ความพ่ายแพ้ของขบวนการประชาธิปไตย ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒
ปรีดี พนมยงค์
-๓-
เที่ยงคืนวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ นาวาโทมนัส จารุภา ได้นำข้าพเจ้าไปยังที่หลบซ่อนแห่งหนึ่ง ที่นั่นภรรยาและบุตรชายของข้าพเจ้าได้ช่วยพาข้าพเจ้าไปยังบ้านผู้รักความเป็นธรรมคนหนึ่ง ซึ่งได้กรุณาให้ที่พักแก่ข้าพเจ้าตลอดระยะเวลา ๕ เดือน แม้ว่ารัฐบาลตั้งสินบนนำจับด้วยราคาสูงแก่ผู้ที่บอกที่ซ่อนของข้าพเจ้า แต่ผู้รักความเป็นธรรมผู้นี้ ก็ไม่ได้มีความอยากได้ผลประโยชน์นี้เลย
สองปีต่อมา คือใน พ.ศ.๒๔๙๔ นาวาโทมนัสฯ และนาวาเอกอานนท์ ปุณฑริกาภา ได้ก่อการอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “กบฏแมนฮัตตัน” เนื่องจากในการปฏิบัติการครั้งนั้น หน่วยทหารเรือซึ่งนำโดยนาวาโทมนัสฯ ได้เข้าจี้ตัวจอมพลพิบูลฯ ระหว่างพิธีรับมอบเรือ “แมนฮัตตัน” ต่อหน้าเอกอัครราชทูตอเมริกัน และเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของทั้งสองประเทศ
นาวาโทมนัสฯและหน่วยทหารของเขา ได้จับตัวจอมพลพิบูลฯ และพาลงเรือรบหลวง “ศรีอยุธยา” การรบจึงเริ่มขึ้นระหว่างกำลังของกองทัพเรือฝ่ายหนึ่ง ครั้งแรกดูเหมือนว่ากองทัพเรือจะควบคุมกรุงเทพฯไว้ได้ แต่กองทัพอากาศได้ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มเรือรบหลวงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นกองบัญชาการของฝ่ายก่อการฯ โดยไม่เห็นแก่ชีวิตจอมพลพิบูลฯ ซึ่งอยู่ในเรือลำนั้นเลย จอมพลพิบูลฯได้เรียกร้องผู้ที่จงรักภักดีต่อตนมิให้ใช้กำลังอาวุธ แต่ให้เจรจาอย่างสันติกับฝ่ายก่อการฯ เครื่องบินได้บินถล่มเรือรบหลวงที่ทอดสมออยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งจมลงในไม่ช้า จอมพลพิบูลฯ ได้หลบหนีออกจากเรือลำนั้นได้อย่างหวุดหวิด ด้วยการกระโดดน้ำและว่ายมาถึงฝั่ง ซึ่งบรรดาผู้ที่จงรักภักดีได้ให้การต้อนรับ จึงสามารถกลับเข้ามายังกองบัญชาการกองกำลังฝ่ายรัฐบาลได้
หน่วยทหารบกอื่นๆในจังหวัดใกล้เคียง ได้เข้าร่วมกับฝ่ายรัฐบาล และรบชนะฝ่ายทหารเรือ ในที่สุดกองกำลังฝ่ายรัฐบาลก็สามารถควบคุมกรุงเทพฯ ได้อีกครั้ง
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมนายทหารเรือหลายคน รวมทั้งผู้บัญชาการทหารเรือและเจ้าหน้าที่พลเรือนบางคนที่ต้องสงสัยว่าเข้าร่วมกับฝ่ายก่อการฯ
ขณะที่นาวาโทมนัสฯ และนาวาเอกอานนท์ฯ พร้อมด้วยนายทหารกองทัพบกอีกคนหนึ่ง ซึ่งเข้าร่วมกับฝ่ายก่อการฯสามารถหลบหนีไปลี้ภัยอยู่ในพม่า ผู้ก่อการฯจำนวนหนึ่งก็สามารถหนีเข้าไปลี้ภัยอยู่ในลาว กัมพูชา และสิงคโปร์
หลังจากนั้นไม่กี่เดือน นาวาโทมนัสฯ ก็กลับเข้ากรุงเทพฯอย่างลับๆ อีกหนหนึ่ง
ครั้งนี้นาวาโทมนัสฯได้ถูกจับกุมพร้อมกับปาลบุตรชาย และภรรยาของข้าพเจ้า ในข้อหา “กบฏสันติภาพ” พ.ศ.๒๔๙๕ ส่วนนาวาเอกอานนท์ฯ ได้พำนักอยู่ในพม่าและเพิ่งเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯไม่นานนักหลังเหตุการณ์ โดยคิดว่าตนอาจได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งปล่อยตัวนาวาโทมนัสฯกับบุตรชายข้าพเจ้าและผู้ต้องหากบฏอื่นๆ แต่น่าเสียดายเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลับจับกุมตัวเขาไว้ และศาลอาญาได้ตัดสินจำคุกเป็นเวลา ๒๐ ปี ต่อมาเขาได้รับการลดโทษลง และในที่สุด ก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๕
