กระเบื้องจะฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม
“กระเบื้องจะฟูลอย
น้ำเต้าน้อยจะถอยจม”
สำนวนกลอนนี้มีมาแต่โบราณเป็นวรรคหนึ่งในเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา วรรคนี้ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง อาจจะเป็นเพราะอุปมาอุปมัยที่จดจำได้ง่าย การอธิบายความหมายโดยทั่วไปกล่าวว่า “กระเบื้อง(หมายถึงคนไม่ดี) ควรจะอยู่ในที่ต่ำในน้ำ กลับลอยเฟื่องฟูเหนือน้ำ ส่วนน้ำเต้า(หมายถึงคนดี) กลับต้องเก็บตัวเงียบ หลบซ่อนหรือไม่ก็ต้องถูกกล่าวหาว่าทำผิดทั้งที่ไม่ผิด”
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา ได้รับการสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในปลายกรุงศรีอยุธยา บทกลอนที่นำมาขยายความสำนวนดังกล่าวคือ
เทวดาซึ่งรักษาพระศาสนา จะรักษาแต่คนฝ่ายอกุศล
สัปบุรุษจะแพ้แก่ทรชน มิตรตนจะฆ่าซึ่งความรัก
ภรรยาจะฆ่าซึ่งคุณผัว คนชั่วจะมล้างผู้มีศักดิ์
ลูกศิษย์จะสู้ครูนัก จะหาญหักผู้ใหญ่ให้เป็นน้อย
ผู้มีศีลจะเสียซึ่งอำนาจ นักปราชญ์จะตกต่ำต้อย
กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าอันลอยนั้นจะถอยจม
ผู้มีตระกูลจะสูญเผ่า เพราะจันฑาลมันเข้ามาเสพสม
ผู้มีศีลนั้นจะเสียซึ่งอารมณ์ เพราะสมัครสมาคมซึ่งมารยา
แสดงถึงความตกต่ำของราชอาณาจักรที่เคยรุ่งเรืองอย่างสูง ซึ่งเป็นความเสื่อมถอยทางศีลธรรม และสาเหตุของความเสื่อมทรามของราชอาณาจักรก็คือ
ด้วยพระมหากษัตริย์มิได้ทรงทศพิธราชธรรม จึงเกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์สิบหกประการ
คือเดือนดาวดินฟ้าจะอาเพศ อุบัติเหตุเกิดทั่วทุกทิศาน
มหาเมฆจะลุกเป็นเพลิงกาฬ เกิดนิมิตรพิศดารทุกบ้านเมือง
ในเพลงยาวนี้ได้เริ่มอธิบายความตกต่ำของสังคมว่ามาจาก “ด้วยพระมหากษัตริย์มิได้ทรงทศพิธราชธรรม” จึงเป็นสาเหตุให้ “จึงเกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์สิบหกประการ” คือธรรมชาติเปลี่ยนแปลงในทางเลวร้าย ศีลธรรมจริยธรรมตกต่ำ สังคมเต็มไปด้วยความปั่นป่วนวุ่นวาย
ทศพิธราชธรรม
เหตุวิปริตที่มาจากเหตุ พระมหากษัตริย์ หรือผู้ปกครองบ้านเมืองไม่มีทศพิธราชธรรม หรือธรรมของผู้ปกครอง ๑๐ ประการ ที่ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินจักต้องประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ ทศพิธราชธรรมมีดังนี้
๑.ทาน (ทานํ) การให้ การเสียสละทั้งทรัพย์และน้ำใจให้แก่ผู้อื่น
๒.ศีล (ศีลํ) ความประพฤติที่ดีงามทางกาย วาจา และใจ ปราศจากโทษทั้งในการปกครอง คือกฎหมายและราชประเพณีทางศาสนา
๓. บริจาค (ปริจาคํ) การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อประโยชน์สุขของมวลประชาชน
