พระที่นั่งอนันตสมาคม
วันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ด้วยคณะราษฎร ข้าราชการ ทหาร พลเรือน ได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินไว้ได้แล้ว และได้เชิญสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ มีสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจเป็นต้น ไว้เป็นประกัน
ถ้าหากคณะราษฎรถูกทำร้ายด้วยประการใดๆ ก็จะต้องทำร้ายเจ้านายที่คุมไว้เป็นการตอบแทน
คณะราษฎรไม่ประสงค์จะแย่งชิงราชสมบัติแต่อย่างใด ความประสงค์อันยิ่งใหญ่ ก็เพื่อที่จะมีธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จึงขอเชิญใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทกลับคืนสู่พระนคร ทรงเป็นกษัตริย์ต่อไป โดยอยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ซึ่งคณะราษฎรได้สร้างขึ้น ถ้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทตอบปฏิเสธก็ดี หรือไม่ตอบภายใน ๑ ชั่วนาฬิกา นับแต่ได้รับหนังสือนี้ก็ดี คณะราษฎรจะได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน โดยเลือกเจ้านายพระองค์อื่นที่เห็นสมควรขขึ้นเป็นกษัตริย์
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
พ.อ.พระยาทรงสุรเดช
อ.พ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์
ด้วยคำขอร้อง หรือพูดตามภาษาชาวบ้านว่ายื่นคำขาดดังกล่าวข้างต้นนี้ พระองค์จึงเสด็จเข้าสู่พระนคร (ขณะนั้นทรงประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวลหัวหิน) ในตอนเย็นของวันที่ ๒๕ มิถุนายน ศกเดียวกัน และถึงพระนครในตอนดึกของวันนั้นเอง และในตอนเช้าวันที่ ๒๖ มิถุนายน ผู้แทนของคณะราษฎรได้เข้าเฝ้า ณ วังสุโขทัย พร้อมกฎหมาย ๒ ฉบับ ฉบับหนึ่งคือพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่คณะราษฎรที่กระทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ และอีกฉบับหนึ่งคือธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕
พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดนิรโทษกรรมในวันนั้นเอง โดยไม่มีผู้ใดต้องลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เพราะขณะนั้นพระองค์ยังครองสิทธิ์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ส่วนธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ พระองค์ทรงขอไว้ดูก่อนสักหนึ่งคืน รุ่งขึ้นวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ พระองค์จึงได้ลงพระปรมาภิไธย ยอมมอบพระราชอำนาจที่พระองค์มีอยู่อย่างล้นพ้นตามระบอบเผด็จสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กลับคืนให้แก่ราษฎรเจ้าของอำนาจโดยธรรม ซึ่งเป็นผู้ออกแรงงาน ไถหว่านเก็บเกี่ยวและก่อสร้างเลี้ยงสังคมมา ที่ถูกปล้นอำนาจปกครองไปตั้งแต่เผด็จการยุคทาส และสืบต่อมาถึงเผด็จการยุคศักดินา นับเป็นเวลาหลายพันปี
รัฐธรรมฉบับนี้ จึงถือเสมือนสัญญาประชาคมระหว่างสถาบันกษัตริย์กับราษฎร โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ซึ่งเป็นตัวแทนของสถาบันกษัตริย์อยู่ในขณะนั้น เป็นผู้ทรงลงพระปรมาภิไธย ด้วยทรงยอมรับสัจจะแห่งประวัติศาสตร์มนุษยชาติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑ ของรัฐธรรมนูญฉบับนั้นว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” โดยราษฎรทั้งหลายยอมรับให้พระองค์ทรงเป็นพระประมุขตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ ต่อมาว่า “กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ พระราชบัญญัติก็ดี คำวินิจฉัยของศาลก็ดี การอื่นๆ ซึ่งจะมีบทกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะก็ดี จะต้องกระทำในนามของกษัตริย์” แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗ ที่ระบุไว้ว่า “การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึงใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ”
คำดังกล่าวนี้ คือข้อตกลงหรือสัญญาประชาคมระหว่างสถาบันกษัตริย์กับราษฎรทั้งหลาย อันมีคณะราษฎรเป็นตัวแทนอยู่ในขณะนั้น และเรียกสัญญาประชาคมนี้ว่า ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ แต่พระองค์ทรงขอต่อรองให้เติมคำว่า “ชั่วคราว” เข้าไว้ด้วย ดังที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้ว่า “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕”
พระองค์ให้เหตุผลในการเติมคำว่า “ชั่วคราว” ไว้ในเอกสารสละราชสมบัติเมื่อ ๗ มีนาคม ๒๔๗๗ ว่าดังนี้
“..ครั้นเมื่อข้าพเจ้ากลับขึ้นไปกรุงเทพฯ แล้ว และได้เห็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่หลวงประดิษฐ์ (ปรีดี พนมยงค์)ได้นำมาให้ข้าพเจ้าลงนาม ข้าพเจ้าก็รู้สึกทันทีว่า หลักการของผู้ก่อการฯ กับหลักการของข้าพเจ้านั้นไม่พ้องกันเสียแล้ว...”
