จดหมายจากคุณสุพจน์ ด่านตระกูล โต้ข้อเขียนของคุณระพี สาคริก
เรียบเรียงจากหนังสือ “โต้ประมวล รุจนเสรี เรื่อง พระราชอำนาจ” ของสุพจน์ ด่านตระกูล
ข้อสอง ท่านระพีสาคริก ระบุว่า “การเลือกตั้งที่คิดแก้ปัญหาใช้เงินซื้อเสียง ผมเห็นว่ามันเป็นปัญหามานานแล้ว แต่ก็แก้ไม่สำเร็จ”
ใช่ครับ เป็นปัญหามานานแล้ว แต่ก็แก้ไม่สำเร็จและจะแก้ไม่สำเร็จตราบใดที่ยังคงอยู่ในระบอบประชาธิปไตยเจ้าสมบัติ ต่อเมื่อเปลี่ยนระบอบประชาธิปไตยเจ้าสมบัติที่ดำรงอยู่ในขณะนี้ ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยของประชาชน ซึ่งหมายถึง อำนาจสูงสุดในแผ่นดิน (เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม หรือทรรศนะสังคม) เป็นของราษฎรทั้งหลายเท่านั้น การเลือกตั้งจึงจะเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม โดยที่ไม่ต้องตั้งกรรมการอะไรต่ออะไรขึ้นมาควบคุมการเลือกตั้งให้เสียเงินแผ่นดินโดยใช่ที่
ข้อสาม ท่านระพี สาคริก เขียนว่า “ผมเองอายุย่างเข้า ๘๓ ปีแล้ว ยังจได้ดีว่าเมื่อเดือนมิถุนายน ปี ๒๔๗๕ ซึ่งผมมีอายุ ๑๐ ขวบ ได้มีโอกาสเห็นการปฏิวัติโดยกำลังทหาร เพื่อยึดอำนาจราชบัลลังก์ของพระมหากษัตริย์”
ผมเองขณะนี้ก็มีอายุย่างเข้า ๘๒ ปีแล้ว ระดับการศึกษาพออ่านออกเขียนได้และคิดเป็น แต่คิดไม่เป็นว่าคนขนาดดอกเตอร์จะมีอคติและฝ่าฝืนสัจจะถึงกับกล่าวหาคณะราษฎรว่า ...เพื่อยึดอำนาจราชบัลลังก์ของพระมหากษัตริย์
ข้อเท็จจริงและเอกสารต่าง ๆ ก็ระบุไว้อย่างชัดแจ้งอยู่แล้วว่า ได้มีการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ก็เท่านั้นเอง ส่วนราชบัลลังก์ คณะราษฎรไม่ได้แตะต้องเลย ยังคงเป็นราชบัลลังก์ของพระราชวงศ์จักรีอยู่ก็เท่านั้นเอง
และแม้เมื่อพระปกเกล้าฯ ทรงสละราชบัลลังก์เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ เวลา ๑๓.๔๕ น. รัฐบาลคณะราษฎรก็ยังได้อัญเชิญพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระราชนัดดาของพระปกเกล้าฯ (ที่ถูกข้ามไปแล้ว) ขึ้นครองราชสมบัติสืบบัลลังก์ต่อมา และเมื่อพระองค์ทรงสวรรคตด้วยถูกพระแสงปืน เมื่อ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ รัฐบาลขณะนั้น (ปรีดี พนมยงค์) ก็ได้อัญเชิญพระราชอนุชาของพระองค์ ขึ้นครองราชบัลลังก์สืบต่อมาจนกระทั่งบัดนี้ คำกล่าวของท่านระพีจึงไร้ซี่งสัจจะ
ข้อสี่ ท่านระพี สาคริก ระบุว่า รัชกาลที่ ๖ ส่งทหารไปร่วมสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๑ นั้นทรงมีแผนว่าจะปลอดปล่อยกฎหมายไทยให้สามารถคุ้มครองคนได้ทั้งประเทศ แทนที่จะปล่อยให้คนต่างชาติเข้ามาอยู่ในเมืองไทยโดยไม่ต้องขึ้นศาลไทย “และก็ทรงทำได้สำเร็จ”
