“จนทุกวันนี้ ประวัติศาสตร์ไทยต้องเป็นพิการ ไม่สมประกอบ เพราะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองจนหมดสิ้น ความเป็นศาสตร์ “วิชาประวัติศาสตร์ไทย” ถูกกำหนดกรอบให้ตกอยู่ตามขอบเขต “ขาว-ดำ” ของอุดมการณ์และทฤษฎี ทั้งของ “ขวา” และ “ซ้าย” ซึ่งต่างก็มีพระเอกกับผู้ร้ายสำเร็จรูปตายตัว แทนที่จะมองข้อเท็จจริงและเหตุผลที่เกิดขึ้นกันอย่างตรงๆ ด้วยสายตาที่ไม่เอนเอียง”
ในปี ๒๕๔๓ เป็นปีที่ครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาลของ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ และก็ได้รับการเชิดชูเกียรติด้วยการที่รัฐบาลไทยเสนอชื่อให้องค์การยูเนสโก(United Nations Educational Scientific and Cultural Organization) ประกาศรับรอง (ผ่านมาได้อย่างฉิวเฉียด) ในฐานะ “บุคคลสำคัญของโลก” มีการจัดการเฉลิมฉลองกันทั้งปีทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน
ดูเหมือนว่า “นามนั้น” ปรีดี พนมยงค์ จะได้รับการ “ขุดแต่ง” (excavated) ขึ้นมา “ฟื้นฟูและบูรณะ” (restored and renovated) ใหม่ในวงกว้างได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็น่าเชื่อว่า กระบวนการ demonization อันยาวนานเป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษ ที่กระทำอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพโดยความร่วมมือระหว่างฝ่ายอำนาจนิยมกับอนุรักษ์นิยม ทั้งรัฐและเอกชนที่เต็มไปด้วยโลภะโทสะและโมหะ ตลอดจนผลประโยชน์ส่วนบุคคลและพรรคพวก (พร้อมด้วยความร่วมมือโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวก็ตามของผู้ที่ยึดอยู่กับ political quietism หรือลัทธิ “เงียบนิยม” ทางการเมือง) นั้นก็น่าเชื่อว่า ภาพลักษณ์อันดำมืดและความเป็น “ปิศาจ” ถูกฝังลึกลงไปในความทรงจำของผู้คนจำนวนไม่น้อยก็ยังคงอยู่กับเราไปอีกนาน
ท่ามกลางกระบวนการของการสร้าง (construct) ภาพลักษณ์ที่ดำมืดและเป็นลบก็มีกระบวนการที่พยายามจะ “รื้อถอน” (deconstruct) เพื่อ “ปฏิสังขรณ์” ขึ้นใหม่ ซึ่งภาพของชีวิตและบทบาทของท่านปรีดี พนมยงค์ ในกระบวนการด้านนี้ ดูเหมือนจะเป็นผู้รักความเป็นธรรม ทั้งผู้ใกล้ชิดสนิทสนมกับ ฯพณฯ ท่านปรีดีเอง อย่างงานของ ไสว สุทธิพิทักษ์ เดือน บุญนาค หรือ วิชิตวงศ์ ณ ป้องเพชร ตลอดจนผลงานของผู้ที่สนใจข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์อย่าง สุพจน์ ด่านตระกูล รวมทั้งความโชคดีและมองการณ์ไกลของท่านปรีดีเอง ที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง จนมีลูกศิษย์ลูกหาทั้งโดยตรงและโดยอ้อมรุ่นแล้ว รุ่นเล่าออกมาประกาก้องว่า
ในปี ๒๕๔๓ เป็นปีที่ครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาลของ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ และก็ได้รับการเชิดชูเกียรติด้วยการที่รัฐบาลไทยเสนอชื่อให้องค์การยูเนสโก(United Nations Educational Scientific and Cultural Organization) ประกาศรับรอง (ผ่านมาได้อย่างฉิวเฉียด) ในฐานะ “บุคคลสำคัญของโลก” มีการจัดการเฉลิมฉลองกันทั้งปีทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน
ดูเหมือนว่า “นามนั้น” ปรีดี พนมยงค์ จะได้รับการ “ขุดแต่ง” (excavated) ขึ้นมา “ฟื้นฟูและบูรณะ” (restored and renovated) ใหม่ในวงกว้างได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็น่าเชื่อว่า กระบวนการ demonization อันยาวนานเป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษ ที่กระทำอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพโดยความร่วมมือระหว่างฝ่ายอำนาจนิยมกับอนุรักษ์นิยม ทั้งรัฐและเอกชนที่เต็มไปด้วยโลภะโทสะและโมหะ ตลอดจนผลประโยชน์ส่วนบุคคลและพรรคพวก (พร้อมด้วยความร่วมมือโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวก็ตามของผู้ที่ยึดอยู่กับ political quietism หรือลัทธิ “เงียบนิยม” ทางการเมือง) นั้นก็น่าเชื่อว่า ภาพลักษณ์อันดำมืดและความเป็น “ปิศาจ” ถูกฝังลึกลงไปในความทรงจำของผู้คนจำนวนไม่น้อยก็ยังคงอยู่กับเราไปอีกนาน
ท่ามกลางกระบวนการของการสร้าง (construct) ภาพลักษณ์ที่ดำมืดและเป็นลบก็มีกระบวนการที่พยายามจะ “รื้อถอน” (deconstruct) เพื่อ “ปฏิสังขรณ์” ขึ้นใหม่ ซึ่งภาพของชีวิตและบทบาทของท่านปรีดี พนมยงค์ ในกระบวนการด้านนี้ ดูเหมือนจะเป็นผู้รักความเป็นธรรม ทั้งผู้ใกล้ชิดสนิทสนมกับ ฯพณฯ ท่านปรีดีเอง อย่างงานของ ไสว สุทธิพิทักษ์ เดือน บุญนาค หรือ วิชิตวงศ์ ณ ป้องเพชร ตลอดจนผลงานของผู้ที่สนใจข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์อย่าง สุพจน์ ด่านตระกูล รวมทั้งความโชคดีและมองการณ์ไกลของท่านปรีดีเอง ที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง จนมีลูกศิษย์ลูกหาทั้งโดยตรงและโดยอ้อมรุ่นแล้ว รุ่นเล่าออกมาประกาก้องว่า
พ่อนำชาติด้วยสมองและสองแขน
พ่อสร้างแคว้นธรรมศาสตร์ประกาศศรี
พ่อของข้านามระบือชื่อปรีดีฯ
แต่คนดีเมืองไทย ไม่ต้องการ
ในการเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปี ของ “มหาบุรุษ สามัญชน” หนึ่งในกิจกรรมนี้ก็คือ ความพยายามที่จะเรียนรู้ชีวิตและผลงานของท่านปรีดี และแน่นอนที่สุดก็คือ ความเข้าใจที่ถูกต้องว่า “ท่านได้ทำอะไร และไม่ได้ทำอะไร” ทั้ง “สำเร็จและล้มเหลว” ในความเป็นมนุษย์ปุถุชน (หาใช่เทพ) ของท่าน และที่สำคัญก็คือใน “สิ่งนั้นที่เรียกว่าประวัติศาสตร์” เป็นเรื่องของ “ข้อเท็จจริงบริสุทธิ์” หรือว่า “ถูกสร้าง ต่อเติม เสริมแต่ง” ขึ้นมาได้อย่างไร มีความจำเป็นหรือไม่เพียงใด ที่ศาสตร์แห่งอดีตนั้นจำเป็นที่จะต้อง “ถูกรื้อถอนและปฏิสังขรณ์” ขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้เพื่อคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต จะได้ไม่ต้องเดินวนและอับจนอยู่ในความมืดบอดดังเช่นที่เป็นมานานแสนนาน
ผลงานของสุพจน์ ด่านตระกูล ชิ้นนี้ เป็นการคัดเลือกและรวบรวมในรูปแบบของ “สรรนิพนธ์” หรือ anthology เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงสิ่งที่ “ปรีดีคิด ปรีดีเขียน” เป็นการนำเสนอเอกสารขั้นต้น พร้อมกับอธิบายต่อท้ายเพื่อทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลในการศึกษาชีวิตและผลงานของ “มหาบุรุษ-สามัญชน” ผู้นี้
สุพจน์ ด่านตระกูล เป็นหนึ่งในบรรดานัก “ขุดแต่ง” (excavated) และนัก “ฟื้นฟูและบูรณะ” (restored and renovated) “ปรีดี พนมยงค์” น่าแปลกที่สุพจน์นั้นหาได้เป็นญาติมิตรสนิท หาได้เคยทำงานร่วม หรือแม้แต่จะเป็นลูกศิษย์ (มธก.) ของ ฯพณฯ ปรีดี แต่อย่างใดไม่ สุพจน์ “เรียนไม่จบระดับมัธยม” และจากคำบอกเล่าของสุพจน์เอง ( ๕ เมษายน ๒๕๔๒) ก็บอกว่า