หลักการของผู้ก่อการฯ (เปลี่ยนแปลงการปกครอง) คืออะไร ? ก็ดังที่ปรากฏชัดเจนอยู่แล้วในมาตรา ๑ ของรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ พูดถึงที่ระบุว่า
“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย” แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ จำต้องทรงยินยอมลงพระปรมาภิไธยตามหนังสือกราบบังคมทูล หรือพูดภาษาชาวบ้านว่าหนังสือยื่นคำขาดของ ๓ พันเอกพระยาดังกล่าวข้างต้น พระองค์จึงขอเติมคำว่า “ชั่วคราว” ต่อท้ายรัฐธรรมนูญฉบับนั้น ด้วยหวังว่าในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร พระองค์จะได้มีส่วนด้วย และด้วยความปรารถนาดีอย่างบริสุทธิ์ใจที่มีต่อราษฎรทั้งหลายของคณะผู้ก่อการฯ หรือคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ จึงยินยอมให้พระองค์เติมคำว่า ชั่วคราว ลงไป และพระองค์ก็ไม่ผิดหวัง ดังถ้อยแถลงของประธานกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร (๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕) พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ที่ได้แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรสมัยวิสามัญครั้งที่ ๓๔ วันพุธที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๕ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม มีความตอนหนึ่งดังนี้
“..อนึ่ง ข้าพเจ้าขอเสนอด้วยว่า ในการร่างพระธรรมนูญนี้ อนุกรรมการได้ทำการติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ตลอดเวลา จนถึงอาจจะกล่าวได้ว่า ได้ร่วมกันทำข้อตกลงในร่างที่เสนอมานี้ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายและทรงเห็นชอบด้วยทุกประการ และที่กล่าวว่าทรงเห็นชอบนั้น ไม่ใช่ทางเห็นชอบด้วยอย่างข้อความที่กราบบังคมทูลขึ้นไป ยิ่งกว่านั้น เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก..”