ก็ไม่ทราบว่าท่านระพีต้องการโฆษณาชวนเชื่อเพื่ออะไร ที่บิดเบือนประวัติศาสตร์ว่า ก็ทรงทำได้สำเร็จ (หมายถึงการแก้ไขสัญญาให้คนต่างชาติที่ทำผิดกฎหมายไทยขึ้นศาลไทย) ทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จจริงปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรและภาพถ่ายอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศขณะนี้ บอกให้เรารู้ว่า การแก้ไขสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือที่เรียกกันว่า การยกเลิกสัญญาสภาพนอกอาณาเขตและภาษีร้อยชักสามนั้น กระทำสำเร็จในรัฐบาล พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐)
ดังคำกล่าวสุนทรพจน์ ของ พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป.พิบูลสงคราม) นายกรัฐมนตรีที่สืบต่อจากพระยาพหลฯ เนื่องในวันชาติ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๒ มีความตอนหนึ่ง ดังนี้
“...สนธิสัญญากับนานาประเทศซึ่งได้ผูกมัดมิให้ชาติของเราสร้างความเจริญขึ้นได้ตามใจเรามานานหนักหนานั้น ได้เป็นผลสำเร็จด้วยความไมตรีจิตอันดีของนานาชาติ เราได้รับเอกราชทางศาล สามารถที่จะตัดสินคดีได้โดยมิต้องให้นานาชาติเข้ามาเกี่ยวข้องแทรกแซง เราสามารถที่จะขึ้นพิกัดอัตราภาษีขาเข้าได้ตามควรแก่ความพอใจของเรา เราสามารถที่จะออกกฎหมายทุกชนิดเพื่อให้พี่น้องชาวไทยมีอาชีพสมกับที่เป็นชาติเอกราชนั้นได้...”
ข้อห้า ท่านระพี สาคริก ตอกย้ำกล่าวหาคณะราษฎรว่าปล่อยให้ต่างชาติเข้ามายึดครองเมืองไทยว่า
“...ใครครองเมืองไทยจนแทบจะไม่เหลือแผ่นดินสำหรับคนไทยอยู่โดยสิทธิอันชอบธรรมอีกแล้ว แม้จะมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ แต่ก็ถูกกันออกไปอยู่นอกพื้นฐานการตัดสินใจระดับชาติ เพราะยึดอำนาจราชบัลลังก์ไปแล้ว ตั้งแต่ปี ๒๔๗๕..”
ก็ไม่รู้ว่าทำไมท่านระพีฯ จึงกลายเป็นคนแก่ตัญหากลับอย่างนี้ไปได้ ก็ขอย้ำอีกทีว่า การเปลี่ยนแปลงระบอบจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กษัตริย์มีอำนาจอย่างล้นพ้น มาเป็นราชาธิปไตย (อ่านว่า ราชาธิปไตย) ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ที่กษัตริย์ถูกจำกัดอำนาจโดยกฎหมาย คือจาก Absolute Monarchy มาเป็น Limited Monarchy ส่วนราชบัลลังก์นั้น คณะราษฎรไม่ได้แตะต้อง จึงยังคงมีสถาบันกษัตริย์ให้พวกเราได้แสดงความจงรักภักดีมาจนถึงทุกวันนี้
แต่บางคนแสดงความจงรักภักดีอย่างที่เรียกว่า “Ultra Royalist” หรือผู้เกินกว่าพระราชา ซึ่งแทนที่จะเป็นผลดีต่อพระราชากลับจะเป็นการทำลายพระราชาเสียด้วยซ้ำ ตรงกันข้ามการกระทำของคณะราษฎรที่เชิดชูพระมหากษัตริย์ให้ทรงอยู่เหนือการเมือง นั่นคือเป็นการรักษาสถาบันกษัตริย์ เพราะการเมืองมีทั้งพระเดชและพระคุณ มีทั้งคนรัก และคนชัง พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมืองมีแต่พระคุณ จึงมีแต่คนรักบูชาด้านเดียว ดังที่พระองค์ทรงได้รับอยู่ในขณะนี้