“ผมเกิดในครอบครัวของพ่อค้าย่อยในชนบท เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๔๖๖ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ณ บ้านปลายคลองหมู่ที่ ๖ ตำบลเชียรเขา อำเภอปากพนัง (ต่อมาได้แยกเป็นอำเภอเชียรใหญ่และปัจจุบันได้แยกเป็นอำเภอเฉลิมพระเกียรติ) จังหวัดนครศรีธรรมราช”
สุพจน์เล่าต่อไปว่า
“เริ่มการศึกษาเบื้องต้นจากโรงเรียนประชาบาลใกล้บ้าน แล้วไปต่อชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนประจำจังหวัด และชั้นมัธยมปลายที่กรุงเทพมหานคร แต่ด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ การศึกษาภายใต้ระบบโรงเรียนก็ต้องยุติลงในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ขณะกำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมปีที่ ๖”
กล่าวได้ว่าหลังจากนั้นแล้วสุพจน์ก็เล่าเรียนจาก “มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต” ดังที่ได้เล่าให้ฟังต่อไปอีกว่า “ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาภายใต้ระบบโรงเรียนจึงเพียงอ่านออก เขียนได้ และคิดเป็น และก็ได้อาศัยความรู้อ่านออก เขียนได้ และคิดเป็นที่ได้มาจากการศึกษาภายใต้ระบบโรงเรียน ศึกษาเรียนรู้โลกต่อมาทั้งโอกาสโลก สังขารโลก และสัตตโลก เพื่ออธิบายโลกและเปลี่ยนแปลงโลก”
“ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ พรรคพวกได้ชักนำเข้าทำงานกับกองทัพญี่ปุ่นในฐานะเสมียนโกดัง ประจำอยู่ที่ท่าเรือเขาฝาซี อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง อันเป็นท่าเรือที่ญี่ปุ่นสร้างขึ้นใหม่บนฝั่งแม่น้ำละอุ่น กม. ๙๓ เพื่อบริการขนส่งยุทธสัมภาระและกำลังพลทางทะเล จากประเทศไทยสู่พม่าอีกเส้นทางหนึ่ง และในโอกาสนั้นได้เข้าร่วมกับพวกต่อต้านญี่ปุ่น (เสรีไทย) ทำหน้าที่รายงานความเคลื่อนไหวของกำลังพลและยุทธปัจจัยของฝ่ายญี่ปุ่นที่ผ่านเข้าออกทางท่าเขาฝาซี”
ดูเหมือนสงครามโลกครั้งที่ ๒ นี่แหละที่ทำให้สุพจน์ ด่านตระกูล เข้าไปสัมผัสกับปรีดี พนมยงค์โดยไม่รู้ตัว และก็เรียนรู้อะไรต่อมิอะไรจากประสบการณ์ของความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวงของโลกในกลางศตวรรษที่แล้ว และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ “ภายหลังสงครามได้เข้าทำงานหนังสือพิมพ์ เริ่มจากเจ้าหน้าที่ตรวจปรู๊ฟ (พิสูจน์อักษร) ผู้สื่อข่าวโรงพัก (ข่าวอาชญากรรม) ผู้สื่อข่าวกระทรวง( ข่าวการเมืองและข่าวราชการ) และจากหน้าที่ผู้สื่อข่าวการเมือง จึงทำให้เกิดความสำนึกทางการเมืองและนำไปสู่การเคลื่อนไหวทางการเมือง
จนกระทั่งถูกจับกุมในคดี ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ (หรือที่รู้จักกันในนามของกบฏสันติภาพ) ในข้อหากบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก ๒๐ ปี แต่ลดเหลือ ๑๓ ปี ๔ เดือน แต่ติดคุกอยู่ประมาณ ๕ ปีก็ได้รับนิรโทษกรรมในคราวฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ออกจากคุณมาประกอบอาชีพหนังสือพิมพ์อยู่ประมาณ ๑ ปี ก็ถูกจับกุมอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๕๐๑ ในยุคเผด็จการของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในข้อหากบฏภายในราชอาณาจักรและมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ถูกศาลทหารกรุงเทพพิพากษาลงโทษจำคุก ๓ ปี ในความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ และยกฟ้องข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์”
มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (ในคุก) นั้น ทำให้สุพจน์กล่าวอย่างมั่นใจว่า “โดยที่มีความสำนึกทางการเมืองและสนใจการเมือง จึงได้ขวนขวายศึกษาหาความรู้เรื่องการเมืองจากท่านผู้รู้ ที่มีความคิดทางการเมือง ฝ่ายก้าวหน้า รวมทั้งแสวงหาหนังสือฝ่ายก้าวหน้ามาอ่าน และสนใจศึกษค้นคว้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยภายหลัง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ อย่างรับผิดชอบ”
สุพจน์กล่าวเสริมอีกว่า
“รวมทั้งเจริญรอยตามบาทพระพุทธองค์ ศึกษาค้นคว้าเรื่องของโลกทั้งสามอย่างมนสิการ จึงได้สรุปความเข้าใจออกมาเป็นข้อเขียนจำนวนหนึ่ง มีต้นฉบับอยู่ประมาณ ๗๐ เรื่อง ส่วนเขียนแถลงการณ์และสาส์นในโอกาสต่างๆ นั้นอีกจำนวนหนึ่ง”
ซึ่งรวมแล้วอาจจะมากกว่าผลงานของดุษฎีบัณฑิตหรือศาสตราจารย์ (ของรัฐ)ด้วยซ้ำไป
ในบรรดาผลงานนิพนธ์เหล่านั้น ก็มีสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็น magnum opus คือ ชีวิตและงานของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ที่ตีพิมพ์ครั้งแรก ๒๕๑๔ (และตีพิมพ์ครั้งที่ ๓ ปี ๒๕๔๓) รวมอยู่ด้วย
จากการค้นคว้างานชิ้นนี้ก็กลายเป็นฐานทางวิชาการอย่างสำคัญที่ทำให้สุพจน์ ด่านตระกูล สามารถ “ขุดแต่ง ฟื้นฟู และบูรณะ” ปรีดี พนมยงค์ ได้อย่างเข้มข้น รวมทั้งชุดย่อยๆ เล็กๆ ที่ออกมาเป็นครั้งคราว ราคาถูก ในช่วงทศวรรษ ๒๕๑๐ ก็ทำให้ประชามหาชนพอจะได้เปิดหู เปิดตาขึ้นบ้างต่อ “สัจจะและความเป็นจริง” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “หน้าประวัติศาสตร์อันดำมืดและบิดเบี้ยว” นั้นของ “ชนชาติไทย”
การรวบรวมและจัดพิมพ์ครั้งนี้ ก็เพื่อเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปีชาตกาลฯ ดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้โดยความสนับสนุนของคณะกรรมการดำเนินงานฉลอง ๑๐๐ ปีชาตกาลฯ ภาคเอกชน และก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลงานนี้จะมีส่วนในกระบวนการที่เกิดขึ้นใหม่ดังบทกวีของ “เฉินซัน” ๒๐ มิถุนายน ๒๕๒๗ ที่ว่า
เมื่อความดีทุกอย่างยังคงอยู่
ในการเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปี ของ “มหาบุรุษ สามัญชน” หนึ่งในกิจกรรมนี้ก็คือ ความพยายามที่จะเรียนรู้ชีวิตและผลงานของท่านปรีดี และแน่นอนที่สุดก็คือ ความเข้าใจที่ถูกต้องว่า “ท่านได้ทำอะไร และไม่ได้ทำอะไร” ทั้ง “สำเร็จและล้มเหลว” ในความเป็นมนุษย์ปุถุชน (หาใช่เทพ) ของท่าน และที่สำคัญก็คือใน “สิ่งนั้นที่เรียกว่าประวัติศาสตร์” เป็นเรื่องของ “ข้อเท็จจริงบริสุทธิ์” หรือว่า “ถูกสร้าง ต่อเติม เสริมแต่ง” ขึ้นมาได้อย่างไร มีความจำเป็นหรือไม่เพียงใด ที่ศาสตร์แห่งอดีตนั้นจำเป็นที่จะต้อง “ถูกรื้อถอนและปฏิสังขรณ์” ขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้เพื่อคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต จะได้ไม่ต้องเดินวนและอับจนอยู่ในความมืดบอดดังเช่นที่เป็นมานานแสนนาน