ดังถ้อยแถลงของประธานอนุกรรมการยกร่างดังกล่าวข้างต้นว่า ได้ร่วมกันทำข้อความตลอดในร่างที่เสนอมานี้ หลักการสำคัญในมาตรา ๑ ขอรัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่ระบุว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” ได้เปลี่ยนมาเป็นมาตรา ๒ ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า “อำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ”
โดยเปลี่ยนคำภาษาไทย “อำนาจสูงสุดของประเทศ” เป็นภาษาบาลีว่า “อำนาจอธิปไตย” และเปลี่ยนหลักการประชาธิปไตยที่ยืนยันอำนาจสูงสุดนั้นว่า “เป็นของราษฎรทั้งหลาย” มาเป็น “อำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม”
ข้าวเป็นของชาวนา ที่เก็บอยู่ในยุ้งฉาง ย่อมแตกต่างจากข้าว “มาจาก” ชาวนา ที่เก็บไว้ในโกดังของเถ้าแก่ ฉันใด อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย ย่อมแตกต่างจากอำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม ฉันนั้น
นี่เป็นบาทก้าวแรกของพลังเก่าที่ล้าหลัง ที่อาศัยความเก๋าเบียดขับพลังใหม่ที่ก้าวหน้าในเชิงภาษาอย่างลุ่มลึก อันเป็นช่องทางก้าวต่อไปในการสถาปนาอำมาตยาธิปไตยในรูปแบบใหม่ภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตย ที่สอดรับกับผลประโยชน์ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยอาศัยพระบารมีอ้างความจงรักภักดีและผูกขาดความจงรักภักดี เป็นอาวุธทำลายฝ่ายตรงกันข้ามอย่างน่าอัปยศดังที่กำลังเป็นอยู่ในทุกวันนี้ (๒๕๕๐)
บาทก้าวที่สำคัญที่สุดในการรุกคืบหน้าของอำมาตยาธิปไตย คือ รัฐธรรมนูญ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ที่มีฉายาเรียกว่า “รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” หรือ “รัฐธรรมนูญตุ่มแดง” อันเป็นผลผลิตของรัฐประหารปฏิกิริยา ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ (ที่มีหัวหน้าชื่อ พลโท ผิน ชุณหะวัณ นายทหารนอกราชการ ผู้เป็นบิดาของอดีตนายกรัฐมนตรี พลเอกชาติชายฯ ซึ่งมีนายไกรศักดิ์ฯ เป็นหลานปู่) ที่ไปขุดเอาส่วนหนึ่งของระบบบริหารราชการแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ที่ตั้งสภาขึ้นเป็นที่ปรึกษาในพระองค์ เดิมมีชื่อว่า “ปรีวีเคาน์ซิล” คู่กับสภาอื่นอีก ๒ สภา คือ เสนาบดีสภา กับ เคาน์ซิลออฟสเตด (รัฐมนตรีสภา)
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงเรียกคณะปรีวีเคาน์ซิลว่า องคมนตรีสภา และทรงยกเลิกรัฐมนตรีที่ร้างรามาแล้วแต่ปลายรัชกาลก่อน จึงคงเหลืออยู่ ๒ สภาคือ องคมนตรีสภา กับ เสนาบดีสภา อีกคณะหนึ่ง
มาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ ๗ ทรงตั้งเพิ่มขึ้นอีกสภาหนึ่งเรียกว่า อภิรัฐมนตรีสภารวมเป็น ๓ สภา คือ อภิรัฐมนตรีสภา, เสนาบดีสภา, และองคมนตรีสภา ซึ่งมีหน้าที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและส่วนพระองค์
สภาต่างๆ ดังที่กล่าวมาโดยย่นย่อนี้ เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและส่วนพระองค์ จึงเป็นสัญลักษณ์ของระบอบเผด็จการสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยหลักการ หรือระบอบอำมาตยาธิปไตยโดยเนื้อหา ซึ่งมีความจำเป็นในยุคสมัยที่อำนาจสูงสุดของประเทศอยู่ที่พระมหากษัตริย์ พระองค์ท่านจึงจำเป็นต้องทรงมีสภาต่างๆ ไว้แบ่งเบาพระราชภาระ
แต่ระบอบดังกล่าวได้ลงจากเวทีประวัติศาสตร์ไปแล้วตามกฏวิวัฒนการของสังคม(ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้) ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ พร้อมกับการก้าวเข้ามาแทนที่ของระบอบใหม่ที่ก้าวหน้ากว่า นั่นคือ ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งมีสภาผู้แทนราษฎร มีคณะรัฐมนตรี เข้ามารับพระราชภาระในการบริหารราชการแผ่นดินแทนพระองค์ พระองค์จึงเป็นพระมิ่งขวัญของเมือง เป็นที่เคารพสักการะของราษฎรทั้งหลาย ไม่ต้องมีพระราชภาระในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังคำในระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษว่า เดอะคิงแคนดูโนรอง เพราะไม่ต้องพระราชภาระในการบริหารราชการแผ่นดินนั่นเอง จึง “แคนดูโนรอง” จึงไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะรื้อฟื้นองคมนตรีขึ้นมาอีกให้เป็นมัวหมองแก่พระองค์ ทั้งๆที่พระองค์ไม่ทรงเกี่ยวข้องด้วย และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไปสู่ความสมบูรณ์ นั่นคือ “สังคมประชาธิปไตย”
ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นว่า อภิรัฐมนตรี ที่รัฐธรรมนูญใต้ตุ่มขุดขึ้นมาเป็นประเดิม และได้เปลี่ยนเป็น องคมนตรี ในรัฐธรรมนูญ ๒๓ มีนาคม ๒๔๙๒ (ที่สืบต่อมาจากรัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม) จึงเป็นบาทก้าวต่อมาที่สำคัญในการรุกคืบหน้าของระบอบอำมาตยาธิปไตยในการเบียดขับระบอบประชาธิปไตยที่คณะราษฎรได้ก่อตั้งขึ้น โดยอ้างความจงรักภักดีเป็นโล่กำบัง นับแต่รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่มเป็นต้นมา จนถึงฉบับที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ (พ.ศ.๒๕๕๐) ดังปรากฏเป็นพยานหลักฐานอยู่ในคำขึ้นต้นหรือพระราชปรารภของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับที่กล่าวนั้น (ฉบับใต้ตุ่มถึงฉบับกำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้)ซึ่งต่างเหยียบย่ำพระบรมเดชานุภาพขึ้นมาเป็นบันได
กล่าวโดยสรุป ประวัติรัฐธรรมนูญไทยเท่าที่เป็นมาแล้วจึงมีอยู่เพียง ๒ ฉบับเท่านั้น โดยเนื้อหา คือ รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย โดยหลักการ(ฉบับ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ฉบับ ๑๐ มีนาคม ๒๔๗๕ ฉบับ ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๙)ที่มีเป้าหมายสู่สังคมประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ อันเป็นสังคมที่ประกันความสุขสมบูรณ์ของประชาชนตั้งแต่จากครรภ์มารดาจนถึงเชิงตะกอน รวมทั้งการมีสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคถ้วนหน้า
วันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ด้วยคณะราษฎร ข้าราชการ ทหาร พลเรือน ได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินไว้ได้แล้ว และได้เชิญสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ มีสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจเป็นต้น ไว้เป็นประกัน
ถ้าหากคณะราษฎรถูกทำร้ายด้วยประการใดๆ ก็จะต้องทำร้ายเจ้านายที่คุมไว้เป็นการตอบแทน
คณะราษฎรไม่ประสงค์จะแย่งชิงราชสมบัติแต่อย่างใด ความประสงค์อันยิ่งใหญ่ ก็เพื่อที่จะมีธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จึงขอเชิญใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทกลับคืนสู่พระนคร ทรงเป็นกษัตริย์ต่อไป โดยอยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ซึ่งคณะราษฎรได้สร้างขึ้น ถ้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทตอบปฏิเสธก็ดี หรือไม่ตอบภายใน ๑ ชั่วนาฬิกา นับแต่ได้รับหนังสือนี้ก็ดี คณะราษฎรจะได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน โดยเลือกเจ้านายพระองค์อื่นที่เห็นสมควรขขึ้นเป็นกษัตริย์
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
พ.อ.พระยาทรงสุรเดช
อ.พ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์
ด้วยคำขอร้อง หรือพูดตามภาษาชาวบ้านว่ายื่นคำขาดดังกล่าวข้างต้นนี้ พระองค์จึงเสด็จเข้าสู่พระนคร (ขณะนั้นทรงประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวลหัวหิน) ในตอนเย็นของวันที่ ๒๕ มิถุนายน ศกเดียวกัน และถึงพระนครในตอนดึกของวันนั้นเอง และในตอนเช้าวันที่ ๒๖ มิถุนายน ผู้แทนของคณะราษฎรได้เข้าเฝ้า ณ วังสุโขทัย พร้อมกฎหมาย ๒ ฉบับ ฉบับหนึ่งคือพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่คณะราษฎรที่กระทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ และอีกฉบับหนึ่งคือธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕
พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดนิรโทษกรรมในวันนั้นเอง โดยไม่มีผู้ใดต้องลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เพราะขณะนั้นพระองค์ยังครองสิทธิ์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ส่วนธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ พระองค์ทรงขอไว้ดูก่อนสักหนึ่งคืน รุ่งขึ้นวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ พระองค์จึงได้ลงพระปรมาภิไธย ยอมมอบพระราชอำนาจที่พระองค์มีอยู่อย่างล้นพ้นตามระบอบเผด็จสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กลับคืนให้แก่ราษฎรเจ้าของอำนาจโดยธรรม ซึ่งเป็นผู้ออกแรงงาน ไถหว่านเก็บเกี่ยวและก่อสร้างเลี้ยงสังคมมา ที่ถูกปล้นอำนาจปกครองไปตั้งแต่เผด็จการยุคทาส และสืบต่อมาถึงเผด็จการยุคศักดินา นับเป็นเวลาหลายพันปี