๔. ความซื่อตรง (อาชชวํ) ความซื่อตรงต่อฐานะของผู้ปกครองบ้านเมือง เป็นผู้มีความสัตย์ สุจริต มีสัจจะ
๕.ความอ่อนโยน (มัททวํ) มีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผล มีสัมมาคารวะต่อสมณะและผู้อาวุโส
๖.ความเพียร (ตปํ) ความเพียร วิริยะในการปฏิบัติกิจการงาน
๗.ความไม่โกรธ (อกฺโกธ)ความมีเมตตาไม่แสดงความโกรธต่อธารกำนัล
๘.ความไม่เบียดเบียน (อวีหึสา) การไม่เบียดเบียน บีบคั้นก่อทุกข์แก่อาณาราษฎร
๙. ความอดทน (ขันติ) อดทนอดกลั้นต่อสิ่งทั้งปวง
๑๐.ความยุติธรรม (อวิโรธนํ) ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นใหญ่ ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูดหรือ อารมณ์ หรือสักการะใดๆ
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
จะกล่าวถึงกรุงศรีอยุธยา
เป็นกรุงรัตนราชพระศาสนา มหาดิเรกอันเลิศล้น
เป็นที่ปรากฎรจนา สรรเสริญอยุธยาทุกแห่งหน
ทุกบุรีสีมามณฑล จบสกลลูกค้าวานิช
ทุกประเทศสิบสองภาษา ย่อมมาพึ่งกรุงศรีอยุธยา
ประชาราษฎร์ปราศจากภัยพิศม์ ทั้งความพิกลจริตแลความทุกข์
ฝ่ายองค์พระบรมราชา ครองขันธสีมาเป็นสุข
ด้วยพระกฤษฎีกาทำนุก จึงอยู่เป็นสุขสวัสดี
เป็นที่อาศัยแก่มนุษย์ในใต้หล้า เป็นที่อาศัยแก่เทวาทุกราศี
ทุกนิกรนรชนมนตรี คหบดีพราหณพฤฒา
ประดุจดั่งศาลาอาศัย ดั่งหนึ่งร่มพระไทรอันสาขา
ประดุจหนึ่งแม่น้ำพระคงคา เป็นที่สิเนหาเมื่อกันดาร
ด้วยพระเดชาอานุภาพ อาจปราบไพรีทุกทิศาน
ทุกประเทศเขตขันธบันดาล แต่เครื่องบรรณาการมานอบนบ
กรุงศรีอยุธยานั้นสมบูรณ์ เพิ่มพูนด้วยพระเกียรติยศขจรจบ
อุดมบรมสุขทั้งแผ่นภพ จนคำรบศักราชได้สองพัน
คราทีนั้นฝูงสัตว์ทั้งหลาย จะเกิดความอันตรายเป็นแม่นมั่น
ด้วยพระมหากษัตริย์มิได้ทรงทศพิธราชธรรม จึงเกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์สิบหกประการ
คือเดือนดาวดินฟ้าจะอาเพศ อุบัติเหตุเกิดทั่วทุกทิศาน
มหาเมฆจะลุกเป็นเพลิงกาฬ เกิดนิมิตรพิศดารทุกบ้านเมือง
พระคงคาจะแดงดั่งเลือดนก อกแผ่นดินเป็นบ้าฟ้าจะเหลือง
ผีป่าก็จะวิ่งเข้าสิงเมือง ผีเมืองจะออกไปสู่ไพร
พระเสื้อเมืองจะเอาตัวหนี พระกาลกุลีจะเข้ามาเป็นไส้
พระธรณีจะตีอกไห้ อกพระกาลจะไหม้อยู่เกรียมกรม
ในลักษณะทำนายไว้บ่ห่อนผิด เมื่อพินิศพิศดูก็เห็นสม
มิใช่เทศกาลร้อนก็ร้อนระงม มิใช่เทศกาลลมลมก็พัด
มิใช่เทศกาลหนาวก็หนาวพ้น มิใช่เทศกาลฝนฝนก็อุบัติ
ทุกต้นไม้หย่อมหญ้าสารพัด เกิดวิบัตินานาทั่วสากล
เทวดาซึ่งรักษาพระศาสนา จะรักษาแต่คนฝ่ายอกุศล
สัปบุรุษจะแพ้แก่ทรชน มิตรตนจะฆ่าซึ่งความรัก
ภรรยาจะฆ่าซึ่งคุณผัว คนชั่วจะมล้างผู้มีศักดิ์
ลูกศิษย์จะสู้ครูนัก จะหาญหักผู้ใหญ่ให้เป็นน้อย
ผู้มีศีลจะเสียซึ่งอำนาจ นักปราชญ์จะตกต่ำต้อย
กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าอันลอยนั้นจะถอยจม