ผลงานของสุพจน์ ด่านตระกูล ชิ้นนี้ เป็นการคัดเลือกและรวบรวมในรูปแบบของ “สรรนิพนธ์” หรือ anthology เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงสิ่งที่ “ปรีดีคิด ปรีดีเขียน” เป็นการนำเสนอเอกสารขั้นต้น พร้อมกับอธิบายต่อท้ายเพื่อทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลในการศึกษาชีวิตและผลงานของ “มหาบุรุษ-สามัญชน” ผู้นี้
สุพจน์ ด่านตระกูล เป็นหนึ่งในบรรดานัก “ขุดแต่ง” (excavated) และนัก “ฟื้นฟูและบูรณะ” (restored and renovated) “ปรีดี พนมยงค์” น่าแปลกที่สุพจน์นั้นหาได้เป็นญาติมิตรสนิท หาได้เคยทำงานร่วม หรือแม้แต่จะเป็นลูกศิษย์ (มธก.) ของ ฯพณฯ ปรีดี แต่อย่างใดไม่ สุพจน์ “เรียนไม่จบระดับมัธยม” และจากคำบอกเล่าของสุพจน์เอง ( ๕ เมษายน ๒๕๔๒) ก็บอกว่า
“ผมเกิดในครอบครัวของพ่อค้าย่อยในชนบท เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๔๖๖ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ณ บ้านปลายคลองหมู่ที่ ๖ ตำบลเชียรเขา อำเภอปากพนัง (ต่อมาได้แยกเป็นอำเภอเชียรใหญ่และปัจจุบันได้แยกเป็นอำเภอเฉลิมพระเกียรติ) จังหวัดนครศรีธรรมราช”
สุพจน์เล่าต่อไปว่า
“เริ่มการศึกษาเบื้องต้นจากโรงเรียนประชาบาลใกล้บ้าน แล้วไปต่อชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนประจำจังหวัด และชั้นมัธยมปลายที่กรุงเทพมหานคร แต่ด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ การศึกษาภายใต้ระบบโรงเรียนก็ต้องยุติลงในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ขณะกำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมปีที่ ๖”
กล่าวได้ว่าหลังจากนั้นแล้วสุพจน์ก็เล่าเรียนจาก “มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต” ดังที่ได้เล่าให้ฟังต่อไปอีกว่า “ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาภายใต้ระบบโรงเรียนจึงเพียงอ่านออก เขียนได้ และคิดเป็น และก็ได้อาศัยความรู้อ่านออก เขียนได้ และคิดเป็นที่ได้มาจากการศึกษาภายใต้ระบบโรงเรียน ศึกษาเรียนรู้โลกต่อมาทั้งโอกาสโลก สังขารโลก และสัตตโลก เพื่ออธิบายโลกและเปลี่ยนแปลงโลก”
“ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ พรรคพวกได้ชักนำเข้าทำงานกับกองทัพญี่ปุ่นในฐานะเสมียนโกดัง ประจำอยู่ที่ท่าเรือเขาฝาซี อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง อันเป็นท่าเรือที่ญี่ปุ่นสร้างขึ้นใหม่บนฝั่งแม่น้ำละอุ่น กม. ๙๓ เพื่อบริการขนส่งยุทธสัมภาระและกำลังพลทางทะเล จากประเทศไทยสู่พม่าอีกเส้นทางหนึ่ง และในโอกาสนั้นได้เข้าร่วมกับพวกต่อต้านญี่ปุ่น (เสรีไทย) ทำหน้าที่รายงานความเคลื่อนไหวของกำลังพลและยุทธปัจจัยของฝ่ายญี่ปุ่นที่ผ่านเข้าออกทางท่าเขาฝาซี”
ดูเหมือนสงครามโลกครั้งที่ ๒ นี่แหละที่ทำให้สุพจน์ ด่านตระกูล เข้าไปสัมผัสกับปรีดี พนมยงค์โดยไม่รู้ตัว และก็เรียนรู้อะไรต่อมิอะไรจากประสบการณ์ของความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวงของโลกในกลางศตวรรษที่แล้ว และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ “ภายหลังสงครามได้เข้าทำงานหนังสือพิมพ์ เริ่มจากเจ้าหน้าที่ตรวจปรู๊ฟ (พิสูจน์อักษร) ผู้สื่อข่าวโรงพัก (ข่าวอาชญากรรม) ผู้สื่อข่าวกระทรวง( ข่าวการเมืองและข่าวราชการ) และจากหน้าที่ผู้สื่อข่าวการเมือง จึงทำให้เกิดความสำนึกทางการเมืองและนำไปสู่การเคลื่อนไหวทางการเมือง