รัฐธรรมฉบับนี้ จึงถือเสมือนสัญญาประชาคมระหว่างสถาบันกษัตริย์กับราษฎร โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ซึ่งเป็นตัวแทนของสถาบันกษัตริย์อยู่ในขณะนั้น เป็นผู้ทรงลงพระปรมาภิไธย ด้วยทรงยอมรับสัจจะแห่งประวัติศาสตร์มนุษยชาติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑ ของรัฐธรรมนูญฉบับนั้นว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” โดยราษฎรทั้งหลายยอมรับให้พระองค์ทรงเป็นพระประมุขตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ ต่อมาว่า “กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ พระราชบัญญัติก็ดี คำวินิจฉัยของศาลก็ดี การอื่นๆ ซึ่งจะมีบทกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะก็ดี จะต้องกระทำในนามของกษัตริย์” แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗ ที่ระบุไว้ว่า “การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึงใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ”
คำดังกล่าวนี้ คือข้อตกลงหรือสัญญาประชาคมระหว่างสถาบันกษัตริย์กับราษฎรทั้งหลาย อันมีคณะราษฎรเป็นตัวแทนอยู่ในขณะนั้น และเรียกสัญญาประชาคมนี้ว่า ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ แต่พระองค์ทรงขอต่อรองให้เติมคำว่า “ชั่วคราว” เข้าไว้ด้วย ดังที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้ว่า “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕”
พระองค์ให้เหตุผลในการเติมคำว่า “ชั่วคราว” ไว้ในเอกสารสละราชสมบัติเมื่อ ๗ มีนาคม ๒๔๗๗ ว่าดังนี้
“..ครั้นเมื่อข้าพเจ้ากลับขึ้นไปกรุงเทพฯ แล้ว และได้เห็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่หลวงประดิษฐ์ (ปรีดี พนมยงค์)ได้นำมาให้ข้าพเจ้าลงนาม ข้าพเจ้าก็รู้สึกทันทีว่า หลักการของผู้ก่อการฯ กับหลักการของข้าพเจ้านั้นไม่พ้องกันเสียแล้ว...”
หลักการของผู้ก่อการฯ (เปลี่ยนแปลงการปกครอง) คืออะไร ? ก็ดังที่ปรากฏชัดเจนอยู่แล้วในมาตรา ๑ ของรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ พูดถึงที่ระบุว่า
“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย” แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ จำต้องทรงยินยอมลงพระปรมาภิไธยตามหนังสือกราบบังคมทูล หรือพูดภาษาชาวบ้านว่าหนังสือยื่นคำขาดของ ๓ พันเอกพระยาดังกล่าวข้างต้น พระองค์จึงขอเติมคำว่า “ชั่วคราว” ต่อท้ายรัฐธรรมนูญฉบับนั้น ด้วยหวังว่าในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร พระองค์จะได้มีส่วนด้วย และด้วยความปรารถนาดีอย่างบริสุทธิ์ใจที่มีต่อราษฎรทั้งหลายของคณะผู้ก่อการฯ หรือคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ จึงยินยอมให้พระองค์เติมคำว่า ชั่วคราว ลงไป และพระองค์ก็ไม่ผิดหวัง ดังถ้อยแถลงของประธานกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร (๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕) พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ที่ได้แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรสมัยวิสามัญครั้งที่ ๓๔ วันพุธที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๕ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม มีความตอนหนึ่งดังนี้
“..อนึ่ง ข้าพเจ้าขอเสนอด้วยว่า ในการร่างพระธรรมนูญนี้ อนุกรรมการได้ทำการติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ตลอดเวลา จนถึงอาจจะกล่าวได้ว่า ได้ร่วมกันทำข้อตกลงในร่างที่เสนอมานี้ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายและทรงเห็นชอบด้วยทุกประการ และที่กล่าวว่าทรงเห็นชอบนั้น ไม่ใช่ทางเห็นชอบด้วยอย่างข้อความที่กราบบังคมทูลขึ้นไป ยิ่งกว่านั้น เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก..”