ตรงกันข้ามกับ พ.ต.ท.ทักษิณ นายกรัฐมนตรี ที่มีคนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ ท่านระพีฯต้องการให้พระมหากษัตริย์ของเราเป็นเช่นนั้นหรือ นี่หรือคือความจงรักภักดี
ข้อหก ท่านระพี สาคริก ระบุลงไปว่า “ปี ๒๔๗๕ หาใช่การเปลื่ยนแปลงการปกครองตามที่คนกลุ่มหนึ่งนำมาอ้าง แท้จริงแล้วก็คือการปฏิวัติยึดอำนาจมาเป็นของพวกตน เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยไม่รู้ว่านั่นคือการเปิดประตูบานใหญ่ของชาติให้คนต่างชาติ ซึ่งมีอำนาจล้นฟ้าไหลเข้ามาถือครองแผ่นดินไทยได้ทั้งระบบ”
ความจริงประเด็นนี้มีข้อที่จะต้องทำความเข้าใจกันมาก มีเป็นต้นว่า อะไรคือ “ปฏิวัติ” อะไรคือ “ยึดอำนาจ” แต่ผลเกรงใจเจ้าของคอลัมน์ที่มีหน้ากระดาษจำกัด จึงขอตอบโดยสรุปว่าการเปิดประตูบานใหญ่ของชาติให้คนต่างชาติซึ่งมีอำนาจล้นฟ้าไหลเข้ามาถือครองแผ่นดินไทยได้ทั้งระบบนั้น หาใช่ใครที่ไหนไม่ ก็คนจำพวกที่เรียกว่า Ultra Royalist นั้นเอง ที่ถือเอาผลประโยชน์ส่วนตนเหนือผลประโยชน์ของส่วนรวม จึงร่วมกันขัดขวางร่างเค้าโครงเศรษฐกิจของท่านปรีดี พนมยงค์ด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และกำจัดท่านออกนอกประเทศ
ทั้ง ๆ ที่เค้าโครงดังกล่าว เป็นเค้าโครงเศรษฐกิจสหกรณ์ครบรูป อันยังผลประโยชน์ให้กับส่วนรวม ตามอุดมคติที่ว่า แต่ละคนเพื่อทุก ๆ คน และทุก ๆ คนเพื่อแต่ละคน
ขอจบเท่านี้ก่อนะครับ
ใช่ครับ เป็นปัญหามานานแล้ว แต่ก็แก้ไม่สำเร็จและจะแก้ไม่สำเร็จตราบใดที่ยังคงอยู่ในระบอบประชาธิปไตยเจ้าสมบัติ ต่อเมื่อเปลี่ยนระบอบประชาธิปไตยเจ้าสมบัติที่ดำรงอยู่ในขณะนี้ ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยของประชาชน ซึ่งหมายถึง อำนาจสูงสุดในแผ่นดิน (เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม หรือทรรศนะสังคม) เป็นของราษฎรทั้งหลายเท่านั้น การเลือกตั้งจึงจะเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม โดยที่ไม่ต้องตั้งกรรมการอะไรต่ออะไรขึ้นมาควบคุมการเลือกตั้งให้เสียเงินแผ่นดินโดยใช่ที่
ข้อสาม ท่านระพี สาคริก เขียนว่า “ผมเองอายุย่างเข้า ๘๓ ปีแล้ว ยังจได้ดีว่าเมื่อเดือนมิถุนายน ปี ๒๔๗๕ ซึ่งผมมีอายุ ๑๐ ขวบ ได้มีโอกาสเห็นการปฏิวัติโดยกำลังทหาร เพื่อยึดอำนาจราชบัลลังก์ของพระมหากษัตริย์”
ผมเองขณะนี้ก็มีอายุย่างเข้า ๘๒ ปีแล้ว ระดับการศึกษาพออ่านออกเขียนได้และคิดเป็น แต่คิดไม่เป็นว่าคนขนาดดอกเตอร์จะมีอคติและฝ่าฝืนสัจจะถึงกับกล่าวหาคณะราษฎรว่า ...เพื่อยึดอำนาจราชบัลลังก์ของพระมหากษัตริย์
ข้อเท็จจริงและเอกสารต่าง ๆ ก็ระบุไว้อย่างชัดแจ้งอยู่แล้วว่า ได้มีการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ก็เท่านั้นเอง ส่วนราชบัลลังก์ คณะราษฎรไม่ได้แตะต้องเลย ยังคงเป็นราชบัลลังก์ของพระราชวงศ์จักรีอยู่ก็เท่านั้นเอง
