จดหมายจากคุณสุพจน์ ด่านตระกูล โต้ข้อเขียนของคุณระพี สาคริก
เรียบเรียงจากหนังสือ “โต้ประมวล รุจนเสรี เรื่อง พระราชอำนาจ” ของสุพจน์ ด่านตระกูล
คุณสุพจน์ ด่านตระกูลเมื่อได้อ่านหนังสือ “พระราชอำนาจ”ที่เขียนโดยประมวล รุจนเสรี ทำให้ท่านนึกถึงข้อเขียนของคุณระพี สาคริกที่เขียนไปลงหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ฉบับวันอังคารที่ ๙ พ.ย. ๒๕๔๗ คุณสุพจน์เห็นว่าข้อเขียนของคุณระพี สาคริก ฝ่าฝืนต่อสัจจะแห่งประวัติศาสตร์หลายประการ ท่านจึงได้เขียนบทความเป็นข้อ ๆ สื่อถึงคุณระพี สาคริกโดยส่งผ่านไปยังผู้ควบคุมคอลัมน์หนังสือพิมพ์นั้น แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณา บทความของคุณสุพจน์มีดังนี้
เรียน คุณใบตองแห้งผ่านไปถึงท่านระพี สาคริก
มีพรรคพวกตัดคอลัมน์ ว่ายทวนน้ำ ของ นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันอังคารที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๗ ส่งไปให้ผมพิจารณา ผมพิจารณาแล้วจึงได้เขียนจดหมายฉบับนี้มาเพื่อการพิจารณาของคุณใบตองแห้งต่อไป และเพื่อความง่ายต่อการพิจารณา ผมขอแจงประเด็นเป็นข้อ ๆ ดังนี้
ข้อหนึ่ง ท่านระพี สาคริก ตำหนิการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ว่า “เพราะเราไปเอาเปลือกประชาธิปไตยของฝรั่งเข้ามาใช้ ในขณะที่คนเหล่านั้นยังมองเห็นได้ไม่ลึกซึ้งถึงรากเหง้าของเขา เพราะความอยากได้อำนาจจึงทำลงไป”
ในหัวข้อนี้มีอยู่ ๒ ประเด็นที่จะต้องทำความเข้าใจ ประเด็นแรกที่ว่า เราเอาเปลือกประชาธิปไตยของฝรั่งเข้ามาใช้ และประเด็นที่สองคือ เพราะความอยากได้อำนาจจึงทำลงไป
ลำพังประเด็นแรก ถ้าจะทำความเข้าใจกันอย่างถึงที่สุดก็จะเป็นหนังสือเล่มโต ๆ ได้เล่มหนึ่ง ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้ที่จะทำความเข้าใจอย่างถึงที่สุด ณ ที่นี้ ผมจึงขอทำความเข้าใจโดยสรุปเพียงเพื่อดอกบัวปริ่มน้ำจะพอเข้าใจได้ ดังนี้
คำว่า ประชาธิปไตย มีเป็นอย่างน้อยก็ ๒ นัย
นัยหนึ่ง คือ รูปแบบ เช่น มีการเลือกตั้ง มีการประชุมปรึกษาหารือ มีการฟังเสียงข้างมาก เหล่านี้เป็นต้น
อีกนัยหนึ่ง คือ เนื้อหา มีอยู่ ๓ ด้านตามโครงสร้างของสังคม คือ เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมหรือทรรศนะสังคม ซึ่งรวมเรียกว่า อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย
และใน ๓ ด้าน หรือ ๓ ส่วนนี้ เศรษฐกิจเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนการเมืองและวัฒนธรรม หรือทรรศนะสังคมเป็นโครงสร้างชั้นบน
และโดยกฎธรรมชาติ โครงสร้างชั้นบนขึ้นต่อโครงสร้างพื้นฐาน ในทางสังคมก็เช่นเดียวกัน ชนชั้นใดกุมอำนาจทางเศรษฐกิจอันใดเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ชนชั้นนั้นก็จะมีโอกาสกุมอำนาจทางการเมืองและวัฒนธรรมหรือทรรศนะสังคม อันเป็นโครงสร้างชั้นบนร่วมด้วย
ในยุคทาส เจ้าทาส เป็นผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจอันเป็นโครงสร้างพื้นฐาน การเมืองและวัฒนธรรมหรือทรรศนะสังคมจึงเป็นของเจ้าของทาส
ในยุคศักดินา เจ้าศักดินาเป็นผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจอันเป็นโครงสร้างพื้นฐาน การเมืองและวัฒนธรรมหรือทรรศนะสังคมจึงเป็นของเจ้าศักดินา
ในยุคทุนนิยม เจ้าสมบัติ (นายทุน)เป็นผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจอันเป็นโครงสร้างพื้นฐาน การเมืองและวัฒนธรรมหรือทรรศนะสังคมจึงเป็นของเจ้าสมบัติ (ดังที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้)
แต่คำว่าประชาธิปไตยในบ้านเรา โดยความเป็นจริงในขณะนี้เป็นแต่เพียงรูปแบบเท่านั้น ส่วนเนื้อหาเป็นเผด็จการ คือ อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของเจ้าสมบัติ หรือ ประชาธิปไตยเจ้าสมบัติ