ผู้มีตระกูลจะสูญเผ่า เพราะจันฑาลมันเข้ามาเสพสม
ผู้มีศีลนั้นจะเสียซึ่งอารมณ์ เพราะสมัครสมาคมซึ่งมารยา
พระมหากษัตริย์จะเสื่อมสิงหนาท ประเทศราชจะเสื่อมซึ่งยศถา
อสัจจะเลื่องลือชา พระธรรมาจะตกลึกลับ
ผู้กล้าจะเสื่อมใจหาญ จะสาปสูญวิชาการทั้งปวงสรรพ
ผู้มีสินจะถอยจากทรัพย์ สัปบุรุษจะอับซึ่งน้ำใจ
ทั้งอายุศม์จะถอยเคลื่อนจากเดือนปี ประเวณีจะแปรปรวนตามวิสัย
ทั้งพืชแผ่นดินจะผ่อนไป ผลหมากรากไม้จะถอยรส
ทั้งแพทย์พรรณไม้อันหอมรส จะถอยถดไปตามประเพณี
ทั้งข้าวก็จะยากหมากจะแพง สารพันจะแห้งแล้งเป็นถ้วนถี่
จะบังเกิดทรพิษมิคสัญญี ฝูงผีจะวิ่งเข้าปลอมคน
กรุงประเทศราชธานี จะเกิดกาลีทุกแห่งหน
จะอ้างว้างอกใจทั้งไพล่พล จะสาละวนทั่วโลกหญิงชาย
จะร้อนอกสมณาประชาราษฎร์ จะเกิดเข็ญเป็นอุบาทว์นั้นมากหลาย
จะรบราฆ่าฟันกันวุ่นวาย ฝูงคนจะล้มตายลงเป็นเบือ
ทางน้ำก็จะแห้งเป็นทางบก เวียงวังจะรกเป็นป่าเสือ
แต่สิงห์สาระสัตว์เนื้อเบื้อ นั้นจะหลงเหลือในแผ่นดิน
ทั้งผู้คนสารพัดสัตว์ทั้งหลาย จะสาปสูญล้มตายเสียหมดสิ้น
ด้วยพระกาลจะมาผลาญแผ่นดิน จะสูญสิ้นการณรงค์สงคราม
กรุงศรีอยุธยาจะสูญแล้ว จะลับรัศมีแก้วเจ้าทั้งสาม
ไปจนคำรบปีเดือนคืนยาม จะสิ้นนามศักราชห้าพัน
กรุงศรีอยุธยาเขษมสุข แสนสนุกยิ่งล้ำเมืองสวรรค์
จะเป็นเมืองแพศยาอาธรรม์ นับวันจะเสื่อมสูญ เอยฯ
น้ำเต้าน้อยจะถอยจม”
สำนวนกลอนนี้มีมาแต่โบราณเป็นวรรคหนึ่งในเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา วรรคนี้ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง อาจจะเป็นเพราะอุปมาอุปมัยที่จดจำได้ง่าย การอธิบายความหมายโดยทั่วไปกล่าวว่า “กระเบื้อง(หมายถึงคนไม่ดี) ควรจะอยู่ในที่ต่ำในน้ำ กลับลอยเฟื่องฟูเหนือน้ำ ส่วนน้ำเต้า(หมายถึงคนดี) กลับต้องเก็บตัวเงียบ หลบซ่อนหรือไม่ก็ต้องถูกกล่าวหาว่าทำผิดทั้งที่ไม่ผิด”
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา ได้รับการสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในปลายกรุงศรีอยุธยา บทกลอนที่นำมาขยายความสำนวนดังกล่าวคือ
เทวดาซึ่งรักษาพระศาสนา จะรักษาแต่คนฝ่ายอกุศล
สัปบุรุษจะแพ้แก่ทรชน มิตรตนจะฆ่าซึ่งความรัก
ภรรยาจะฆ่าซึ่งคุณผัว คนชั่วจะมล้างผู้มีศักดิ์
ลูกศิษย์จะสู้ครูนัก จะหาญหักผู้ใหญ่ให้เป็นน้อย
ผู้มีศีลจะเสียซึ่งอำนาจ นักปราชญ์จะตกต่ำต้อย
กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าอันลอยนั้นจะถอยจม
ผู้มีตระกูลจะสูญเผ่า เพราะจันฑาลมันเข้ามาเสพสม
ผู้มีศีลนั้นจะเสียซึ่งอารมณ์ เพราะสมัครสมาคมซึ่งมารยา
แสดงถึงความตกต่ำของราชอาณาจักรที่เคยรุ่งเรืองอย่างสูง ซึ่งเป็นความเสื่อมถอยทางศีลธรรม และสาเหตุของความเสื่อมทรามของราชอาณาจักรก็คือ