และแม้เมื่อพระปกเกล้าฯ ทรงสละราชบัลลังก์เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ เวลา ๑๓.๔๕ น. รัฐบาลคณะราษฎรก็ยังได้อัญเชิญพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระราชนัดดาของพระปกเกล้าฯ (ที่ถูกข้ามไปแล้ว) ขึ้นครองราชสมบัติสืบบัลลังก์ต่อมา และเมื่อพระองค์ทรงสวรรคตด้วยถูกพระแสงปืน เมื่อ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ รัฐบาลขณะนั้น (ปรีดี พนมยงค์) ก็ได้อัญเชิญพระราชอนุชาของพระองค์ ขึ้นครองราชบัลลังก์สืบต่อมาจนกระทั่งบัดนี้ คำกล่าวของท่านระพีจึงไร้ซี่งสัจจะ
ข้อสี่ ท่านระพี สาคริก ระบุว่า รัชกาลที่ ๖ ส่งทหารไปร่วมสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๑ นั้นทรงมีแผนว่าจะปลอดปล่อยกฎหมายไทยให้สามารถคุ้มครองคนได้ทั้งประเทศ แทนที่จะปล่อยให้คนต่างชาติเข้ามาอยู่ในเมืองไทยโดยไม่ต้องขึ้นศาลไทย “และก็ทรงทำได้สำเร็จ”
ก็ไม่ทราบว่าท่านระพีต้องการโฆษณาชวนเชื่อเพื่ออะไร ที่บิดเบือนประวัติศาสตร์ว่า ก็ทรงทำได้สำเร็จ (หมายถึงการแก้ไขสัญญาให้คนต่างชาติที่ทำผิดกฎหมายไทยขึ้นศาลไทย) ทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จจริงปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรและภาพถ่ายอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศขณะนี้ บอกให้เรารู้ว่า การแก้ไขสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือที่เรียกกันว่า การยกเลิกสัญญาสภาพนอกอาณาเขตและภาษีร้อยชักสามนั้น กระทำสำเร็จในรัฐบาล พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐)
ดังคำกล่าวสุนทรพจน์ ของ พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป.พิบูลสงคราม) นายกรัฐมนตรีที่สืบต่อจากพระยาพหลฯ เนื่องในวันชาติ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๒ มีความตอนหนึ่ง ดังนี้
“...สนธิสัญญากับนานาประเทศซึ่งได้ผูกมัดมิให้ชาติของเราสร้างความเจริญขึ้นได้ตามใจเรามานานหนักหนานั้น ได้เป็นผลสำเร็จด้วยความไมตรีจิตอันดีของนานาชาติ เราได้รับเอกราชทางศาล สามารถที่จะตัดสินคดีได้โดยมิต้องให้นานาชาติเข้ามาเกี่ยวข้องแทรกแซง เราสามารถที่จะขึ้นพิกัดอัตราภาษีขาเข้าได้ตามควรแก่ความพอใจของเรา เราสามารถที่จะออกกฎหมายทุกชนิดเพื่อให้พี่น้องชาวไทยมีอาชีพสมกับที่เป็นชาติเอกราชนั้นได้...”
ข้อห้า ท่านระพี สาคริก ตอกย้ำกล่าวหาคณะราษฎรว่าปล่อยให้ต่างชาติเข้ามายึดครองเมืองไทยว่า
“...ใครครองเมืองไทยจนแทบจะไม่เหลือแผ่นดินสำหรับคนไทยอยู่โดยสิทธิอันชอบธรรมอีกแล้ว แม้จะมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ แต่ก็ถูกกันออกไปอยู่นอกพื้นฐานการตัดสินใจระดับชาติ เพราะยึดอำนาจราชบัลลังก์ไปแล้ว ตั้งแต่ปี ๒๔๗๕..”
ก็ไม่รู้ว่าทำไมท่านระพีฯ จึงกลายเป็นคนแก่ตัญหากลับอย่างนี้ไปได้ ก็ขอย้ำอีกทีว่า การเปลี่ยนแปลงระบอบจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กษัตริย์มีอำนาจอย่างล้นพ้น มาเป็นราชาธิปไตย (อ่านว่า ราชาธิปไตย) ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ที่กษัตริย์ถูกจำกัดอำนาจโดยกฎหมาย คือจาก Absolute Monarchy มาเป็น Limited Monarchy ส่วนราชบัลลังก์นั้น คณะราษฎรไม่ได้แตะต้อง จึงยังคงมีสถาบันกษัตริย์ให้พวกเราได้แสดงความจงรักภักดีมาจนถึงทุกวันนี้
แต่บางคนแสดงความจงรักภักดีอย่างที่เรียกว่า “Ultra Royalist” หรือผู้เกินกว่าพระราชา ซึ่งแทนที่จะเป็นผลดีต่อพระราชากลับจะเป็นการทำลายพระราชาเสียด้วยซ้ำ ตรงกันข้ามการกระทำของคณะราษฎรที่เชิดชูพระมหากษัตริย์ให้ทรงอยู่เหนือการเมือง นั่นคือเป็นการรักษาสถาบันกษัตริย์ เพราะการเมืองมีทั้งพระเดชและพระคุณ มีทั้งคนรัก และคนชัง พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมืองมีแต่พระคุณ จึงมีแต่คนรักบูชาด้านเดียว ดังที่พระองค์ทรงได้รับอยู่ในขณะนี้
ตรงกันข้ามกับ พ.ต.ท.ทักษิณ นายกรัฐมนตรี ที่มีคนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ ท่านระพีฯต้องการให้พระมหากษัตริย์ของเราเป็นเช่นนั้นหรือ นี่หรือคือความจงรักภักดี
ข้อหก ท่านระพี สาคริก ระบุลงไปว่า “ปี ๒๔๗๕ หาใช่การเปลื่ยนแปลงการปกครองตามที่คนกลุ่มหนึ่งนำมาอ้าง แท้จริงแล้วก็คือการปฏิวัติยึดอำนาจมาเป็นของพวกตน เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยไม่รู้ว่านั่นคือการเปิดประตูบานใหญ่ของชาติให้คนต่างชาติ ซึ่งมีอำนาจล้นฟ้าไหลเข้ามาถือครองแผ่นดินไทยได้ทั้งระบบ”
ความจริงประเด็นนี้มีข้อที่จะต้องทำความเข้าใจกันมาก มีเป็นต้นว่า อะไรคือ “ปฏิวัติ” อะไรคือ “ยึดอำนาจ” แต่ผลเกรงใจเจ้าของคอลัมน์ที่มีหน้ากระดาษจำกัด จึงขอตอบโดยสรุปว่าการเปิดประตูบานใหญ่ของชาติให้คนต่างชาติซึ่งมีอำนาจล้นฟ้าไหลเข้ามาถือครองแผ่นดินไทยได้ทั้งระบบนั้น หาใช่ใครที่ไหนไม่ ก็คนจำพวกที่เรียกว่า Ultra Royalist นั้นเอง ที่ถือเอาผลประโยชน์ส่วนตนเหนือผลประโยชน์ของส่วนรวม จึงร่วมกันขัดขวางร่างเค้าโครงเศรษฐกิจของท่านปรีดี พนมยงค์ด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และกำจัดท่านออกนอกประเทศ
ทั้ง ๆ ที่เค้าโครงดังกล่าว เป็นเค้าโครงเศรษฐกิจสหกรณ์ครบรูป อันยังผลประโยชน์ให้กับส่วนรวม ตามอุดมคติที่ว่า แต่ละคนเพื่อทุก ๆ คน และทุก ๆ คนเพื่อแต่ละคน
ขอจบเท่านี้ก่อนะครับ
สุพจน์ ด่านตระกูล
๑๘ – ๑ – ๔๘
ผมเขียนไว้ในข้อห้าข้างต้น ตอนหนึ่งที่ว่า “แต่บางคนแสดงความจงรักภักดีอย่างที่เรียกว่า Ultra Royalist หรือผู้ที่เกินกว่าพระราชา ซึ่งแทนที่จะเป็นผลดีต่อพระราชากลับจะเป็นการทำลายพระราชาเสียด้วยซ้ำ..”