ดังถ้อยแถลงของประธานอนุกรรมการยกร่างดังกล่าวข้างต้นว่า ได้ร่วมกันทำข้อความตลอดในร่างที่เสนอมานี้ หลักการสำคัญในมาตรา ๑ ขอรัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่ระบุว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” ได้เปลี่ยนมาเป็นมาตรา ๒ ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า “อำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ”
โดยเปลี่ยนคำภาษาไทย “อำนาจสูงสุดของประเทศ” เป็นภาษาบาลีว่า “อำนาจอธิปไตย” และเปลี่ยนหลักการประชาธิปไตยที่ยืนยันอำนาจสูงสุดนั้นว่า “เป็นของราษฎรทั้งหลาย” มาเป็น “อำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม”
ข้าวเป็นของชาวนา ที่เก็บอยู่ในยุ้งฉาง ย่อมแตกต่างจากข้าว “มาจาก” ชาวนา ที่เก็บไว้ในโกดังของเถ้าแก่ ฉันใด อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย ย่อมแตกต่างจากอำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม ฉันนั้น
นี่เป็นบาทก้าวแรกของพลังเก่าที่ล้าหลัง ที่อาศัยความเก๋าเบียดขับพลังใหม่ที่ก้าวหน้าในเชิงภาษาอย่างลุ่มลึก อันเป็นช่องทางก้าวต่อไปในการสถาปนาอำมาตยาธิปไตยในรูปแบบใหม่ภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตย ที่สอดรับกับผลประโยชน์ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยอาศัยพระบารมีอ้างความจงรักภักดีและผูกขาดความจงรักภักดี เป็นอาวุธทำลายฝ่ายตรงกันข้ามอย่างน่าอัปยศดังที่กำลังเป็นอยู่ในทุกวันนี้ (๒๕๕๐)
บาทก้าวที่สำคัญที่สุดในการรุกคืบหน้าของอำมาตยาธิปไตย คือ รัฐธรรมนูญ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ที่มีฉายาเรียกว่า “รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” หรือ “รัฐธรรมนูญตุ่มแดง” อันเป็นผลผลิตของรัฐประหารปฏิกิริยา ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ (ที่มีหัวหน้าชื่อ พลโท ผิน ชุณหะวัณ นายทหารนอกราชการ ผู้เป็นบิดาของอดีตนายกรัฐมนตรี พลเอกชาติชายฯ ซึ่งมีนายไกรศักดิ์ฯ เป็นหลานปู่) ที่ไปขุดเอาส่วนหนึ่งของระบบบริหารราชการแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ที่ตั้งสภาขึ้นเป็นที่ปรึกษาในพระองค์ เดิมมีชื่อว่า “ปรีวีเคาน์ซิล” คู่กับสภาอื่นอีก ๒ สภา คือ เสนาบดีสภา กับ เคาน์ซิลออฟสเตด (รัฐมนตรีสภา)
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงเรียกคณะปรีวีเคาน์ซิลว่า องคมนตรีสภา และทรงยกเลิกรัฐมนตรีที่ร้างรามาแล้วแต่ปลายรัชกาลก่อน จึงคงเหลืออยู่ ๒ สภาคือ องคมนตรีสภา กับ เสนาบดีสภา อีกคณะหนึ่ง
มาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ ๗ ทรงตั้งเพิ่มขึ้นอีกสภาหนึ่งเรียกว่า อภิรัฐมนตรีสภารวมเป็น ๓ สภา คือ อภิรัฐมนตรีสภา, เสนาบดีสภา, และองคมนตรีสภา ซึ่งมีหน้าที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและส่วนพระองค์
สภาต่างๆ ดังที่กล่าวมาโดยย่นย่อนี้ เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและส่วนพระองค์ จึงเป็นสัญลักษณ์ของระบอบเผด็จการสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยหลักการ หรือระบอบอำมาตยาธิปไตยโดยเนื้อหา ซึ่งมีความจำเป็นในยุคสมัยที่อำนาจสูงสุดของประเทศอยู่ที่พระมหากษัตริย์ พระองค์ท่านจึงจำเป็นต้องทรงมีสภาต่างๆ ไว้แบ่งเบาพระราชภาระ