เที่ยงคืนวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ นาวาโทมนัส จารุภา ได้นำข้าพเจ้าไปยังที่หลบซ่อนแห่งหนึ่ง ที่นั่นภรรยาและบุตรชายของข้าพเจ้าได้ช่วยพาข้าพเจ้าไปยังบ้านผู้รักความเป็นธรรมคนหนึ่ง ซึ่งได้กรุณาให้ที่พักแก่ข้าพเจ้าตลอดระยะเวลา ๕ เดือน แม้ว่ารัฐบาลตั้งสินบนนำจับด้วยราคาสูงแก่ผู้ที่บอกที่ซ่อนของข้าพเจ้า แต่ผู้รักความเป็นธรรมผู้นี้ ก็ไม่ได้มีความอยากได้ผลประโยชน์นี้เลย
สองปีต่อมา คือใน พ.ศ.๒๔๙๔ นาวาโทมนัสฯ และนาวาเอกอานนท์ ปุณฑริกาภา ได้ก่อการอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “กบฏแมนฮัตตัน” เนื่องจากในการปฏิบัติการครั้งนั้น หน่วยทหารเรือซึ่งนำโดยนาวาโทมนัสฯ ได้เข้าจี้ตัวจอมพลพิบูลฯ ระหว่างพิธีรับมอบเรือ “แมนฮัตตัน” ต่อหน้าเอกอัครราชทูตอเมริกัน และเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของทั้งสองประเทศ
นาวาโทมนัสฯและหน่วยทหารของเขา ได้จับตัวจอมพลพิบูลฯ และพาลงเรือรบหลวง “ศรีอยุธยา” การรบจึงเริ่มขึ้นระหว่างกำลังของกองทัพเรือฝ่ายหนึ่ง ครั้งแรกดูเหมือนว่ากองทัพเรือจะควบคุมกรุงเทพฯไว้ได้ แต่กองทัพอากาศได้ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มเรือรบหลวงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นกองบัญชาการของฝ่ายก่อการฯ โดยไม่เห็นแก่ชีวิตจอมพลพิบูลฯ ซึ่งอยู่ในเรือลำนั้นเลย จอมพลพิบูลฯได้เรียกร้องผู้ที่จงรักภักดีต่อตนมิให้ใช้กำลังอาวุธ แต่ให้เจรจาอย่างสันติกับฝ่ายก่อการฯ เครื่องบินได้บินถล่มเรือรบหลวงที่ทอดสมออยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งจมลงในไม่ช้า จอมพลพิบูลฯ ได้หลบหนีออกจากเรือลำนั้นได้อย่างหวุดหวิด ด้วยการกระโดดน้ำและว่ายมาถึงฝั่ง ซึ่งบรรดาผู้ที่จงรักภักดีได้ให้การต้อนรับ จึงสามารถกลับเข้ามายังกองบัญชาการกองกำลังฝ่ายรัฐบาลได้
หน่วยทหารบกอื่นๆในจังหวัดใกล้เคียง ได้เข้าร่วมกับฝ่ายรัฐบาล และรบชนะฝ่ายทหารเรือ ในที่สุดกองกำลังฝ่ายรัฐบาลก็สามารถควบคุมกรุงเทพฯ ได้อีกครั้ง
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมนายทหารเรือหลายคน รวมทั้งผู้บัญชาการทหารเรือและเจ้าหน้าที่พลเรือนบางคนที่ต้องสงสัยว่าเข้าร่วมกับฝ่ายก่อการฯ
ขณะที่นาวาโทมนัสฯ และนาวาเอกอานนท์ฯ พร้อมด้วยนายทหารกองทัพบกอีกคนหนึ่ง ซึ่งเข้าร่วมกับฝ่ายก่อการฯสามารถหลบหนีไปลี้ภัยอยู่ในพม่า ผู้ก่อการฯจำนวนหนึ่งก็สามารถหนีเข้าไปลี้ภัยอยู่ในลาว กัมพูชา และสิงคโปร์
หลังจากนั้นไม่กี่เดือน นาวาโทมนัสฯ ก็กลับเข้ากรุงเทพฯอย่างลับๆ อีกหนหนึ่ง
ครั้งนี้นาวาโทมนัสฯได้ถูกจับกุมพร้อมกับปาลบุตรชาย และภรรยาของข้าพเจ้า ในข้อหา “กบฏสันติภาพ” พ.ศ.๒๔๙๕ ส่วนนาวาเอกอานนท์ฯ ได้พำนักอยู่ในพม่าและเพิ่งเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯไม่นานนักหลังเหตุการณ์ โดยคิดว่าตนอาจได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งปล่อยตัวนาวาโทมนัสฯกับบุตรชายข้าพเจ้าและผู้ต้องหากบฏอื่นๆ แต่น่าเสียดายเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลับจับกุมตัวเขาไว้ และศาลอาญาได้ตัดสินจำคุกเป็นเวลา ๒๐ ปี ต่อมาเขาได้รับการลดโทษลง และในที่สุด ก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๕
No comments:
Post a Comment