จนกระทั่งถูกจับกุมในคดี ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ (หรือที่รู้จักกันในนามของกบฏสันติภาพ) ในข้อหากบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก ๒๐ ปี แต่ลดเหลือ ๑๓ ปี ๔ เดือน แต่ติดคุกอยู่ประมาณ ๕ ปีก็ได้รับนิรโทษกรรมในคราวฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ออกจากคุณมาประกอบอาชีพหนังสือพิมพ์อยู่ประมาณ ๑ ปี ก็ถูกจับกุมอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๕๐๑ ในยุคเผด็จการของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในข้อหากบฏภายในราชอาณาจักรและมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ถูกศาลทหารกรุงเทพพิพากษาลงโทษจำคุก ๓ ปี ในความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ และยกฟ้องข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์”
มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (ในคุก) นั้น ทำให้สุพจน์กล่าวอย่างมั่นใจว่า “โดยที่มีความสำนึกทางการเมืองและสนใจการเมือง จึงได้ขวนขวายศึกษาหาความรู้เรื่องการเมืองจากท่านผู้รู้ ที่มีความคิดทางการเมือง ฝ่ายก้าวหน้า รวมทั้งแสวงหาหนังสือฝ่ายก้าวหน้ามาอ่าน และสนใจศึกษค้นคว้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยภายหลัง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ อย่างรับผิดชอบ”
สุพจน์กล่าวเสริมอีกว่า
“รวมทั้งเจริญรอยตามบาทพระพุทธองค์ ศึกษาค้นคว้าเรื่องของโลกทั้งสามอย่างมนสิการ จึงได้สรุปความเข้าใจออกมาเป็นข้อเขียนจำนวนหนึ่ง มีต้นฉบับอยู่ประมาณ ๗๐ เรื่อง ส่วนเขียนแถลงการณ์และสาส์นในโอกาสต่างๆ นั้นอีกจำนวนหนึ่ง”
ซึ่งรวมแล้วอาจจะมากกว่าผลงานของดุษฎีบัณฑิตหรือศาสตราจารย์ (ของรัฐ)ด้วยซ้ำไป
ในบรรดาผลงานนิพนธ์เหล่านั้น ก็มีสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็น magnum opus คือ ชีวิตและงานของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ที่ตีพิมพ์ครั้งแรก ๒๕๑๔ (และตีพิมพ์ครั้งที่ ๓ ปี ๒๕๔๓) รวมอยู่ด้วย
จากการค้นคว้างานชิ้นนี้ก็กลายเป็นฐานทางวิชาการอย่างสำคัญที่ทำให้สุพจน์ ด่านตระกูล สามารถ “ขุดแต่ง ฟื้นฟู และบูรณะ” ปรีดี พนมยงค์ ได้อย่างเข้มข้น รวมทั้งชุดย่อยๆ เล็กๆ ที่ออกมาเป็นครั้งคราว ราคาถูก ในช่วงทศวรรษ ๒๕๑๐ ก็ทำให้ประชามหาชนพอจะได้เปิดหู เปิดตาขึ้นบ้างต่อ “สัจจะและความเป็นจริง” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “หน้าประวัติศาสตร์อันดำมืดและบิดเบี้ยว” นั้นของ “ชนชาติไทย”
การรวบรวมและจัดพิมพ์ครั้งนี้ ก็เพื่อเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปีชาตกาลฯ ดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้โดยความสนับสนุนของคณะกรรมการดำเนินงานฉลอง ๑๐๐ ปีชาตกาลฯ ภาคเอกชน และก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลงานนี้จะมีส่วนในกระบวนการที่เกิดขึ้นใหม่ดังบทกวีของ “เฉินซัน” ๒๐ มิถุนายน ๒๕๒๗ ที่ว่า
เมื่อความดีทุกอย่างยังคงอยู่
ประชาชนย่อมรู้ว่าที่นี่‘มหาบุรุษ’ จักต้องมี
เมื่อนั้นท่านปรีดีจะกลับมา
จากหนังสือ “๘๐ ปีสุพจน์ ด่านตระกูล” ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ เดือนตุลาคม ๒๕๔๖
No comments:
Post a Comment