ด้วยพระมหากษัตริย์มิได้ทรงทศพิธราชธรรม จึงเกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์สิบหกประการ
คือเดือนดาวดินฟ้าจะอาเพศ อุบัติเหตุเกิดทั่วทุกทิศาน
มหาเมฆจะลุกเป็นเพลิงกาฬ เกิดนิมิตรพิศดารทุกบ้านเมือง
ในเพลงยาวนี้ได้เริ่มอธิบายความตกต่ำของสังคมว่ามาจาก “ด้วยพระมหากษัตริย์มิได้ทรงทศพิธราชธรรม” จึงเป็นสาเหตุให้ “จึงเกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์สิบหกประการ” คือธรรมชาติเปลี่ยนแปลงในทางเลวร้าย ศีลธรรมจริยธรรมตกต่ำ สังคมเต็มไปด้วยความปั่นป่วนวุ่นวาย
ทศพิธราชธรรม
เหตุวิปริตที่มาจากเหตุ พระมหากษัตริย์ หรือผู้ปกครองบ้านเมืองไม่มีทศพิธราชธรรม หรือธรรมของผู้ปกครอง ๑๐ ประการ ที่ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินจักต้องประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ ทศพิธราชธรรมมีดังนี้
๑.ทาน (ทานํ) การให้ การเสียสละทั้งทรัพย์และน้ำใจให้แก่ผู้อื่น
๒.ศีล (ศีลํ) ความประพฤติที่ดีงามทางกาย วาจา และใจ ปราศจากโทษทั้งในการปกครอง คือกฎหมายและราชประเพณีทางศาสนา
๓. บริจาค (ปริจาคํ) การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อประโยชน์สุขของมวลประชาชน
๔. ความซื่อตรง (อาชชวํ) ความซื่อตรงต่อฐานะของผู้ปกครองบ้านเมือง เป็นผู้มีความสัตย์ สุจริต มีสัจจะ
๕.ความอ่อนโยน (มัททวํ) มีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผล มีสัมมาคารวะต่อสมณะและผู้อาวุโส
๖.ความเพียร (ตปํ) ความเพียร วิริยะในการปฏิบัติกิจการงาน
๗.ความไม่โกรธ (อกฺโกธ)ความมีเมตตาไม่แสดงความโกรธต่อธารกำนัล
๘.ความไม่เบียดเบียน (อวีหึสา) การไม่เบียดเบียน บีบคั้นก่อทุกข์แก่อาณาราษฎร
๙. ความอดทน (ขันติ) อดทนอดกลั้นต่อสิ่งทั้งปวง
๑๐.ความยุติธรรม (อวิโรธนํ) ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นใหญ่ ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูดหรือ อารมณ์ หรือสักการะใดๆ
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
จะกล่าวถึงกรุงศรีอยุธยา
เป็นกรุงรัตนราชพระศาสนา มหาดิเรกอันเลิศล้น
เป็นที่ปรากฎรจนา สรรเสริญอยุธยาทุกแห่งหน
ทุกบุรีสีมามณฑล จบสกลลูกค้าวานิช
ทุกประเทศสิบสองภาษา ย่อมมาพึ่งกรุงศรีอยุธยา
ประชาราษฎร์ปราศจากภัยพิศม์ ทั้งความพิกลจริตแลความทุกข์
ฝ่ายองค์พระบรมราชา ครองขันธสีมาเป็นสุข
ด้วยพระกฤษฎีกาทำนุก จึงอยู่เป็นสุขสวัสดี
เป็นที่อาศัยแก่มนุษย์ในใต้หล้า เป็นที่อาศัยแก่เทวาทุกราศี
ทุกนิกรนรชนมนตรี คหบดีพราหณพฤฒา
ประดุจดั่งศาลาอาศัย ดั่งหนึ่งร่มพระไทรอันสาขา
ประดุจหนึ่งแม่น้ำพระคงคา เป็นที่สิเนหาเมื่อกันดาร
ด้วยพระเดชาอานุภาพ อาจปราบไพรีทุกทิศาน
ทุกประเทศเขตขันธบันดาล แต่เครื่องบรรณาการมานอบนบ
