เป็นธงนำในรูปแบบของประชาธิปไตยแบบไทย-ไทย และยิ่งกว่านั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังรับเอาอำมาตยสภาที่แต่งตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญใต้ตุ่มเข้ามาไว้ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้สืบต่อไป
โดยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีภายใต้รัฐธรรมนูญอำมาตยาธิปไตยฉบับนี้ แทนนายควง อภัยวงศ์ ที่ถูกคณะรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ บังคับให้ลาออกไป (๘ เมษายน ๒๔๙๑) ก็เป็นไปได้ระยะหนึ่งในขณะที่ผลประโยชน์ยังไม่ขัดกันอย่างรุนแรง แต่ในที่สุดก็ถึงจุดแตกหัก ดังคำพูดที่ว่า “ผลประโยชน์ขัดกันก็บรรลัย”
คณะรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ โดยการสมยอมกับรัฐบาลใช้นามคณะว่า “คณะบริหารประเทศชั่วคราว” ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศทางวิทยุกระจายเสียง (ไม่ต้องใช้รถถังและเคลื่อนย้ายกำลังทหาร) ในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๓ มีนาคม ๒๔๙๒ และให้นำรัฐธรรมนูญฉบับ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ (รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติม)กลับเข้ามาใช้..
รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ๘ มีนาคม ๒๔๙๕ ก็เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ คือมีพระราชปรารภเป็นเบื้องต้น และก็เป็นพระราชปรารภที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ที่คณะรัฐประหารสร้างขึ้นมา โดยกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “..จำเดิมแต่สมเด็จพระบรมปิตุลาธิราชพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ณ วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ สถาปนาการปกครองประชาธิปไตยขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย..”
ความจริงการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยคือวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ตามสัญญาประชาคมที่พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยให้ไว้กับราษฎรไทยในธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในมาตรา ๑ ของธรรมนูญฉบับนั้นว่า
“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” ซึ่งก็หมายถึงระบอบประชาธิปไตยนั้นเอง แต่การยินยอมของพระองค์ครั้งนั้นเนื่องมาจากแต่การยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินของคณะราษฎรเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ โดยจับพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์ไว้เป็นตัวประกัน พระปกเกล้าฯจึงจำยอมลงพระปรมาภิไธย มอบอำนาจที่พระองค์มีอยู่ตามระบอบเผด็จการสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กลับคืนให้ราษฎรเจ้าของอำนาจที่แท้จริง ที่เป็นผู้ไถหว่านและเก็บเกี่ยว ซึ่งยังความเสื่อมพระเกียรติให้กับสถาบันกษัตริย์จึงได้มีความพยายามที่จะลบเหตุการณ์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ออกจากหน้าประวัติศาสตร์ด้วยวิธีนานาประการ
แต่ความก็จริงก็คือความจริง ความเท็จก็คือความเท็จ ไม่มีใครสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แม้จะสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ก็เป็นการชั่วคราวเท่านั้น ขอให้เชื่อเถอะ สักวันหนึ่งในอนาคต วันที่ ๒๔ มิถุนายน จะต้องกลับมาเป็นวันชาติอย่างแน่นอน
ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คงมีสภาเพียงสภาเดียว คือสภาผู้แทนราษฎรซึ่งประกอบด้วยสมาชิก ๒ ประเภท จำนวนเท่ากันคือ ประเภทที่ ๑ มาจากการเลือกตั้งของราษฎร และประเภทที่ ๒ มาจากการแต่งตั้ง
ต่อมาได้ปรากฏว่ามีความแตกแยกเกิดขึ้นในคณะรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งกันในผลประโยชน์และอำนาจ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างซอยราชครูกับบ้านสี่เสา
ซอยราชครู หมายถึง จอมพล ผิน ชุณหะวัณ ที่มี พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์(ลูกเขย)เป็นเสาเอก กับเขยอื่นๆ
บ้านสี่เสา (เทเวศน์)หมายถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
การปกครองบ้านเมืองในเวลานั้นอยู่ในอุ้งมือของสองกลุ่มนี้ โดยได้รับการสนับสนุนทางด้านอาวุธยุทธภัณฑ์จากสหรัฐอเมริกา มหามิตรมาด้วยกัน หน่วยแจสแม็กให้การสนับสนุนกองทัพบกที่มี สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการ บริษัทซีซัพพลาย ซึ่งเป็นบริษัทขายอาวุธที่อยู่ภายใต้ ซีไอเอ ให้การสนับสนุนกรมตำรวจที่มีกำลังเสมอด้วยกองทัพ โดยเฉพาะกองกำลังสำหรับยึดอำนาจในเมือง เช่น ตำรวจรถถัง เป็นต้น
No comments:
Post a Comment