ที่ผมเขียนเช่นนี้ ก็เพราะมีตัวอย่างในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสซึ่งท่านปรีดีฯ ได้เขียนตำหนิพวกที่ทำตัวเป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดี โดยยกเรื่องราวของพวกนี้ที่ปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ดังนี้
“ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสปรากฏว่าระหว่างเวลา ๘๐ ปีนับแต่การอภิวัฒน์ใหญ่ฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ.๑๗๘๙ ถึง ค.ศ. ๑๘๗๐ ราชวงศ์บูร์บองได้กลับมาปกครองราชย์หลายครั้ง ต่อมาเมื่อ ค.ศ. ๑๘๗๐ นโปเลียนที่ ๓ แห่งราชวงศ์โบนาปาร์ตได้สละราชสมบัติเนื่องจากแพ้เยอรมัน ฝ่ายเจ้าสมบัติเมื่อได้ปราบปรามขบวนการสหการปารีส (ปารีสคอมมูน-สุพจน์) สำเร็จแล้ว ก็ได้จัดให้มีระบบรัฐสภาเพื่อลงมติว่าฝรั่งเศสจะปกครองโดยระบบสาธารณรัฐหรือราชาธิปไตย โดยอัญเชิญรัชทายาทแห่งราชวงศ์บูร์บองขึ้นครองราชย์ เสียงราษฎรส่วนมากที่พ้นจากการปราบปรามขณะนั้นปรารถนาตามวิถีหลังนี้ แต่พวกที่ทำตนเป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดีนั้น ได้อ้างพระราชหฤทัยรัชทายาทที่จะได้รับอัญเชิญขึ้นครองราชย์และเรียกร้องเกินเลยไป แม้เรื่องธงชาติก็จะให้เปลี่ยนจากธงสามสีมาใช้ธงสีขาว ประกอบด้วยรูปดอกไม้สามแฉก (คล้ายดอกบัวดิน) ที่เรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า “Fleurs De Lis” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เฉพาะพระราชวงศ์บูร์บอง
ก่อนที่รัฐสภาฝรั่งเศสจะลงมติดังกล่าวแล้ว สมเด็จเจ้าแห่งมาจองตา (Due De Magenta) ได้มีรับสั่งเตือนผู้ที่ทำตนเป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดี และอ้างว่ารู้พระราชหฤทัยต่าง ๆ นั้นว่า ถ้าพวกนั้นต้องการจะเอาธงมีรูปดอกไม้ชนิดนั้นมาใช้แทนธงสามสีแล้ว ทหารปืนยาวก็จะเดินแถวไปตามลำพังโดยปราศจากธงประจำกอง แต่พวกนั้นก็หัวรั้นไม่ยอมฟังคำเตือนของสมเด็จเจ้า จึงเป็นเหตุให้เสียงในรัฐสภาที่เดิมส่วนมากปรารถนาสถาปนาราชวงศ์บูร์บองขึ้นมาอีกนั้น ต้องลดน้อยลงไป แม้กระนั้นเมื่อถึงเวลาลงมติ ฝ่ายที่นิยมสาธารณรัฐชนะเพียง ๑ เสียงเท่านั้น
ถ้าหากผู้ทำตนเป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดีไม่อวดอ้างเอาเด่นของตนแล้ว ราชวงศ์บูร์บองก็จะได้กลับขึ้นครองราชย์อีก ดังนั้น พวกที่เป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าพระราชาธิบดี จึงมิเพียงแต่เป็นพวกที่ทำให้ราชบัลลังก์ฝรั่งเศสต้องสะเทือนเท่านั้น หากยังทำให้ราชวงศ์บูร์บองสลายไปตั้งแต่ครั้งนั้นจนถึงบัดนี้”
ผมเห็นว่า คำเตือนสติของท่านปรีดีฯ ต่อพวกที่ทำตนเป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดี เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งกับสถานการณ์ในบ้านเมืองของเราเวลานี้ โดยเฉพาะเหมาะสมกับคำขึ้นต้นของหนังสือที่ชื่อว่า “โต้ประมวล รุจนเสรี เรื่องพระราชอำนาจ” และด้วยความจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่งต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมจึงนำข้อตำหนิมาบอกกล่าวเป็นการเตือนสติประมวลฯ กับพวก Ultra Royalist เพื่อสังวร.
ผมเขียนไว้ในข้อห้าข้างต้น ตอนหนึ่งที่ว่า “แต่บางคนแสดงความจงรักภักดีอย่างที่เรียกว่า Ultra Royalist หรือผู้ที่เกินกว่าพระราชา ซึ่งแทนที่จะเป็นผลดีต่อพระราชากลับจะเป็นการทำลายพระราชาเสียด้วยซ้ำ..”