แต่ระบอบดังกล่าวได้ลงจากเวทีประวัติศาสตร์ไปแล้วตามกฏวิวัฒนการของสังคม(ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้) ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ พร้อมกับการก้าวเข้ามาแทนที่ของระบอบใหม่ที่ก้าวหน้ากว่า นั่นคือ ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งมีสภาผู้แทนราษฎร มีคณะรัฐมนตรี เข้ามารับพระราชภาระในการบริหารราชการแผ่นดินแทนพระองค์ พระองค์จึงเป็นพระมิ่งขวัญของเมือง เป็นที่เคารพสักการะของราษฎรทั้งหลาย ไม่ต้องมีพระราชภาระในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังคำในระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษว่า เดอะคิงแคนดูโนรอง เพราะไม่ต้องพระราชภาระในการบริหารราชการแผ่นดินนั่นเอง จึง “แคนดูโนรอง” จึงไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะรื้อฟื้นองคมนตรีขึ้นมาอีกให้เป็นมัวหมองแก่พระองค์ ทั้งๆที่พระองค์ไม่ทรงเกี่ยวข้องด้วย และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไปสู่ความสมบูรณ์ นั่นคือ “สังคมประชาธิปไตย”
ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นว่า อภิรัฐมนตรี ที่รัฐธรรมนูญใต้ตุ่มขุดขึ้นมาเป็นประเดิม และได้เปลี่ยนเป็น องคมนตรี ในรัฐธรรมนูญ ๒๓ มีนาคม ๒๔๙๒ (ที่สืบต่อมาจากรัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม) จึงเป็นบาทก้าวต่อมาที่สำคัญในการรุกคืบหน้าของระบอบอำมาตยาธิปไตยในการเบียดขับระบอบประชาธิปไตยที่คณะราษฎรได้ก่อตั้งขึ้น โดยอ้างความจงรักภักดีเป็นโล่กำบัง นับแต่รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่มเป็นต้นมา จนถึงฉบับที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ (พ.ศ.๒๕๕๐) ดังปรากฏเป็นพยานหลักฐานอยู่ในคำขึ้นต้นหรือพระราชปรารภของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับที่กล่าวนั้น (ฉบับใต้ตุ่มถึงฉบับกำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้)ซึ่งต่างเหยียบย่ำพระบรมเดชานุภาพขึ้นมาเป็นบันได
กล่าวโดยสรุป ประวัติรัฐธรรมนูญไทยเท่าที่เป็นมาแล้วจึงมีอยู่เพียง ๒ ฉบับเท่านั้น โดยเนื้อหา คือ รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย โดยหลักการ(ฉบับ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ฉบับ ๑๐ มีนาคม ๒๔๗๕ ฉบับ ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๙)ที่มีเป้าหมายสู่สังคมประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ อันเป็นสังคมที่ประกันความสุขสมบูรณ์ของประชาชนตั้งแต่จากครรภ์มารดาจนถึงเชิงตะกอน รวมทั้งการมีสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคถ้วนหน้า
กับอีกฉบับหนึ่ง คือ รัฐธรรมนูญอำมาตยาธิปไตย โดยหลักการที่มีคณะองคมนตรีเป็นสัญลักษณ์ (โดยไม่ต้องพิจารณามาตราต่างๆให้เสียเวลา).
เรียบเรียงจาก ประวัติรัฐธรรมนูญ – สุพจน์ ด่านตระกูล
No comments:
Post a Comment