คุณสุพจน์ตอบโต้ว่า บางทีอาจารย์ประเสริฐจะลืมไปว่าคำว่า REVOLUTION โดยความเข้าใจของคนทั่วไปที่รู้จักคำนี้ ในความหมายทางการเมือง แม้แต่ขบวนการที่เรียกร้องให้มีสภา “ดูมา” เมื่อปี ค.ศ.๑๙๐๕ เลนินก็ยังเรียกขบวนการนั้นว่า REVOLUTION หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ก้าวหน้า ไม่ใช่ย้อนถอยหลังเข้าคลอง หรือไม่ใช่ระบอบเปลี่ยนระบอบใหม่ให้กลับไปสู่ระบอบเก่าซึ่งเรียกว่า Reaction หรือปฏิกิริยา
ก็เห็นจะมีแต่ “คณะปฏิวัติ” ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และผู้ที่ติดตามจอมพลสฤษดิ์เท่านั้น ที่ใช้คำว่า Revolution หรือ ปฏิวัติ ผิดความหมายไปจากพฤติกรรมของคณะนั้น ที่เป็น Reaction หรือปฏิกิริยา
แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเขียนของอาจารย์ปรีดีดังกล่าวหรือข้อเขียนของท่านผู้ใดก็แล้วแต่ ที่แสดงออกถึงความมุ่งหมายในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ภายหลังจากที่การเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ผ่านไปแล้ว คือ ภายหลัง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้น ย่อมไม่สลักสำคัญไปกว่าเจตนารมณ์ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่แสดงออกโดยแถลงการณ์ยึดอำนาจของคณะราษฎร ที่ได้บ่งบอกไว้อย่างชัดแจ้งในแถลงการณ์นั้นแล้วว่า
“...มีความจำเป็นที่ประเทศชาติจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย”
ก็เห็นจะมีแต่ “คณะปฏิวัติ” ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และผู้ที่ติดตามจอมพลสฤษดิ์เท่านั้น ที่ใช้คำว่า Revolution หรือ ปฏิวัติ ผิดความหมายไปจากพฤติกรรมของคณะนั้น ที่เป็น Reaction หรือปฏิกิริยา
แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเขียนของอาจารย์ปรีดีดังกล่าวหรือข้อเขียนของท่านผู้ใดก็แล้วแต่ ที่แสดงออกถึงความมุ่งหมายในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ภายหลังจากที่การเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ผ่านไปแล้ว คือ ภายหลัง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้น ย่อมไม่สลักสำคัญไปกว่าเจตนารมณ์ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่แสดงออกโดยแถลงการณ์ยึดอำนาจของคณะราษฎร ที่ได้บ่งบอกไว้อย่างชัดแจ้งในแถลงการณ์นั้นแล้วว่า
“...มีความจำเป็นที่ประเทศชาติจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย”