ตุลาแดงรำลึก
เรียบเรียงจากหนังสือประวัติรัฐธรรมนูญ ของคุณสุพจน์ ด่านตระกูล
เรียบเรียงจากหนังสือประวัติรัฐธรรมนูญ ของคุณสุพจน์ ด่านตระกูล
-๙-
รัฐบาลนายพจน์ สารสิน ที่สฤษดิ์ฯ สนับสนุนขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อแก่การรับรองรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและนานาประเทศ หลังจากจัดการให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๐ หลังจากการเลือกตั้งผ่านพ้นไปแล้ว รัฐบาลนายพจน์ สารสินก็ได้ลาออกไปในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๐๐ สภาเสียงข้างมากซึ่งเป็นเสียงของคณะรัฐประหาร ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐ มีมติเลือก พลโท ถนอม กิตติขจร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พลโท ถนอม กิตติขจร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พลโท ถนอม กิตติขจรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๑
พลโท ถนอม กิตติขจร ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใต้รัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม ๘ มีนาคม ๒๔๙๔ ตั้งแต่ ๑ มกราคม ถึง ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑ จึงได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และในวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑ นั้นเอง เวลาบ่าย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในโอกาสที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ แต่ในค่ำคืนนั้นเองเวลา ๒๑.๐๐ น. เสียงห้าวๆ ของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ได้ออกอากาศประกาศยึดอำนาจปกครองแผ่นดินอีกครั้งหนึ่งในนามของ “คณะปฏิวัติ” มีสาระสำคัญดังนี้
๑.คณะปฏิวัติได้กระทำการปฏิวัติโดยความยินยอมและสนับสนุนของรัฐบาลชุดที่ลาออกไป
๒.ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม ๒๔๙๕
๓.จะดำเนินการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ เทอดทูนพระมหากษัตริย์เสมอ และจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียใหม่ให้เหมาะสม
๔.ให้สภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง
๕.ศาลทั้งหมดคงมีอำนาจดำเนินการพิจารณาและพิจารณาอรรถคดีให้เป็นไปตามบทกฎหมายเช่นเดิมทุกประการ
๖.คณะปฏิวัติจะได้รับภาระบริหารประเทศโดยมีกองบัญชาการปฏิวัติซึ่งมีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด รักษาสถานการณ์ทั่วราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้จนกว่าจะได้ตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่
๗.ให้ปลัดกระทรวงทุกกระทรวงรักษาการในหน้าที่และบรรดาอำนาจที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่า เป็นอำนาจของรัฐมนตรีให้เป็นอำนาจของปลัดกระทรวง การปฏิบัติงานให้ขึ้นต่อหัวหน้าคณะปฏิวัติ..
๘.ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร และยุบพรรคการเมือง
จึงเป็นจุดจบรัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม ๘ มีนาคม ๒๔๙๕ เพียงแค่นี้ และต่อไปด้วยรัฐธรรมนูญเผด็จการของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพล สฤษดิ์ฯ ปกครองประเทศเยี่ยงอนารยชนภายใต้คำประกาศ “ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่ผู้เดียว” เป็นเวลา ๙๙ วัน จนถึงวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๐๒ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ใช้รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ ที่คณะปฏิวัติสร้างขึ้น เรียกว่า “ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ๒๘ มกราคม ๒๕๐๒
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปกครองประเทศตั้งแต่ทำรัฐประหาร ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑ และสืบต่อมาตามรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ฉบับ ๒๘ มกราคม ๒๕๐๒ จนถึงวันตายเมื่อ วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๐๖ รวมเวลาหลายปี
ในหลายปีที่จอมพลสฤษดิ์ฯ ครองเมือง นอกจากคนบริสุทธิ์จำนวนหนึ่ง เช่น รวม วงศ์พันธุ์ ครอง จันดาวงศ์ และคนอื่นๆ อีกหลายคนถูกฆ่าตาย โดยประกาศิตของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์แล้ว ยังมีอีกจำนวนมากมายรวมทั้งพวกที่เคยไชโยโห่ร้องอยากจะให้จอมพลสฤษดิ์ฯ เป็นนัสเซอร์แห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา จนพระยามัจจุราชต้องเข้ามาจัดการกับจอมพลสฤษดิ์ฯ สถานการณ์จึงค่อยคลี่คลายขึ้นบ้าง
รายละเอียดในพฤติกรรมของผู้นี้ ได้มีบันทึกไว้แล้วในเอกสารต่างๆ รวมทั้งเอกสารของทางราชการที่เกี่ยวกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง และนี่คือคนที่กษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร เมื่อ ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐ และโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา แต่กลับทำความเสื่อมเสียให้กับสถานบันกษัตริย์ และยิ่งกว่านั้นอนุสาวรีย์ของเขาในเครื่องแบบยศจอมพล ยังได้ถูกสร้างขึ้นที่จังหวัดขอนแก่นอย่างน่าอัปยศยิ่ง.
รัฐบาลนายพจน์ สารสิน ที่สฤษดิ์ฯ สนับสนุนขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อแก่การรับรองรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและนานาประเทศ หลังจากจัดการให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๐ หลังจากการเลือกตั้งผ่านพ้นไปแล้ว รัฐบาลนายพจน์ สารสินก็ได้ลาออกไปในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๐๐ สภาเสียงข้างมากซึ่งเป็นเสียงของคณะรัฐประหาร ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐ มีมติเลือก พลโท ถนอม กิตติขจร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พลโท ถนอม กิตติขจร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พลโท ถนอม กิตติขจรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๑
พลโท ถนอม กิตติขจร ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใต้รัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม ๘ มีนาคม ๒๔๙๔ ตั้งแต่ ๑ มกราคม ถึง ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑ จึงได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และในวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑ นั้นเอง เวลาบ่าย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในโอกาสที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ แต่ในค่ำคืนนั้นเองเวลา ๒๑.๐๐ น. เสียงห้าวๆ ของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ได้ออกอากาศประกาศยึดอำนาจปกครองแผ่นดินอีกครั้งหนึ่งในนามของ “คณะปฏิวัติ” มีสาระสำคัญดังนี้
๑.คณะปฏิวัติได้กระทำการปฏิวัติโดยความยินยอมและสนับสนุนของรัฐบาลชุดที่ลาออกไป
๒.ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม ๒๔๙๕
๓.จะดำเนินการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ เทอดทูนพระมหากษัตริย์เสมอ และจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียใหม่ให้เหมาะสม
๔.ให้สภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง
๕.ศาลทั้งหมดคงมีอำนาจดำเนินการพิจารณาและพิจารณาอรรถคดีให้เป็นไปตามบทกฎหมายเช่นเดิมทุกประการ
๖.คณะปฏิวัติจะได้รับภาระบริหารประเทศโดยมีกองบัญชาการปฏิวัติซึ่งมีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด รักษาสถานการณ์ทั่วราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้จนกว่าจะได้ตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่
๗.ให้ปลัดกระทรวงทุกกระทรวงรักษาการในหน้าที่และบรรดาอำนาจที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่า เป็นอำนาจของรัฐมนตรีให้เป็นอำนาจของปลัดกระทรวง การปฏิบัติงานให้ขึ้นต่อหัวหน้าคณะปฏิวัติ..
๘.ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร และยุบพรรคการเมือง
จึงเป็นจุดจบรัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม ๘ มีนาคม ๒๔๙๕ เพียงแค่นี้ และต่อไปด้วยรัฐธรรมนูญเผด็จการของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพล สฤษดิ์ฯ ปกครองประเทศเยี่ยงอนารยชนภายใต้คำประกาศ “ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่ผู้เดียว” เป็นเวลา ๙๙ วัน จนถึงวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๐๒ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ใช้รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ ที่คณะปฏิวัติสร้างขึ้น เรียกว่า “ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ๒๘ มกราคม ๒๕๐๒
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปกครองประเทศตั้งแต่ทำรัฐประหาร ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑ และสืบต่อมาตามรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ฉบับ ๒๘ มกราคม ๒๕๐๒ จนถึงวันตายเมื่อ วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๐๖ รวมเวลาหลายปี
ในหลายปีที่จอมพลสฤษดิ์ฯ ครองเมือง นอกจากคนบริสุทธิ์จำนวนหนึ่ง เช่น รวม วงศ์พันธุ์ ครอง จันดาวงศ์ และคนอื่นๆ อีกหลายคนถูกฆ่าตาย โดยประกาศิตของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์แล้ว ยังมีอีกจำนวนมากมายรวมทั้งพวกที่เคยไชโยโห่ร้องอยากจะให้จอมพลสฤษดิ์ฯ เป็นนัสเซอร์แห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา จนพระยามัจจุราชต้องเข้ามาจัดการกับจอมพลสฤษดิ์ฯ สถานการณ์จึงค่อยคลี่คลายขึ้นบ้าง
รายละเอียดในพฤติกรรมของผู้นี้ ได้มีบันทึกไว้แล้วในเอกสารต่างๆ รวมทั้งเอกสารของทางราชการที่เกี่ยวกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง และนี่คือคนที่กษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร เมื่อ ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐ และโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา แต่กลับทำความเสื่อมเสียให้กับสถานบันกษัตริย์ และยิ่งกว่านั้นอนุสาวรีย์ของเขาในเครื่องแบบยศจอมพล ยังได้ถูกสร้างขึ้นที่จังหวัดขอนแก่นอย่างน่าอัปยศยิ่ง.
1 comment:
ขอขอบคุณคุณ Rev2475 ค่ะ สำหรับบทความอันทรงคุณค่า ให้พวกเราได้อ่านกัน
Post a Comment