ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า และ ๒๑ ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน
ปรีดี พยมยงค์
บทที่ ๔ สยาม ราชอาณาจักรใต้ดิน
ปรีดี พยมยงค์
บทที่ ๔ สยาม ราชอาณาจักรใต้ดิน
-๘-
ฝ่ายรัฐบาลจีนเมื่อยอมรับรองความเป็นเอกราชของรัฐบาลสยามแล้ว ก็ได้ส่งอัครราชทูตมาประจำกรุงสยาม เพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
ส่วนกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลที่คลั่งชาติที่คิดว่ากองกำลังทหารจีนจะเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในประเทศสยามนั้น พากันแปลกใจที่กลายเป็นกองทหารอังกฤษ ฉะนั้น จึงก่อการจลาจลโดยใช้ปืนยาวปืนสั้น ยิ่งเข้าใส่ฝูงชนอย่างบ้าคลั่งในใจกลางพระนคร
ชาวไทยได้โต้ตอบทันที สภาพการจลาจลเกิดขึ้นในชุมชนหลายแห่ง รัฐบาลจำต้องใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม เพื่อให้เกิดความสงบโดยเร็วที่สุด การจลาจลครั้งนี้เรียกว่า “เลียะพะ” (ภาษาแต้จิ๋ว)ที่เรียกเช่นนี้ เพราะได้เปรียบเทียบเหตุการณ์ครั้งนี้กับกบฏของนักมวยจีน ซึ่งต่อต้านกองกำลังอำนาจต่างชาติในปี พ.ศ.๒๔๔๓
ในปัจจุบันนี้ยังมีคนกล่าวถึงเหตุการณ์เลียะพะครั้งนั้นอยู่ โดยมักจะเป็นพวกที่ไม่ยอมรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐราษฎรจีนและยกเอาเหตุการณ์นี้มาข่มขวัญผู้ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ โดยอธิบายอย่างไม่มีเหตุผลว่า เมื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐราษฎรจีนแล้ว เหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดซ้ำขึ้นอีกโดยพวกชาวจีนโพ้นทะเลจะเป็นผู้ก่อขึ้นด้วยความสนับสนุนของสถานเอกอัครราชทูตสาธารรัฐราษฎรจีน อันที่จริง ระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบนี้ พวกคอมมิวนิสต์จีนที่ลี้ภัยเข้ามาในสยาม เพราะถูกรัฐบาลจีนคณะชาติตามล่านั้น กลับต่อต้านเหตุการณ์เลียะพะครั้งนี้
-๙-
รัฐบาลโซเวียตกำลังวุ่นวายอยู่กับปัญหาภายในประเทศ จึงไม่พร้อมที่จะเข้ามาแทรกแซงในกิจการของเอเชียอาคเนย์ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลนี้ได้แสดงความเคารพความเป็นเอกราชของสยามโดยปริยาย โดยการมอบอำนาจให้ผู้แทนทางการทูตที่กรุงสต็อคโฮล์มเข้าร่วมในงานเลี้ยงรับรองที่จัดขึ้นโดยสถานอัครราชทูตสยาม ทั้งในระหว่างและหลังสงคราม
-๑๐-
ส่วนทางฝ่ายรัฐบาลกู้ชาติฝรั่งเศส (Comite francais de Liberation antionale) ซึ่งต่อมาได้ตั้งขึ้นเป็นรัฐบาลชั่วคราวของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ลงความเห็นว่า รัฐบาลไทยเป็นพันธมิตรกับประเทศญี่ปุ่น และฝรั่งเศสกับประเทศไทยถือว่า เป็นศัตรูกันนับตั้งแต่วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๓ อันเป็นวันที่กองทัพอากาศไทย (สมัยรัฐบาลจอมพลพิบูลฯ)ได้ทิ้งระเบิดบนดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศส รัฐบาลชั่วคราวของสาธารณรัฐฝรั่งเศสเห็นว่า คำประกาศของข้าพเจ้าในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้ยกเลิกการยึดครองดินแดนที่รัฐบาลจอมพลพิบูลฯ ยึดครองนั้น ครอบคลุมถึงดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศสด้วย ดังนั้น เราจึงได้ทำความตกลงร่วมกันกับรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสให้นำเรื่องนี้สู่อนุญาโตตุลาการเพื่อตัดสิน ทั้งนี้ เพราะทางฝ่ายเราเห็นว่า ดินแดนที่เป็นปัญหาอยู่นั้น เป็นของประเทศสยามมาก่อนปี พ.ศ.๒๔๕๐ แล้ว นับแต่นั้นมาความสัมพันธ์ทางทูตระหว่าง ๒ ประเทศก็กลับคืนสู่ภาพปกติ
ฝ่ายรัฐบาลจีนเมื่อยอมรับรองความเป็นเอกราชของรัฐบาลสยามแล้ว ก็ได้ส่งอัครราชทูตมาประจำกรุงสยาม เพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
ส่วนกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลที่คลั่งชาติที่คิดว่ากองกำลังทหารจีนจะเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในประเทศสยามนั้น พากันแปลกใจที่กลายเป็นกองทหารอังกฤษ ฉะนั้น จึงก่อการจลาจลโดยใช้ปืนยาวปืนสั้น ยิ่งเข้าใส่ฝูงชนอย่างบ้าคลั่งในใจกลางพระนคร
ชาวไทยได้โต้ตอบทันที สภาพการจลาจลเกิดขึ้นในชุมชนหลายแห่ง รัฐบาลจำต้องใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม เพื่อให้เกิดความสงบโดยเร็วที่สุด การจลาจลครั้งนี้เรียกว่า “เลียะพะ” (ภาษาแต้จิ๋ว)ที่เรียกเช่นนี้ เพราะได้เปรียบเทียบเหตุการณ์ครั้งนี้กับกบฏของนักมวยจีน ซึ่งต่อต้านกองกำลังอำนาจต่างชาติในปี พ.ศ.๒๔๔๓
ในปัจจุบันนี้ยังมีคนกล่าวถึงเหตุการณ์เลียะพะครั้งนั้นอยู่ โดยมักจะเป็นพวกที่ไม่ยอมรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐราษฎรจีนและยกเอาเหตุการณ์นี้มาข่มขวัญผู้ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ โดยอธิบายอย่างไม่มีเหตุผลว่า เมื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐราษฎรจีนแล้ว เหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดซ้ำขึ้นอีกโดยพวกชาวจีนโพ้นทะเลจะเป็นผู้ก่อขึ้นด้วยความสนับสนุนของสถานเอกอัครราชทูตสาธารรัฐราษฎรจีน อันที่จริง ระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบนี้ พวกคอมมิวนิสต์จีนที่ลี้ภัยเข้ามาในสยาม เพราะถูกรัฐบาลจีนคณะชาติตามล่านั้น กลับต่อต้านเหตุการณ์เลียะพะครั้งนี้
-๙-
รัฐบาลโซเวียตกำลังวุ่นวายอยู่กับปัญหาภายในประเทศ จึงไม่พร้อมที่จะเข้ามาแทรกแซงในกิจการของเอเชียอาคเนย์ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลนี้ได้แสดงความเคารพความเป็นเอกราชของสยามโดยปริยาย โดยการมอบอำนาจให้ผู้แทนทางการทูตที่กรุงสต็อคโฮล์มเข้าร่วมในงานเลี้ยงรับรองที่จัดขึ้นโดยสถานอัครราชทูตสยาม ทั้งในระหว่างและหลังสงคราม
-๑๐-
ส่วนทางฝ่ายรัฐบาลกู้ชาติฝรั่งเศส (Comite francais de Liberation antionale) ซึ่งต่อมาได้ตั้งขึ้นเป็นรัฐบาลชั่วคราวของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ลงความเห็นว่า รัฐบาลไทยเป็นพันธมิตรกับประเทศญี่ปุ่น และฝรั่งเศสกับประเทศไทยถือว่า เป็นศัตรูกันนับตั้งแต่วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๓ อันเป็นวันที่กองทัพอากาศไทย (สมัยรัฐบาลจอมพลพิบูลฯ)ได้ทิ้งระเบิดบนดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศส รัฐบาลชั่วคราวของสาธารณรัฐฝรั่งเศสเห็นว่า คำประกาศของข้าพเจ้าในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้ยกเลิกการยึดครองดินแดนที่รัฐบาลจอมพลพิบูลฯ ยึดครองนั้น ครอบคลุมถึงดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศสด้วย ดังนั้น เราจึงได้ทำความตกลงร่วมกันกับรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสให้นำเรื่องนี้สู่อนุญาโตตุลาการเพื่อตัดสิน ทั้งนี้ เพราะทางฝ่ายเราเห็นว่า ดินแดนที่เป็นปัญหาอยู่นั้น เป็นของประเทศสยามมาก่อนปี พ.ศ.๒๔๕๐ แล้ว นับแต่นั้นมาความสัมพันธ์ทางทูตระหว่าง ๒ ประเทศก็กลับคืนสู่ภาพปกติ
No comments:
Post a Comment