รัฐประหารปฏิกิริยาและการลี้ภัยครั้งแรกไปยังสิงคโปร์และจีน
ปรีดี พนมยงค์
-๔-
เมื่อเจียงไคเช็คได้รับแจ้งเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่สนามบินเซี่ยงไฮ้แล้ว ก็ได้แสดงความปรารถนาจะให้ข้าพเจ้าพำนักอยู่ในจีนโดยยืนยันกับข้าพเจ้าว่า ไม่เคยลืมคุณูปการของข้าพเจ้าที่มีต่อสัมพันธมิตรระหว่างสงคราม และเขาจะไม่ส่งข้าพเจ้าข้ามแดนกลับไป เนื่องจากเขาจำได้ดีว่า รัฐบาลจอมพลพิบูลฯได้ปฏิบัติต่อประเทศจีนด้วยความไม่ซื่อสัตย์และปราศจากความละอายใจ ในการนี้เขาได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่ข้าพเจ้าระหว่างพำนักอยู่ในจีน
-๕-
วันที่ ๑ ตุลาคม ในปีเดียวกัน ข้าพเจ้าก็ได้ทราบข่าวว่า รัฐบาลจอมพลพิบูลฯ ได้จับกุมนายทหารและนักการเมืองหลายคน ซึ่งวางแผนจะก่อการยึดอำนาจจากรัฐบาลในวันรุ่งขึ้น แต่สมาชิกของกลุ่มคนหนึ่งเกิดทรยศหักหลังพรรคพวกขึ้นมา ขบวนการต่อสู้ครั้งนี้นำโดยพลตรีเนตร เขมะโยธิน(ยศในขณะนั้น)นักเรียนเก่าโรงเรียนเสนาธิการชั้นสูงแห่งฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นสมาชิก “ขบวนการเสีรีไทย” ระหว่างสงคราม และเพื่อนสนิทของข้าพเจ้าจำนวนหนึ่งได้เข้าร่วมขบวนต่อสู้ครั้งนี้ การพยายามก่อกบฏครั้งนี้เรียกชื่อว่า “กบฏ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๑”
ส่วนคนที่สามารถหลบหนีการจับกุม ได้ส่งตัวแทนของเขามาพบข้าพเจ้า เพื่อวางแผนก่อการอภิวัฒน์โค่นรัฐบาลปฏิกิริยาอีกครั้งหนึ่ง เราได้ตกลงกันว่า จะให้ข้าพเจ้าเป็นผู้นำการก่อการอีกครั้งหนึ่ง โดยร่วมมือกับเพื่อนๆทหารเรือ นักศึกษามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ผู้รักชาติ ประชาธิปไตยและทหารตำรวจผู้รักชาติ รวมทั้งบรรดาแม่ทัพเรือ และนายพลคนหนึ่งซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าเสนาธิการกองทัพบก และถูกคณะรัฐประหารปลดออกจากตำแหน่ง
เมื่อมิตรของข้าพเจ้าที่เมืองไทยแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่า โอกาสอำนวยแล้ว เราจึงเช่าเรือขนาด ๒๐ ตัน เพื่อเดินทางอย่างลับๆออกจากฝั่งทะเลจีน ไปยังฝังตะวันออกของอ่าวสยาม
เมื่อเจียงไคเช็คได้รับแจ้งเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่สนามบินเซี่ยงไฮ้แล้ว ก็ได้แสดงความปรารถนาจะให้ข้าพเจ้าพำนักอยู่ในจีนโดยยืนยันกับข้าพเจ้าว่า ไม่เคยลืมคุณูปการของข้าพเจ้าที่มีต่อสัมพันธมิตรระหว่างสงคราม และเขาจะไม่ส่งข้าพเจ้าข้ามแดนกลับไป เนื่องจากเขาจำได้ดีว่า รัฐบาลจอมพลพิบูลฯได้ปฏิบัติต่อประเทศจีนด้วยความไม่ซื่อสัตย์และปราศจากความละอายใจ ในการนี้เขาได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่ข้าพเจ้าระหว่างพำนักอยู่ในจีน
-๕-
วันที่ ๑ ตุลาคม ในปีเดียวกัน ข้าพเจ้าก็ได้ทราบข่าวว่า รัฐบาลจอมพลพิบูลฯ ได้จับกุมนายทหารและนักการเมืองหลายคน ซึ่งวางแผนจะก่อการยึดอำนาจจากรัฐบาลในวันรุ่งขึ้น แต่สมาชิกของกลุ่มคนหนึ่งเกิดทรยศหักหลังพรรคพวกขึ้นมา ขบวนการต่อสู้ครั้งนี้นำโดยพลตรีเนตร เขมะโยธิน(ยศในขณะนั้น)นักเรียนเก่าโรงเรียนเสนาธิการชั้นสูงแห่งฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นสมาชิก “ขบวนการเสีรีไทย” ระหว่างสงคราม และเพื่อนสนิทของข้าพเจ้าจำนวนหนึ่งได้เข้าร่วมขบวนต่อสู้ครั้งนี้ การพยายามก่อกบฏครั้งนี้เรียกชื่อว่า “กบฏ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๑”
ส่วนคนที่สามารถหลบหนีการจับกุม ได้ส่งตัวแทนของเขามาพบข้าพเจ้า เพื่อวางแผนก่อการอภิวัฒน์โค่นรัฐบาลปฏิกิริยาอีกครั้งหนึ่ง เราได้ตกลงกันว่า จะให้ข้าพเจ้าเป็นผู้นำการก่อการอีกครั้งหนึ่ง โดยร่วมมือกับเพื่อนๆทหารเรือ นักศึกษามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ผู้รักชาติ ประชาธิปไตยและทหารตำรวจผู้รักชาติ รวมทั้งบรรดาแม่ทัพเรือ และนายพลคนหนึ่งซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าเสนาธิการกองทัพบก และถูกคณะรัฐประหารปลดออกจากตำแหน่ง
เมื่อมิตรของข้าพเจ้าที่เมืองไทยแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่า โอกาสอำนวยแล้ว เราจึงเช่าเรือขนาด ๒๐ ตัน เพื่อเดินทางอย่างลับๆออกจากฝั่งทะเลจีน ไปยังฝังตะวันออกของอ่าวสยาม
No comments:
Post a Comment