ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า และ ๒๑ ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน
ปรีดี พยมยงค์
บทที่ ๔ สยาม ราชอาณาจักรใต้ดิน
-๑๑-
เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงบรรลุนิติภาวะ ข้าพเจ้าได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระองค์เสด็จนิวัติสู่สยาม พระองค์เสด็จถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๘ หน้าที่ในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของข้าพเจ้าจึงเป็นอันสิ้นสุดลงในทันที พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งข้าพเจ้าเป็นรัฐบุรุษอาวุโส อันเป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ซึ่งจะไม่มีอำนาจในการบริหารแผ่นดิน เป็นโอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้พักผ่อน ซึ่งข้าพเจ้ามีความปรารถนาอยู่แล้วหลังจากที่ข้าพเจ้าทำงานมาอย่างลำบากและเหน็ดเหนื่อยตลอดเวลาช่วงที่มีสงครามและหลังสงครามอีก ๓ เดือน
ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง ได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว มีรัฐบาลใหม่ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีบางคนเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม ความขัดแย้งในรัฐสภาระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านเพิ่มมากขึ้น ในที่สุดฝ่ายรัฐบาลต้องลาออก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ข้าพเจ้าจัดตั้งรัฐบาล โดยข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยได้เสียงสนับสนุนจากฝ่ายข้างมาก ซึ่งเป็นฝ่ายก้าวหน้าในสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.๒๔๘๙ รัฐสภาจะประกอบด้วยพฤตสภาและสภาผู้แทนราษฎร โดยสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้ง
ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายก้าวหน้ากับฝ่ายอนุรักษ์นิยม ไม่มีทีท่าว่าจะลดลงไป แต่กลับเพิ่มมากขึ้น เมื่อศาลฎีกาตัดสินปล่อยตัวจอมพลพิบูลฯ โดยประกาศว่าพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม (ซึ่งร่างขึ้นและประกาศใช้หลังสงคราม)ไม่อาจใช้บังคับย้อนหลังได้
เมื่อจอมพลพิบูลฯ ได้รับการปล่อยตัว ก็ได้กลับคืนสู่เวทีการเมืองเดิมอีกครั้งหนึ่ง โดยร่วมมือกับกลุ่มอนุรักษ์นิยม
-๑๒-
๒-๓ เดือนถัดมา ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล โดยต้องพระแสงปืนที่พระเศียรในห้องพระบรรทมมหาราชวัง จากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจและโดยคำแนะนำของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนชัยนาทนเรนทร ทางรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์ประกาศว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตโดยอุปัทวเหตุ โดยกระสุนจากพระแสงปืนของพระองค์เอง
ในวันนั้นเอง ข้าพเจ้าในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้เสนอรัฐสภาให้อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชขึ้นครองราชสมบัติแทนพระเชษฐานที่เสด็จสวรรคต เนื่องจากพระองค์ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สภาผู้แทนราษฎรจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทรเป็นประธาน คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ขอร้องให้ข้าพเจ้าตั้งคณะรัฐบาลขึ้นใหม่
หลังจากเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าพเจ้าได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยไม่มีผู้สมัครแข่งขัน ข้าพเจ้าสมัครใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้น มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งก็คงประกอบด้วยรัฐมนตรีฝ่ายก้าวหน้าและฝ่ายประชาธิปไตย แต่พวกอนุรักษ์นิยมกล่าวหาว่ารัฐบาลใหม่อยู่ภายใต้อาณัติของข้าพเจ้า ด้วยเหตุนี้พวกอนุรักษ์นิยมจึงเริ่มโจมตีข้าพเจ้าเป็นการส่วนตัว โดยใส่ร้ายข้าพเจ้าต่างๆ นานา เช่น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลไม่ได้เสด็จสวรรคตโดยอุปัทวเหตุ แต่ถูกลอบปลงพระชนม์โดยอดีตราชเลขานุการส่วนพระองค์ และมหาดเล็กของพระองค์เอง โดยมีข้าพเจ้าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด
การเผยแพร่ข่าวให้ร้ายแก่ข้าพเจ้าเช่นนี้ เป็นแผนการทำให้ประชาชนสับสน เพื่ออ้างเป็นเหตุให้คณะทหารก่อการรัฐประหารปฏิกิริยา ซึ่งข้าพเจ้าจะได้กล่าวต่อไปในบทที่ ๗
เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงบรรลุนิติภาวะ ข้าพเจ้าได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระองค์เสด็จนิวัติสู่สยาม พระองค์เสด็จถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๘ หน้าที่ในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของข้าพเจ้าจึงเป็นอันสิ้นสุดลงในทันที พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งข้าพเจ้าเป็นรัฐบุรุษอาวุโส อันเป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ซึ่งจะไม่มีอำนาจในการบริหารแผ่นดิน เป็นโอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้พักผ่อน ซึ่งข้าพเจ้ามีความปรารถนาอยู่แล้วหลังจากที่ข้าพเจ้าทำงานมาอย่างลำบากและเหน็ดเหนื่อยตลอดเวลาช่วงที่มีสงครามและหลังสงครามอีก ๓ เดือน
ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง ได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว มีรัฐบาลใหม่ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีบางคนเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม ความขัดแย้งในรัฐสภาระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านเพิ่มมากขึ้น ในที่สุดฝ่ายรัฐบาลต้องลาออก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ข้าพเจ้าจัดตั้งรัฐบาล โดยข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยได้เสียงสนับสนุนจากฝ่ายข้างมาก ซึ่งเป็นฝ่ายก้าวหน้าในสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.๒๔๘๙ รัฐสภาจะประกอบด้วยพฤตสภาและสภาผู้แทนราษฎร โดยสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้ง
ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายก้าวหน้ากับฝ่ายอนุรักษ์นิยม ไม่มีทีท่าว่าจะลดลงไป แต่กลับเพิ่มมากขึ้น เมื่อศาลฎีกาตัดสินปล่อยตัวจอมพลพิบูลฯ โดยประกาศว่าพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม (ซึ่งร่างขึ้นและประกาศใช้หลังสงคราม)ไม่อาจใช้บังคับย้อนหลังได้
เมื่อจอมพลพิบูลฯ ได้รับการปล่อยตัว ก็ได้กลับคืนสู่เวทีการเมืองเดิมอีกครั้งหนึ่ง โดยร่วมมือกับกลุ่มอนุรักษ์นิยม
-๑๒-
๒-๓ เดือนถัดมา ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล โดยต้องพระแสงปืนที่พระเศียรในห้องพระบรรทมมหาราชวัง จากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจและโดยคำแนะนำของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนชัยนาทนเรนทร ทางรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์ประกาศว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตโดยอุปัทวเหตุ โดยกระสุนจากพระแสงปืนของพระองค์เอง
ในวันนั้นเอง ข้าพเจ้าในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้เสนอรัฐสภาให้อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชขึ้นครองราชสมบัติแทนพระเชษฐานที่เสด็จสวรรคต เนื่องจากพระองค์ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สภาผู้แทนราษฎรจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทรเป็นประธาน คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ขอร้องให้ข้าพเจ้าตั้งคณะรัฐบาลขึ้นใหม่
หลังจากเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าพเจ้าได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยไม่มีผู้สมัครแข่งขัน ข้าพเจ้าสมัครใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้น มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งก็คงประกอบด้วยรัฐมนตรีฝ่ายก้าวหน้าและฝ่ายประชาธิปไตย แต่พวกอนุรักษ์นิยมกล่าวหาว่ารัฐบาลใหม่อยู่ภายใต้อาณัติของข้าพเจ้า ด้วยเหตุนี้พวกอนุรักษ์นิยมจึงเริ่มโจมตีข้าพเจ้าเป็นการส่วนตัว โดยใส่ร้ายข้าพเจ้าต่างๆ นานา เช่น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลไม่ได้เสด็จสวรรคตโดยอุปัทวเหตุ แต่ถูกลอบปลงพระชนม์โดยอดีตราชเลขานุการส่วนพระองค์ และมหาดเล็กของพระองค์เอง โดยมีข้าพเจ้าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด
การเผยแพร่ข่าวให้ร้ายแก่ข้าพเจ้าเช่นนี้ เป็นแผนการทำให้ประชาชนสับสน เพื่ออ้างเป็นเหตุให้คณะทหารก่อการรัฐประหารปฏิกิริยา ซึ่งข้าพเจ้าจะได้กล่าวต่อไปในบทที่ ๗
No comments:
Post a Comment