ที่ผมเขียนเช่นนี้ ก็เพราะมีตัวอย่างในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสซึ่งท่านปรีดีฯ ได้เขียนตำหนิพวกที่ทำตัวเป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดี โดยยกเรื่องราวของพวกนี้ที่ปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ดังนี้
“ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสปรากฏว่าระหว่างเวลา ๘๐ ปีนับแต่การอภิวัฒน์ใหญ่ฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ.๑๗๘๙ ถึง ค.ศ. ๑๘๗๐ ราชวงศ์บูร์บองได้กลับมาปกครองราชย์หลายครั้ง ต่อมาเมื่อ ค.ศ. ๑๘๗๐ นโปเลียนที่ ๓ แห่งราชวงศ์โบนาปาร์ตได้สละราชสมบัติเนื่องจากแพ้เยอรมัน ฝ่ายเจ้าสมบัติเมื่อได้ปราบปรามขบวนการสหการปารีส (ปารีสคอมมูน-สุพจน์) สำเร็จแล้ว ก็ได้จัดให้มีระบบรัฐสภาเพื่อลงมติว่าฝรั่งเศสจะปกครองโดยระบบสาธารณรัฐหรือราชาธิปไตย โดยอัญเชิญรัชทายาทแห่งราชวงศ์บูร์บองขึ้นครองราชย์ เสียงราษฎรส่วนมากที่พ้นจากการปราบปรามขณะนั้นปรารถนาตามวิถีหลังนี้ แต่พวกที่ทำตนเป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดีนั้น ได้อ้างพระราชหฤทัยรัชทายาทที่จะได้รับอัญเชิญขึ้นครองราชย์และเรียกร้องเกินเลยไป แม้เรื่องธงชาติก็จะให้เปลี่ยนจากธงสามสีมาใช้ธงสีขาว ประกอบด้วยรูปดอกไม้สามแฉก (คล้ายดอกบัวดิน) ที่เรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า “Fleurs De Lis” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เฉพาะพระราชวงศ์บูร์บอง
ก่อนที่รัฐสภาฝรั่งเศสจะลงมติดังกล่าวแล้ว สมเด็จเจ้าแห่งมาจองตา (Due De Magenta) ได้มีรับสั่งเตือนผู้ที่ทำตนเป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดี และอ้างว่ารู้พระราชหฤทัยต่าง ๆ นั้นว่า ถ้าพวกนั้นต้องการจะเอาธงมีรูปดอกไม้ชนิดนั้นมาใช้แทนธงสามสีแล้ว ทหารปืนยาวก็จะเดินแถวไปตามลำพังโดยปราศจากธงประจำกอง แต่พวกนั้นก็หัวรั้นไม่ยอมฟังคำเตือนของสมเด็จเจ้า จึงเป็นเหตุให้เสียงในรัฐสภาที่เดิมส่วนมากปรารถนาสถาปนาราชวงศ์บูร์บองขึ้นมาอีกนั้น ต้องลดน้อยลงไป แม้กระนั้นเมื่อถึงเวลาลงมติ ฝ่ายที่นิยมสาธารณรัฐชนะเพียง ๑ เสียงเท่านั้น
ถ้าหากผู้ทำตนเป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดีไม่อวดอ้างเอาเด่นของตนแล้ว ราชวงศ์บูร์บองก็จะได้กลับขึ้นครองราชย์อีก ดังนั้น พวกที่เป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าพระราชาธิบดี จึงมิเพียงแต่เป็นพวกที่ทำให้ราชบัลลังก์ฝรั่งเศสต้องสะเทือนเท่านั้น หากยังทำให้ราชวงศ์บูร์บองสลายไปตั้งแต่ครั้งนั้นจนถึงบัดนี้”
ผมเห็นว่า คำเตือนสติของท่านปรีดีฯ ต่อพวกที่ทำตนเป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดี เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งกับสถานการณ์ในบ้านเมืองของเราเวลานี้ โดยเฉพาะเหมาะสมกับคำขึ้นต้นของหนังสือที่ชื่อว่า “โต้ประมวล รุจนเสรี เรื่องพระราชอำนาจ” และด้วยความจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่งต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมจึงนำข้อตำหนิมาบอกกล่าวเป็นการเตือนสติประมวลฯ กับพวก Ultra Royalist เพื่อสังวร.
ด้วยความจริงใจ
(สุพจน์ ด่านตระกูล)
๑๐ พ.ย. ๒๕๔๘
No comments:
Post a Comment