กรุงศรีอยุธยานั้นสมบูรณ์ เพิ่มพูนด้วยพระเกียรติยศขจรจบ
อุดมบรมสุขทั้งแผ่นภพ จนคำรบศักราชได้สองพัน
คราทีนั้นฝูงสัตว์ทั้งหลาย จะเกิดความอันตรายเป็นแม่นมั่น
ด้วยพระมหากษัตริย์มิได้ทรงทศพิธราชธรรม จึงเกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์สิบหกประการ
คือเดือนดาวดินฟ้าจะอาเพศ อุบัติเหตุเกิดทั่วทุกทิศาน
มหาเมฆจะลุกเป็นเพลิงกาฬ เกิดนิมิตรพิศดารทุกบ้านเมือง
พระคงคาจะแดงดั่งเลือดนก อกแผ่นดินเป็นบ้าฟ้าจะเหลือง
ผีป่าก็จะวิ่งเข้าสิงเมือง ผีเมืองจะออกไปสู่ไพร
พระเสื้อเมืองจะเอาตัวหนี พระกาลกุลีจะเข้ามาเป็นไส้
พระธรณีจะตีอกไห้ อกพระกาลจะไหม้อยู่เกรียมกรม
ในลักษณะทำนายไว้บ่ห่อนผิด เมื่อพินิศพิศดูก็เห็นสม
มิใช่เทศกาลร้อนก็ร้อนระงม มิใช่เทศกาลลมลมก็พัด
มิใช่เทศกาลหนาวก็หนาวพ้น มิใช่เทศกาลฝนฝนก็อุบัติ
ทุกต้นไม้หย่อมหญ้าสารพัด เกิดวิบัตินานาทั่วสากล
เทวดาซึ่งรักษาพระศาสนา จะรักษาแต่คนฝ่ายอกุศล
สัปบุรุษจะแพ้แก่ทรชน มิตรตนจะฆ่าซึ่งความรัก
ภรรยาจะฆ่าซึ่งคุณผัว คนชั่วจะมล้างผู้มีศักดิ์
ลูกศิษย์จะสู้ครูนัก จะหาญหักผู้ใหญ่ให้เป็นน้อย
ผู้มีศีลจะเสียซึ่งอำนาจ นักปราชญ์จะตกต่ำต้อย
กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าอันลอยนั้นจะถอยจม
ผู้มีตระกูลจะสูญเผ่า เพราะจันฑาลมันเข้ามาเสพสม
ผู้มีศีลนั้นจะเสียซึ่งอารมณ์ เพราะสมัครสมาคมซึ่งมารยา
พระมหากษัตริย์จะเสื่อมสิงหนาท ประเทศราชจะเสื่อมซึ่งยศถา
อสัจจะเลื่องลือชา พระธรรมาจะตกลึกลับ
ผู้กล้าจะเสื่อมใจหาญ จะสาปสูญวิชาการทั้งปวงสรรพ
ผู้มีสินจะถอยจากทรัพย์ สัปบุรุษจะอับซึ่งน้ำใจ
ทั้งอายุศม์จะถอยเคลื่อนจากเดือนปี ประเวณีจะแปรปรวนตามวิสัย
ทั้งพืชแผ่นดินจะผ่อนไป ผลหมากรากไม้จะถอยรส
ทั้งแพทย์พรรณไม้อันหอมรส จะถอยถดไปตามประเพณี
ทั้งข้าวก็จะยากหมากจะแพง สารพันจะแห้งแล้งเป็นถ้วนถี่
จะบังเกิดทรพิษมิคสัญญี ฝูงผีจะวิ่งเข้าปลอมคน
กรุงประเทศราชธานี จะเกิดกาลีทุกแห่งหน
จะอ้างว้างอกใจทั้งไพล่พล จะสาละวนทั่วโลกหญิงชาย
จะร้อนอกสมณาประชาราษฎร์ จะเกิดเข็ญเป็นอุบาทว์นั้นมากหลาย
จะรบราฆ่าฟันกันวุ่นวาย ฝูงคนจะล้มตายลงเป็นเบือ
ทางน้ำก็จะแห้งเป็นทางบก เวียงวังจะรกเป็นป่าเสือ
แต่สิงห์สาระสัตว์เนื้อเบื้อ นั้นจะหลงเหลือในแผ่นดิน
ทั้งผู้คนสารพัดสัตว์ทั้งหลาย จะสาปสูญล้มตายเสียหมดสิ้น
ด้วยพระกาลจะมาผลาญแผ่นดิน จะสูญสิ้นการณรงค์สงคราม
กรุงศรีอยุธยาจะสูญแล้ว จะลับรัศมีแก้วเจ้าทั้งสาม
ไปจนคำรบปีเดือนคืนยาม จะสิ้นนามศักราชห้าพัน
กรุงศรีอยุธยาเขษมสุข แสนสนุกยิ่งล้ำเมืองสวรรค์
จะเป็นเมืองแพศยาอาธรรม์ นับวันจะเสื่อมสูญ เอยฯ
เรียบเรียงจากวารสาร สยามปริทัศน์ฉบับเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๐
No comments:
Post a Comment