เส้นทางสู่รัฐประหาร ๒๕๔๙
รูปแบบการปกครองดังกล่าวนี้มีอันต้องสะดุดไปด้วยเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕(หรือพฤษภาทมิฬ) ที่เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างทหารกับประชาชน และได้ปูทางให้เกิดกระบวนการปฏิรูปเป็นระยะเวลาห้าปี จนเกิดการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ นี้ได้สร้างเสถียรภาพทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งทำให้ประเทศไทยอยู่บนเส้นทางที่จะมุ่งไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง
การขึ้นสู่อำนาจของทักษิณ ชินวัตร
ทักษิณ ชินวัตร เข้าสู่การเมืองเมื่อปี ๒๕๓๗ โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเป็นระยะเวลาสั้นๆ และหลังจากนั้นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีสองครั้งในรัฐบาลสองชุด เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๑ ทักษิณจัดตั้งพรรคไทยรักไทยซึ่งชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี ๒๕๔๔ ด้วยคะแนนท่วมท้น หลังจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนครบวาระ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏมก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ทักษิณและพรรคไทยรักไทยยังคงได้รับเสียงข้างมากอีกครั้งในการเลือกตั้งปี ๒๕๔๘ ด้วยจุดแข็งจากความสำเร็จในการบริหารประเทศ พรรคไทยรักไทยครองจำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรถึงสามในสี่ ทำให้ทักษิณสามารถกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สอง
รัฐบาลทักษิณที่มาจากการเลือกตั้งได้พยายามควบคุมกระบวนการกำหนดนโยบายและจัดให้ทหารอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลพลเรือน ซึ่งล้วนเป็นอำนาจที่ถูกสงวนภายใต้การควบคุมของสถาบันที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมาช้านาน ทำให้กลุ่มอำมาตย์ส่วนหนึ่งให้การสนับสนุนการประท้วงบนท้องถนนที่เรียกร้องให้กษัตริย์และทหารเข้ามาปลดรัฐบาลไทยรักไทยออกไป ทักษิณถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่มักถูกนำมาใช้ทำลายชื่อเสียงของบุคคลที่เป็นภัยต่อผลประโยชน์ของกลุ่มอำมาตย์
แม้จะได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญมานานแล้ว แต่ประเทศไทยกลับมีลักษณะความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงอยู่น้อยมาก ตั้งแต่ปี ๒๔๗๕ การเปลี่ยนผ่านอำนาจส่วนใหญ่มักจะไม่เป็นไปตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการเปลี่ยนผ่านโดยการรัฐประหาร นอกจากในช่วงระยะเวลาสั้นๆสามช่วงที่อาจเรียกว่าเป็นประชาธิปไตย “ที่แท้จริง”(พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๐, ๒๕๑๖-๒๕๑๙, ๒๕๓๑-๒๕๓๕) ซึ่งล้วนถูกปิดฉากโดยการแทรกแซงของทหารแล้ว ประเทศไทยนับแต่ปี ๒๔๗๕ ถูกปกครองโดยระบอบที่มีส่วนผสมทั้งประชาธิปไตยและอำนาจนิยมในระดับที่แตกต่างกันไป โดยระบอบเหล่านี้มีสิ่งคล้ายกันคือ อำนาจของกลุ่ม “อำมาตย์” ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง (อันเป็นเครือข่ายของข้าราชการพลเรือนและทหาร รวมถึงกลุ่มธุรกิจครอบครัวขนาดใหญ่...) ที่ครอบงำเหนือฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง
รูปแบบการปกครองดังกล่าวนี้มีอันต้องสะดุดไปด้วยเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕(หรือพฤษภาทมิฬ) ที่เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างทหารกับประชาชน และได้ปูทางให้เกิดกระบวนการปฏิรูปเป็นระยะเวลาห้าปี จนเกิดการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ นี้ได้สร้างเสถียรภาพทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งทำให้ประเทศไทยอยู่บนเส้นทางที่จะมุ่งไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง
การขึ้นสู่อำนาจของทักษิณ ชินวัตร
ทักษิณ ชินวัตร เข้าสู่การเมืองเมื่อปี ๒๕๓๗ โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเป็นระยะเวลาสั้นๆ และหลังจากนั้นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีสองครั้งในรัฐบาลสองชุด เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๑ ทักษิณจัดตั้งพรรคไทยรักไทยซึ่งชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี ๒๕๔๔ ด้วยคะแนนท่วมท้น หลังจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนครบวาระ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏมก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ทักษิณและพรรคไทยรักไทยยังคงได้รับเสียงข้างมากอีกครั้งในการเลือกตั้งปี ๒๕๔๘ ด้วยจุดแข็งจากความสำเร็จในการบริหารประเทศ พรรคไทยรักไทยครองจำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรถึงสามในสี่ ทำให้ทักษิณสามารถกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สอง
รัฐบาลทักษิณที่มาจากการเลือกตั้งได้พยายามควบคุมกระบวนการกำหนดนโยบายและจัดให้ทหารอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลพลเรือน ซึ่งล้วนเป็นอำนาจที่ถูกสงวนภายใต้การควบคุมของสถาบันที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมาช้านาน ทำให้กลุ่มอำมาตย์ส่วนหนึ่งให้การสนับสนุนการประท้วงบนท้องถนนที่เรียกร้องให้กษัตริย์และทหารเข้ามาปลดรัฐบาลไทยรักไทยออกไป ทักษิณถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่มักถูกนำมาใช้ทำลายชื่อเสียงของบุคคลที่เป็นภัยต่อผลประโยชน์ของกลุ่มอำมาตย์