ในประเด็นที่สองที่ว่า “..เพราะอยากได้อำนาจจึงทำลงไป (หมายถึงคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองเพราะต้องการอำนาจ) ในประเด็นนี้มีข้อเท็จจริงมากมายที่จะชี้ให้เห็นว่า คณะราษฎรไม่ได้ทำลงไปเพราะต้องการอำนาจ แต่มีข้อจำกัดด้วยเนื้อที่ของคอลัมน์ผมจึงขอสรุปโดยย่นย่อดังนี้
กล่าวคือการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้น ไม่ได้ขึ้นกับความอยากได้อำนาจหรือไม่อยากได้อำนาจของใคร แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์และความเรียกร้องทางประวัติศาสตร์ ดังแถลงการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองระบุไว้ตอนหนึ่ง ดังนี้
“...เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรบางคนได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้คงจะปกครองราษฎรได้ร่มเย็น แต่ก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังกันไม่ กษัตริย์คงครองอำนาจเหนือกฎหมายตามเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจในทางทุจริต..ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร กดขี่ข่มเหงราษฎร...”
แถลงการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวนี้ไม่เกินเลยไปจากความจริงที่ดำรงอยู่ในเวลานั้น ดังหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาของนายทองเจือ จารุสาธร ลงวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๔๗๔ (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)มีความตอนหนึ่ง ดังนี้
“เวลานี้ไปที่ใด แม้แต่ชาวนาชนบทก็กล่าวถึงเศรษฐกิจ การเมือง ได้ยินข้อครหาอย่างธรรมดาและเลือดร้อน บ้างว่ารัฐบาลปกครองราษฎรอย่างทาส อย่างหลอกลวง อย่างสูบเลือดสูบเนื้อกันทุกหนทุกแห่ง การนินทาว่าร้ายนั้นไม่ถึงกับเป็นภัยในเร็ววันนี้ก็ตาม แต่ก็เป็นชนวนให้เกิดความเสียหายในอนาคตทีละเล็กละน้อย..” (หจช. ร.๗ รล. ๒๐/๑๙๔ นายทองเจือ จารุสาธร ถวายฎีกา ๑๔ มีนาคม ๒๔๗๔)
โดยสถานการณ์เป็นเช่นนี้ จึงเป็นความเรียกร้องทางประวัติศาสตร์ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะมีคณะราษฎรหรือไม่มีก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนั้นก็จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ไม่ขึ้นกับความอยากได้อำนาจของใครคนใดคนหนึ่ง
เรียน คุณใบตองแห้งผ่านไปถึงท่านระพี สาคริก
มีพรรคพวกตัดคอลัมน์ ว่ายทวนน้ำ ของ นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันอังคารที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๗ ส่งไปให้ผมพิจารณา ผมพิจารณาแล้วจึงได้เขียนจดหมายฉบับนี้มาเพื่อการพิจารณาของคุณใบตองแห้งต่อไป และเพื่อความง่ายต่อการพิจารณา ผมขอแจงประเด็นเป็นข้อ ๆ ดังนี้
ข้อหนึ่ง ท่านระพี สาคริก ตำหนิการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ว่า “เพราะเราไปเอาเปลือกประชาธิปไตยของฝรั่งเข้ามาใช้ ในขณะที่คนเหล่านั้นยังมองเห็นได้ไม่ลึกซึ้งถึงรากเหง้าของเขา เพราะความอยากได้อำนาจจึงทำลงไป”
ในหัวข้อนี้มีอยู่ ๒ ประเด็นที่จะต้องทำความเข้าใจ ประเด็นแรกที่ว่า เราเอาเปลือกประชาธิปไตยของฝรั่งเข้ามาใช้ และประเด็นที่สองคือ เพราะความอยากได้อำนาจจึงทำลงไป
ลำพังประเด็นแรก ถ้าจะทำความเข้าใจกันอย่างถึงที่สุดก็จะเป็นหนังสือเล่มโต ๆ ได้เล่มหนึ่ง ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้ที่จะทำความเข้าใจอย่างถึงที่สุด ณ ที่นี้ ผมจึงขอทำความเข้าใจโดยสรุปเพียงเพื่อดอกบัวปริ่มน้ำจะพอเข้าใจได้ ดังนี้
คำว่า ประชาธิปไตย มีเป็นอย่างน้อยก็ ๒ นัย
นัยหนึ่ง คือ รูปแบบ เช่น มีการเลือกตั้ง มีการประชุมปรึกษาหารือ มีการฟังเสียงข้างมาก เหล่านี้เป็นต้น
อีกนัยหนึ่ง คือ เนื้อหา มีอยู่ ๓ ด้านตามโครงสร้างของสังคม คือ เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมหรือทรรศนะสังคม ซึ่งรวมเรียกว่า อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย
และใน ๓ ด้าน หรือ ๓ ส่วนนี้ เศรษฐกิจเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนการเมืองและวัฒนธรรม หรือทรรศนะสังคมเป็นโครงสร้างชั้นบน
และโดยกฎธรรมชาติ โครงสร้างชั้นบนขึ้นต่อโครงสร้างพื้นฐาน ในทางสังคมก็เช่นเดียวกัน ชนชั้นใดกุมอำนาจทางเศรษฐกิจอันใดเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ชนชั้นนั้นก็จะมีโอกาสกุมอำนาจทางการเมืองและวัฒนธรรมหรือทรรศนะสังคม อันเป็นโครงสร้างชั้นบนร่วมด้วย
ในยุคทาส เจ้าทาส เป็นผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจอันเป็นโครงสร้างพื้นฐาน การเมืองและวัฒนธรรมหรือทรรศนะสังคมจึงเป็นของเจ้าของทาส
ในยุคศักดินา เจ้าศักดินาเป็นผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจอันเป็นโครงสร้างพื้นฐาน การเมืองและวัฒนธรรมหรือทรรศนะสังคมจึงเป็นของเจ้าศักดินา
ในยุคทุนนิยม เจ้าสมบัติ (นายทุน)เป็นผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจอันเป็นโครงสร้างพื้นฐาน การเมืองและวัฒนธรรมหรือทรรศนะสังคมจึงเป็นของเจ้าสมบัติ (ดังที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้)
แต่คำว่าประชาธิปไตยในบ้านเรา โดยความเป็นจริงในขณะนี้เป็นแต่เพียงรูปแบบเท่านั้น ส่วนเนื้อหาเป็นเผด็จการ คือ อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของเจ้าสมบัติ หรือ ประชาธิปไตยเจ้าสมบัติ
ในประเด็นที่สองที่ว่า “..เพราะอยากได้อำนาจจึงทำลงไป (หมายถึงคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองเพราะต้องการอำนาจ) ในประเด็นนี้มีข้อเท็จจริงมากมายที่จะชี้ให้เห็นว่า คณะราษฎรไม่ได้ทำลงไปเพราะต้องการอำนาจ แต่มีข้อจำกัดด้วยเนื้อที่ของคอลัมน์ผมจึงขอสรุปโดยย่นย่อดังนี้
กล่าวคือการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้น ไม่ได้ขึ้นกับความอยากได้อำนาจหรือไม่อยากได้อำนาจของใคร แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์และความเรียกร้องทางประวัติศาสตร์ ดังแถลงการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองระบุไว้ตอนหนึ่ง ดังนี้
“...เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรบางคนได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้คงจะปกครองราษฎรได้ร่มเย็น แต่ก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังกันไม่ กษัตริย์คงครองอำนาจเหนือกฎหมายตามเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจในทางทุจริต..ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร กดขี่ข่มเหงราษฎร...”
แถลงการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวนี้ไม่เกินเลยไปจากความจริงที่ดำรงอยู่ในเวลานั้น ดังหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาของนายทองเจือ จารุสาธร ลงวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๔๗๔ (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)มีความตอนหนึ่ง ดังนี้
“เวลานี้ไปที่ใด แม้แต่ชาวนาชนบทก็กล่าวถึงเศรษฐกิจ การเมือง ได้ยินข้อครหาอย่างธรรมดาและเลือดร้อน บ้างว่ารัฐบาลปกครองราษฎรอย่างทาส อย่างหลอกลวง อย่างสูบเลือดสูบเนื้อกันทุกหนทุกแห่ง การนินทาว่าร้ายนั้นไม่ถึงกับเป็นภัยในเร็ววันนี้ก็ตาม แต่ก็เป็นชนวนให้เกิดความเสียหายในอนาคตทีละเล็กละน้อย..” (หจช. ร.๗ รล. ๒๐/๑๙๔ นายทองเจือ จารุสาธร ถวายฎีกา ๑๔ มีนาคม ๒๔๗๔)
โดยสถานการณ์เป็นเช่นนี้ จึงเป็นความเรียกร้องทางประวัติศาสตร์ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะมีคณะราษฎรหรือไม่มีก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนั้นก็จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ไม่ขึ้นกับความอยากได้อำนาจของใครคนใดคนหนึ่ง
No comments:
Post a Comment